โลก (Earth)
โลกเป็นดาวเคราะห์ที่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นอันดับที่สาม และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ห้า
โลกเป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีชื่อเรียกที่ไม่ได้มาจาก ตำนานของกรีกหรือโรมัน เป็นดาวเคราะห์เพียงดวงเดียวที่สามารถศึกษาได้โดยไม่ต้องอาศัยยานอวกาศ แต่กว่าที่จะทำการสำรวจได้ครอบคลุมพื้นผิวทั้งหมดของโลกก็ล่วงเลยเข้ามาในศตวรรษที่ 20 ภาพถ่ายจากยานอวกาศซึ่งนอกจากช่วยในการทำแผนที่แล้ว ยังนำมาใช้ในการทำนายสภาพภูมิอากาศ
โลกหมุนรอบตัวเองใช้เวลา 23.9345 ชั่วโมงและโคจรรอบดวงอาทิตย์ใช้เวลา 365.256 วัน มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 12,756 กิโลเมตร
โลกในอดีตมีการหมุนรอบตัวเองที่เร็วมาก แกนแกลางที่เป็นเหล็กและนิเกลทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกป้องกันอันตรายที่เกิดจากรังสีที่ปลดปล่อยออกจากดวงอาทิตย์และดวงดาวอื่นๆ
โครงสร้างของโลก
ความหนาของเปลือก เปลี่ยนแปลงไปได้ในแต่ละบริเวณ ในมหาสมุทรจะมีความหนาน้อยกว่าในผืนทวีป ส่วนที่เป็นแกนกลางส่วนในและเปลือก เป็นของแข็ง ส่วนที่เป็น mantle และแกนกลางส่วนนอกเป็น plastic หรือ semi-fluid ส่วนต่างๆแยกออกจากกันด้วยความไม่ต่อเนื่อง (discontinuity) ซึ่งได้หลักฐานจากคลื่นแผ่นดินไหว และความไม่ต่อเนื่องที่รู้จักกันดีคือ Mohorovicic discontinuity
แกนกลางประกอบด้วยเหล็กเป็นส่วนใหญ่ (หรือนิเกล/เหล็ก) อุณหภูมิที่จุดศูนย์กลางของแกนกลางโลกประมาณ 7500 K ซึ่งสูงกว่าอุณหภูมิที่พื้นผิวของดวงอาทิตย์ ชั้น lower mantle ส่วนใหญ่ประกอบซิลิคอน, แมกนีเซียม แล ออกซิเจน และบางส่วนของเหล็ก, แคลเซียม และ อลูมิเนียม ชั้น upper mantle ส่วนใหญ่ประกอบด้วยโอลิวีน และ ไพรอกซีน, แคลเซียม และ อลูมิเนียม ข้อมูลเหล่านี้ได้จากการศึกษาคลื่นแผ่นดินไหว
ส่วนประกอบของโลก
โลกเป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่มีความหนาแน่นมากที่สุด
เปลือกแบ่งออกได้เป็นหลายเพลต ที่เคลื่อนที่ได้อย่างเป็นอิสระบนชั้น mantle ทฤษฎีที่ใช้ในการอธิบายการเคลื่อนตัวของเพลต เรียกว่าเพลตเทคโทนิคส์ (plate tectonics)
เพลตที่สำคัญ 8 เพลต North American Plate – North America, western North Atlantic and Greenland South American Plate – South America and western South Atlantic Antarctic Plate – Antractic and the “South Ocean” Eurasian Plate – eastern North Atlantic, Europe, and Asia except for India
เพลตที่สำคัญ 8 เพลต African Plate – African, eastern South Atlantic and western Indian Ocean Indian-Austrian Plate – India, Australia, New Zealand and most of Indian Ocean Nazca Plate – eastern Pacific Ocean adjacent to South America Pacific Plate - most of thePacific Ocean (and the southern coast of California)
พื้นผิวโลกซึ่งมีอายุน้อย เนื่องจากการที่มีขบวนการทำลายและสร้างขึ้นใหม่ของพื้นผิวโลกตลอดเวลา ดังนั้นประวัติศาสตร์ของโลกในยุคแรกจึงหายสาบสูญ โลกซึ่งเชื่อว่ามีอายุอยู่ประมาณ 4.5 ถึง 4.6 พันล้านปี แต่หินที่เชื่อว่าแก่ที่สุดมีอายุเพียง 4 พันล้านปี ซากดึกดำบรรพ์ที่เก่าแก่ที่สุดเป็นส่วนของสิ่งมีชีวิตที่มีอายุน้อยกว่า 3.9 พันล้านปี และยังไม่พบหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของการเกิดของสิ่งมีชีวิต
ประมาณ 71% ของพื้นผิวโลก ปกคลุมด้วยน้ำ โลกเป็นเพียงดาวเคราะห์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีน้ำในรูปของเหลวที่อยู่บนพื้นผิว น้ำที่อยู่ในรูปของของเหลวมีความสำคัญมากกับสิ่งมีชีวิต ความร้อนที่กักเก็บอยู่ในมหาสมุทรมีความสำคัญในการทำให้อุณหภูมิของโลกมีความเสถียร น้ำยังเป็นตัวการที่ทำให้เกิดการผุพังทำลายบนแผ่นทวีปที่ซึ่งไม่พบในดาวเคราะห์อื่น (ถึงแม้ว่าอาจเคยเกิดขึ้นบนดาวอังคารในอดีตที่ผ่านมา)
บรรยากาศของโลกประกอบด้วยไนโตรเจน 78%, ออกซิเจน 21% ส่วนที่เหลือเป็น อากอน, คาร์บอนไดออกไซต์ และ น้ำ เป็นที่เชื่อกันว่าในขณะที่เกิดโลกขึ้นใหม่ๆนั้น ปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ในบรรยากาศอาจสูงมาก บางส่วนละลายอยู่ในมหาสมุทรและถูกพืชนำไปใช้
การเจริญเติบโตของพืชทำให้เกิดการไหลเวียนของคาร์บอนไดออกไซต์ ปริมาณคาร์บอนไดออกไซต์ที่หลงเหลืออยู่ในบรรยากาศมีความสำคัญอย่างมากในการรักษาความเสถียรของอุณหภูมิของโลกโดยอาศัยปรากฏการณ์เรือนกระจก ซึ่งจะสามารถทำให้อุณหภูมิของพื้นผิวเฉลี่ยสูงขึ้นได้ประมาณ 35 OC ถ้าปราศจากระบบดังกล่าวโลกอาจกลายเป็นน้ำแข็งทั้งหมดและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ก็ไม่สามารถอยู่ได้
สิ่งที่น่าสังเกตอันหนึ่งเกี่ยวกับปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศ ซึ่งโดยทั่วไปออกซิเจนมีความไวต่อการทำปฏิกิริยากับธาตุอื่นๆมาก ออกซิเจนที่อยู่ในบรรยากาศเป็นผลมาจากกระบวนการทางชีวภาพ ซึ่งถ้าปราศจากสิ่งมีชีวิตก็ไม่อาจมีออกซิเจนในบรรยากาศได้
โลกมีสนามแม่เหล็กซึ่งเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่แกนกลาง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างลมสุริยะ สนามแม่เหล็กโลก และบรรยากาศตอนบนของโลกทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า auroras