การนำเข้าสินค้าเกษตร ตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศ นายถาวร แสงเทียน ผู้อำนวยการสำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 4 สระแก้ว 037 - 425062 - 3
การนำเข้าสินค้าเกษตรตามพันธกรณีความตกลงระหว่างประเทศ ข้าว ถั่วเหลือง - เมล็ดถั่วเหลือง มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
ข้าว ข้าว หมายความถึง ข้าวตามพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าประเภท ดังนี้ ข้าว หมายความถึง ข้าวตามพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าประเภท ดังนี้ ลำดับ พิกัดอัตราศุลกากร รายการ 1 1006.10.10 ข้าวเปลือก (เหมาะสำหรับการเพาะปลูก) 2 1006.10.90 ข้าวเปลือก (อื่น ๆ) 3 1006.20.10 ข้าวกล้อง (ข้าวหอมมะลิไทย) 4 1006.20.90 ข้าวกล้อง (อื่น ๆ) 5 1006.30.30 ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม (ข้าวเหนียว) 6 1006.30.40 ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม (ข้าวหอมมะลิไทย, อื่น ๆ) 7 1006.30.91 ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม (ข้าวนึ่ง) 8 1006.30.99 ข้าวที่สีบ้างแล้วหรือสีทั้งหมด จะขัดหรือไม่ก็ตาม (อื่น ๆ) 9 1006.40.10 ปลายข้าว (ชนิดที่ใช้สำหรับเป็นอาหารสัตว์) 10 1006.40.90 ปลายข้าว (อื่น ๆ)
การอนุญาตนำเข้าตามพันธกรณีความตกลงต่าง ๆ
การบริหารการนำเข้าข้าว 1. คณะอนุกรรมการนโยบายข้าว...... 2. กรมการค้าต่างประเทศ เป็นผู้ออกประกาศ ระเบียบตามมติคณะอนุกรรมการนโยบายข้าว...... 3. (คณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าวภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน)
หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรอง และเงื่อนไขการนำเข้าตามความตกลง AFTA 1.1 ต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ประกอบอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากข้าว 1.2 มีใบอนุญาตประกอบการค้าข้าวจากกรมการค้าภายใน 1.3 มีใบอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานจากรมโรงงานอุตสาหกรรม 1.4 มีแผนการผลิตประจำปี (ความต้องการ, ปริมาณต้องการนำเข้า, แหล่งที่จะนำเข้า, สถานที่เก็บ) 1.5 ต้องไม่เป็นนิติบุคคลที่อยู่ระหว่างถูกพักหรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าข้าว 2. การขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้า 2.1 ยื่นแบบคำขอที่สำนักบริหารการค้าข้าว กรมการค้าต่างประเทศภายในเดือน ม.ค. - ก.พ. ของปีที่จะนำเข้า 2.2 ยื่นสำเนาเอกสารตามข้อ 1 2.3 กรมการค้าต่างประเทศตรวจสอบข้อเท็จจริง ก่อนนำเสนอคณะอนุกรรมการบริหารการนำเข้าข้าว ภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน เพื่อขอความเห็นชอบ 2.4 กรณีต่อทะเบียนให้ยื่นแบบตามที่กรมการค้าต่างประเทศกำหนดพร้อมหลักฐานตามข้อ 1.4 และ 1.5
หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรอง และเงื่อนไขการนำเข้าตามความตกลง AFTA (ต่อ) 3. การขอหนังสือรับรองการนำเข้า ยื่นคำร้องขอหนังสือรับรองต่อสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กรมการค้า ต่างประเทศ พร้อมหลักฐานประกอบการพิจารณา ดังนี้ 3.1 สำเนาหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (FORM D) 3.2 สำเนาใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือหลักฐานอื่นที่แสดงการรับรองสุขอนามัยพืช 3.3 สำเนาใบรับรองการกำหนดปริมาณสารพิษตกค้างหรือเอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการรับรองหรือกำหนด ปริมาณสารพิษตกค้าง 3.4 สำเนาใบรับรองเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs) 4. ช่วงระยะเวลากำหนดให้นำเข้ามี 2 ช่วง 4.1 งวดที่ 1 ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม 4.2 งวดที่ 2 ตั้งแต่ 1 สิงหาคม - 31 ตุลาคม 5. ด่านนำเข้าข้าว มี 6 ด่าน ดังนี้ 5.1 ด่านศุลกากรอรัญประเทศ อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว 5.2 ด่านศุลกากรหนองคาย อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย 5.3 ด่านศุลกากรแม่สาย อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรอง และเงื่อนไขการนำเข้าตามความตกลง AFTA (ต่อ) 5.4 ด่านศุลกากรแม่สอด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก 5.5 ด่านศุลกากรระนอง อำเภอเมือง จังหวัดระนอง 5.6 ด่านศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร 6. การตรวจปล่อยสินค้า 6.1 ผู้นำเข้าจะต้องมีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าที่ออกโดยกรมการค้า ต่างประเทศ และเอกสารรับรองที่ออกโดยประเทศผู้ส่งออก ดังนี้ 6.1.1 หนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (FORM D) 6.1.2 ใบรับรองสุขอนามัยพืชหรือหลักฐานอื่นที่แสดงการรับรองสุขอนามัยพืช 6.1.3 ใบรับรองการกำหนดปริมาณสารพิษตกค้างหรือเอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการรับรองหรือกำหนด ปริมาณสารพิษตกค้าง 6.1.4 สำเนาใบรับรองเป็นพืชที่ไม่ได้รับการตัดต่อสารพันธุกรรม (GMOs) 6.2 ข้าวที่นำเข้าจะมีการสุ่มตรวจจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งว่ามีความปลอดภัยและการปลอดจากการตัด ต่อทางพันธุกรรม (GMOs) จริงหรือไม่
หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรอง และเงื่อนไขการนำเข้าตามความตกลง AFTA (ต่อ) 7. การนำเข้าข้าวที่มิใช่เพื่อการค้า ข้าวที่นำติดตัวเข้ามาเพื่อใช้เฉพาะตัว นำเข้ามากับยานพาหนะเพื่อใช้ในยานพาหนะนั้น หรือการนำเข้าเพื่อเป็น ตัวอย่าง สามารถนำเข้ามาได้ในปริมาณเท่าที่จำเป็นโดยไม่ต้องมีหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิยกเว้นภาษี 8. การรายงานการนำเข้า รายงานภายใน 30 วัน นับจากวันที่นำเข้าแต่ละครั้งพร้อมสำเนาใบขนขาเข้าที่เจ้าหน้าที่ศุลกากรสลักหลัง ถูกต้อง
เมล็ดถั่วเหลือง เมล็ดถั่วเหลือง หมายความถึง เมล็ดถั่วเหลืองจะทำให้แตกหรือไม่ก็ตาม ตามพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้าประเภท ดังนี้ ลำดับ พิกัดอัตราศุลกากร รายการ 1 1201.10.00 ถั่วเหลือง จะทำให้แตกหรือไม่ก็ตาม (ใช้เพื่อการเพาะปลูก) 2 1201.90.00 ถัวเหลือง จะทำให้แตกหรือไม่ก็ตาม (อื่น ๆ)
การอนุญาตนำเข้าตามพันธกรณีความตกลงต่าง ๆ
การบริหารการนำเข้าเมล็ดถั่วเหลือง คณะกรรมการพืชน้ำมันและน้ำมันพืช
หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรอง และเงื่อนไขการนำเข้าตามความตกลง AFTA 1. เป็นนิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าไว้กับกรมการค้าต่างประเทศเป็นรายปี (แบบ ทอ.3 และ ทอ.4) 2. นำเข้าเพื่อแปรรูปเป็นน้ำมันพืช อาหารคน หรืออาหารสัตว์ในกิจการของตนเองไม่เกินปริมาณที่ระบุไว้ในแผนการ นำเข้าและการใช้ 3. นำเข้าตามแผนการนำเข้าและการใช้ในกิจการของตนเองดดยมีเอกสารแนบ ดังนี้ 3.1 สำเนาหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (FORM D) ของประเทศผู้ส่งออก 3.2 สำเนาใบกำกับสินค้า (Invoice) 3.3 สำเนาใบตราส่งสินค้า หรือเอกสารหลักฐานอื่นที่แสดงการขนส่งสินค้า 4. ผู้ขอหนังสือรับรองต้องให้ความร่วมมือในการรับซื้อเมล็ดถั่วเหลืองที่ผลิตภายในประเทศ 5. ผู้ขอหนังสือรับรองได้ให้คำรับรองจะไม่นำมาจำหน่าย จ่าย โอนภายในประเทศ 6. ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่ด่านตรวจพืช หรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของด่านดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่ 7. การรายงานการนำเข้า ให้ผู้ได้รับหนังสือรับรองรายงานการนำเข้าหลังการนำเข้าสินค้าทุกครั้ง
มันสำปะหลัง มันสำปะหลัง หมายความถึง รากหรือหัวของมันสำปะหลัง ตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 0714.10 ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หมายความถึง มันสำปะหลังที่แปรสภาพแล้ว ตามพิกัดอัตราศุลกรประเภทย่อย 0714.10 แต่ไม่รวมถึงผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังแช่เย็นจนแข็ง ตามพิกัดศุลกากรประเภทย่อย 0714.10.91 หรือ แช่เย็นตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทย่อย 0714.10.99
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ หมายความถึง ข้าวโพดที่ใช้เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ ตามพิกัดอัตราศุลกากรขาเข้า ประเภทย่อย 1005.90.90
การอนุญาตนำเข้าตามพันธกรณีความตกลงต่าง ๆ
อยู่ภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการนโยบายอาหารสัตว์ การบริหารการนำเข้าข้าวโพด อยู่ภายใต้การควบคุมของ คณะกรรมการนโยบายอาหารสัตว์
หลักเกณฑ์การออกหนังสือรับรอง และเงื่อนไขการนำเข้าตามความตกลง AFTA 1.1 ให้องค์การคลังสินค้า นำเข้าได้ทั้งปี และให้ทำแผนสั่งซื้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ด้านการผลิต การตลาด ภาวะราคา และความต้องการใช้ไม่ให้กระทบต่อราคาผลผลิตภายในประเทศ 1.2 ให้ผู้นำเข้าทั่วไป ขึ้นทะเบียนเป็นผู้นำเข้าเป็นรายปี นำเข้าระหว่างวันที่ 1 มีนาคา 2557 ถึง 31 สิงหาคม 2557 (เฉพาะในปี 2557 เท่านั้น) เพราะโดยปกติถึง 31 กรกฎาคม ในปีนั้น) 1.3 ต้องนำเข้าทางด่านศุลกากรที่มีด่านตรวจพืชและด่านกักสัตว์ หรือมีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจของด่านดังกล่าว ปฏิบัติหน้าที่อยู่ 2. การรายงานการนำเข้า ให้รายงานการนำเข้าหลังการนำเข้าสินค้าในแต่ละครั้ง ตามแบบรายงานการนำเข้าที่ กำหนดในแต่ละความตกลง
ติดต่อ - สอบถาม กรมการค้าต่างประเทศ ถ. สนามบินน้ำ จ ติดต่อ - สอบถาม กรมการค้าต่างประเทศ ถ.สนามบินน้ำ จ.นนทบุรี สายด่วน หรือ สำนักงานการค้าต่างประเทศ เขต 4 (สระแก้ว) โทร. 037 - 425062 - 3 1385