ทฤษฎี และหลักการพัฒนาชุมชน

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
Advertisements

ส่วนที่ : 2 เรื่อง การวางแผน
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
เรื่อง ธุรกิจในชีวิตประจำวัน
ลักษณะของหลักสูตร หลักสูตรที่เน้นเนื้อหาเป็นหลักสำคัญ
การพัฒนาเศรษฐกิจ ความหมาย
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
บทที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ความเชื่อในพระพุทธศาสนา ในทองถิ่นที่ดีต่อสุขภาพกาย
บทที่ 1 เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
เรื่องสืบเนื่อง การวางแผนและบริหารโครงการสำหรับส่วน ราชการ
บทที่ 1 การวิจัยกับการ พัฒนางานของครู
กิจการนิสิต (Student Affairs)
Introduction to Education Criteria for Performance Excellence (ECPE)
หัวใจของแผน HRD หัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข
โครงการวิจัยเรื่องความอยู่ดีมีสุขของประชากร ในประเทศกำลังพัฒนา
33711 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 5
33701 ชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการ รัฐประศาสนศาสตร์ หน่วยที่ 1
คณะผู้วิจัย ภาควิชา คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
นวัตกรรม Innovation สุทธินันท์ สระทองหน.
โครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การจัดทำแผนการพัฒนาและการปฏิบัติการ ของโครงการโดยเจ้าหน้าที่โครงการมีส่วนร่วม ปี พ.ศ.2552.
การพัฒนาสังคม Social Development 3 : 2 ธ.ค. 54.
Sociology of Development
สังคมวิทยาอุตสาหกรรม ครั้งที่ 2-3 : วิกฤตการณ์การพัฒนา
กรอบแนวความคิดที่ 1 (First Paradigm)
หลักสูตรการจัดการทั่วไป
บรรยายองค์ความรู้เรื่อง AEC สมาคมอาเซียน
บริษัทประกันภัย Hanover
นำเสนอโดย น.ส. วิไล เดชตุ้ม
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
แนวคิด หลักการ ของการประเมินเพื่อการพัฒนา
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
องค์กรนำการปศุสัตว์ไทย
บทที่ 1 ความหมายและแนวทางของนโยบายสาธารณะ
หน่วยที่ 7 หลักการจัดการ.
วัยรุ่นกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
การเพิ่มผลผลิต Productivity
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
ทบทวนทฤษฎีหลักสูตร ดร.อมรา เขียวรักษา.
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
วิชาวิศวกรรมความรู้ - การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาองค์กร
การพัฒนาสังคม ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม.
การติดตาม และการควบคุม (Monitoring and Control)
บทที่ 3 ปรัชญาและแนวความคิดของการพัฒนาชุมชน
Educational Standards and Quality Assurance ผศ.ดร.ชัยยุทธ ศิริสุทธิ์
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
สรุประบบเทคโนโลยี สมาชิกกลุ่ม 1.น.ส.มยุรี ริยะอุด เลขที่ 1 ม.4.10
นายณัฐวุฒิ ปานแก้ว รหัส 039 คอม ปวช 1/2
ทฤษฎีเศรษฐกิจหลายแนวทาง
บทที่ 4 หลักและวิธีการพัฒนาชุมชน
ทิศทางใหม่ของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
จัดทำโดย ปฏิภาณ ไชยกุล อดิศร สุดดวง
บทที่ 3 ผลกระทบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
บทที่ 4 เทคโนโลยี.
บทบาทของข้อมูลการตลาด
Post-Structuralism or Nothing แนวการสอนรายวิชา สังคมวิทยาชนบทและเมือง Rural and Urban Sociology 3 (3-0) 
หลักการเขียนโครงการ.
ถอดบทเรียน ยุทธศาสตร์การค้าอาเซียน
พฤติกรรมผู้บริโภค (CONSUMER BEHAVIOR)
Change Management.
ฟิสิกส์คืออะไร ฟิสิกส์ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต สสาร พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ รวมไปถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดตามธรรมชาติต่างๆ.
นิเวศวิทยาการเมือง : ความยั่งยืนทางนิเวศในสังคมไทย
บทที่1 การบริหารการผลิต
หน่วยที่1 ข้อมูลทางการตลาด
CIPP Model : การประกันคุณภาพ
บทที่ 1 บทนำ SIRIPONR SOMKHUMPA.
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ทฤษฎี และหลักการพัฒนาชุมชน ผศ. ดร. จิตรกร โพธิ์งาม

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนา บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนา ความหมายของการพัฒนา ลักษณะของการพัฒนา ความเป็นมาของการพัฒนา แนวความคิดเกี่ยวกับการพัฒนา

ความหมายของการพัฒนา 1. ความหมายตามรูปศัพท์ การพัฒนา มาจากคำภาษาอังกฤษว่า “Development” แปลว่า การเปลี่ยนแปลงผ่านลำดับขั้นตอนต่าง ๆ ไปสู่ระดับที่สามารถขยายตัว เติบโต มีการปรับปรุงให้ดีขึ้น และเหมาะสมกว่าเดิม 2. ความหมายโดยทั่วไป หมายถึง การกระทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่สภาพหนึ่งที่ดีกว่าอย่างเป็นระบบ โดยเน้นความหมายถึงการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพ

ความหมายของการพัฒนา 3. ความหมายทางเศรษฐศาสตร์ การพัฒนา หมายถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เช่น ผลผลิตมวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้น รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น 4. ความหมายทางพัฒนบริหารศาสตร์ การพัฒนามีความหมาย 2 ระดับ คือความหมายอย่างกว้างกับอย่างแคบ อย่างแคบ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงในระบบให้ดีขึ้น อย่างกว้าง หมายถึง กระบวนการของการเปลี่ยนแปลงในตัวระบบทั้งในด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อม ในสมัยปัจจุบันเรียกกระบวนการนี้ว่า การเปลี่ยนแปลงอย่างมีบูรณาการ

ความหมายของการพัฒนา 5. ความหมายทางเทคโนโลยี การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรม และการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย หรืออาจเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมมนุษย์ด้วยเทคโนโลยี 6. ความหมายทางการวางแผน ในการวางแผน การพัฒนา หมายถึง การชักชวน การกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ด้วยการปฏิบัติการตามแผนและโครงการอย่างจริงจัง เป็นไปตามลำดับขั้นตอนต่อเนื่องกันเป็นวงจร โดยไม่มีการสิ้นสุด

ความหมายของการพัฒนา 7. ความหมายทางพุทธศาสนา การพัฒนา มาจากภาษาบาลีว่า “วัฒนะ” แปลว่า เจริญ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วน คือ การพัฒนาคน และการพัฒนาสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่คน เช่น การสร้างถนน บ่อน้ำ อ่างเก็บน้ำ เขื่อน เป็นต้น 8. ความหมายทางสังคมวิทยา การพัฒนา หมายถึง การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคม ซึ่งได้แก่ คน กลุ่มคน การจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคม ที่เรียกว่า “การจัดระเบียบสังคม”

ความหมายของการพัฒนา 9. ความหมายทางด้านการพัฒนาชุมชน นักพัฒนาชุมชนให้ความหมายไว้ว่า การพัฒนา หมายถึง การที่คนในชุมชนและสังคมโดยส่วนรวมได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมเพื่อปรับปรุงความรู้ความสามารถของตนเอง และร่วมกันเปลี่ยนแปลงคุณภาพชีวิตของตนเอง ชุมชน และสังคมให้ดีขึ้น โดยสรุป การพัฒนามีความหมายทั้งที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันไป จึงอาจสรุปในภาพรวมได้ว่า การพัฒนา หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ดีขึ้น ทั้งทางด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อม ด้วยการวางแผนโครงการและดำเนินงานโดยมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่ตัวมนุษย์เอง

ลักษณะของการพัฒนา 1. เป็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ เช่น ด้านคุณภาพ ปริมาณ และสิ่งแวดล้อมของสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้เหมาะสม 2. มีลักษณะเป็นกระบวนการ (Process) คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามลำดับขั้นตอนและอย่างต่อเนื่อง 3. เป็นพลวัต (Dynamic) คือ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตลอดเวลาไม่หยุดนิ่ง 4. เป็นแผนและโครงการ คือ เกิดขึ้นจากการเตรียมการไว้ล่วงหน้า ว่าจะเปลี่ยนแปลงใคร ด้านใด ด้วยวิธีการใด เมื่อไร ใช้งบประมาณเท่าใด ใครรับผิดชอบ เป็นต้น

ลักษณะของการพัฒนา 5. เป็นวิธีการ การพัฒนาเป็นมรรควิธี หรือกลวิธีที่นำมาใช้ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 6. เป็นปฏิบัติการ คือ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ไม่เป็นเพียงแนวคิด เพราะการพัฒนาต้องนำมาใช้ปฏิบัติจริงจึงจะเกิดผลตามที่ต้องการ 7. เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำของมนุษย์ เพื่อประโยชน์ของมนุษย์ 8. ผลที่เกิดขึ้นมีความเหมาะสมหรือพึงพอใจ ทำให้มนุษย์และสังคมมีความสุข

ลักษณะของการพัฒนา 9. มีเกณฑ์หรือเครื่องชี้วัด คือ สามารถบอกได้ว่าลักษณะที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นการพัฒนาหรือไม่ โดยอาจเปรียบเทียบกับสภาพเดิมก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลง 10. สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การพัฒนา นอกจากจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อมนุษย์ สังคม และสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์แล้ว รูปแบบ กระบวนการ และวิธีการพัฒนาเองก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ทั้งนี้ย่อมยืดหยุ่นและเป็นไปเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงทางสังคมนั่นเอง

ความเป็นมาของการพัฒนา “การพัฒนา” เป็นคำที่ถูกจุดประกายขึ้นในชุมชนโลก และใช้กันกว้างขวางภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเมื่อวันที่ 20 มกราคม ค.ศ.1949 ประธานาธิบดีแฮรี เอส. ทรูแมน แห่งสหรัฐอเมริกา ประกาศเป็นครั้งแรกว่า ประเทศต่าง ๆ ทางซีกโลกทางใต้นั้นเป็นเขตด้อยพัฒนา (underdeveloped areas) ต่อมาคำว่า “การพัฒนา” แพร่หลายมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ.1960 จอห์ เอฟ. เคเนดี ประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้เสนอให้องค์การสหประชาชาติ (The United Nations) ประกาศปี ค.ศ.1960-1969 เป็นทศวรรษแห่งการพัฒนา และประกาศปี ค.ศ.1970-1979 เป็นทศวรรษที่ 2 ของการพัฒนาโลกต่อไป

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา 1. แนวคิดแบบวิวัฒนาการ (Evolution) เป็นการนำการพัฒนามาใช้อธิบายประวัติศาสตร์ของมนุษย์ที่เคลื่อนย้ายจากภาวะหนึ่งไปสู่อีกภาวะหนึ่งที่สูงกว่า 2. แนวความคิดแบบการเปลี่ยนแปลงทางสังคม (Social Change) เป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ที่อธิบายว่า การเปลี่ยนแปลงมี 3 รูปแบบ คือ การเปลี่ยนแปลงในลักษณะวิวัฒนาการ (Evolution) ปฏิรูป (Reformation) และปฏิวัติ (Revolution)

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา 3. แนวความคิดแบบเศรษฐศาสตร์ (Economic) นักเศรษฐศาสตร์นำการพัฒนาไปใช้จำแนกประเภทต่าง ๆ ตามที่กำหนด เช่น รายได้ จำนวนผู้รู้หนังสือ การมีงานทำ เป็นต้น ออกเป็นประเทศพัฒนาแล้ว (Developed Country) กำลังพัฒนา (Developing Country) และด้อยพัฒนา (Un-develop Country) 4. แนวความคิดแบบปฏิบัติการทางสังคม (Social Action) เป็นแนวความคิดที่เกิดจากรัฐบาลของประเทศต่าง ๆ พยายามปรับปรุงแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมในรูปของการวางแผนปฏิบัติการ เช่น การปฏิรูปที่ดิน การพักชำระหนี้เกษตรกร กองทุนหมู่บ้าน ธนาคารคนจน และ OTOP เป็นต้น

แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา 5. แนวความคิดแบบความขัดแย้งทางสังคม (Social Conflict) เป็นแนวความคิดของการพัฒนาประเทศด้วยระบอบสังคมนิยม ที่นำทฤษฎีความขัดแย้งมาใช้เป็นแนวทางในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและระบบสังคม เช่น รัสเซีย จีน เวียดนาม เป็นต้น 6. แนวความคิดแบบการพัฒนาชุมชน (Community Development) เป็นแนวความคิดที่องค์การสหประชาชาตินำไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาในประเทศด้อยพัฒนาทั่วโลกเพื่อให้เกิดภาวะทันสมัย (Modernization) ตามอย่างประเทศตะวันตก (Westernization)

Model ของการพัฒนา การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการ ปฏิบัติการทางสังคม การพัฒนาชุมชน ความขัดแย้งทางสังคม