นิทานสำหรับเด็ก
ค.รู้สึกที่ครูมีต่อนิทาน การเริ่มต้นไพเราะและจบสงบ การเล่านิทาน Why What When How พิธีกรรม, เวลา Voice ท่าทาง ค.รู้สึกที่ครูมีต่อนิทาน การเริ่มต้นไพเราะและจบสงบ
“The soul needs stories Like the body needs food” Rudolf.
ทำไมเราต้องเล่านิทาน เวลาเล่านิทานเป็นการพูดกับหัวใจของเด็กๆ ส่วนหัวของเราไม่ได้ยินอะไรจนกว่าที่เรารับรู้ด้วยหัวใจ หัวจะได้ยินก็ต่อเมื่อหัวใจได้ยิน หัวจะเข้าใจเมื่อหัวใจได้รู้เสียก่อน นิทานไม่ใช่ IQ แต่เป็นเรื่องหัวใจของเด็กๆ
ความงามของภาษาเป็นเหตุหนึ่งของการเล่านิทาน บทกลอน กวี คำคล้องจอง บทร้อยแก้วฯลฯ บทเพราะๆก็ช่วยเหลือเด็กๆได้ “เข็มเล่มเล็กปลายแหลมเรียว เย็บได้เชี่ยวชาญล้ำเหลือ โปรดจัดเตรียมบ้านข้าเพื่อ รับแขกเหรื่อผู้มาเยือน” กริมม์ นิทานจึงเป็นการมอบการศึกษาให้กับเด็กเพื่อการเยียวยา เช่น การเจ็บป่วยซ้ำซากในเด็ก : ช่วยด้วยการย้อนมองชีวประวัติในตัวเค้า อาจหายจากการเจ็บป่วยได้ หรือกรณีเด็กมีปัญหาพ่อแม่แยกทางกัน เราก็หานิทานที่ให้เด็กเข้าใจว่าบางครั้งคนเราก็ต้องมีภารกิจที่ต้องทำต่างกัน เช่นเรื่องนิทานคนสองคนเดินไปเจอทางแยกไปภูเขา กับ ทะเล
เรื่องราวเทพนิยายโบราณ แฝงด้วยภูมิปัญญา มีชีวิต สอดแทรกพัฒนาการวิวัฒนาการและมีความท้าทายเผชิญกับปัญหาอุปสรรค เราก็สามารถข้ามพ้นไปได้ ด้วยความดี เทวดาน้อยกับช่างทำรองเท้า หนูน้อยหมวกแดง แฮนเซลกับเกรเทล ราพันเซล เจ้าหญิงนิทรา ต้นหัวผักกาดยักษ์ ฯลฯ
เล่านิทานเพื่อสื่อสารผ่านเรื่องเล่า การเล่าจึงเป็นการพัฒนาความสร้างสรรค์ให้แก่เด็ก : TV ขโมยสิ่งนี้ไปจากเด็ก เด็กได้เรียนรู้การแก้ปัญหา เด็กได้พัฒนาจิตของเขาอย่างปลอดภัย ผ่อนคลายหายใจได้เอง ฝึกการฟัง การพูด (เด็กๆต้องการเลียนแบบ)
ค.รู้สึกที่ครูมีต่อนิทาน การเริ่มต้นไพเราะและจบสงบ การเล่านิทาน Why What When How พิธีกรรม, เวลา Voice ท่าทาง ค.รู้สึกที่ครูมีต่อนิทาน การเริ่มต้นไพเราะและจบสงบ
ภาพในนิทาน