โดย ผศ.ดร.เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์ ปรัชญาแนะแนว โดย ผศ.ดร.เสริมศิริ อัครพุฒิพันธ์
ปรัชญาแนะแนว ๑. คนทุกคนมีคุณค่าต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ฯลฯ ในฐานะที่จะสร้างคุณ สร้างประโยชน์ให้แก่ฝ่ายต่างๆ ได้ ๒. คนทุกคนมีศักดิ์ศรีในความเป็นคน ๓. คนมีความแตกต่างระหว่างบุคคล ๔. คนควรได้รับการส่งเสริมพัฒนาในทุกด้าน ตามศักยภาพอย่างเหมาะสม ๕. คนควรมีสิทธิ์ตัดสินใจเลือกการพัฒนาแก้ปัญหาของตนเอง
เป้าหมายของการแนะแนว ๑. การส่งเสริมและพัฒนา ๒. การป้องกัน ๓. การแก้ไขปัญหา
หลักการปรึกษาเชิงจิตวิทยา เป็นกระบวนการเชิงจิตวิทยา ที่ช่วยให้ผู้คนที่มีปัญหาทางจิตใจ หรือปัญหาทางกาย ซึ่งมีผลกระทบเนื่องมาจากสภาวะทางจิตใจ ได้เรียนรู้เกี่ยวกับตัวของตน สิ่งแวดล้อมของตน วิธีที่ตนจะแสดงบทบาทได้อย่างเหมาะสม และเรียนรู้วิธีการในการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้อย่างราบรื่น กระบวนการดังกล่าว จะช่วยให้บุคคลสามารถตั้งเป้าหมายเพื่อการตัดสินใจ และแก้ไขปัญหาของตนที่เกี่ยวกับ การศึกษา อาชีพ และส่วนตัว สังคมได้ (Hansen, Rossbergt Cramer, 1994)
องค์ประกอบที่สำคัญของการให้บริการปรึกษา ผู้ให้การปรึกษา สภาพแวดล้อมทางกายภาพ กระบวนการ การให้บริการปรึกษา สภาพแวดล้อมทางจิตภาพ ผู้รับการปรึกษา
ทฤษฎีการปรึกษาที่ใช้ในการให้การปรึกษาเชิงจิตวิทยา ๑. กลุ่มทฤษฎีการปรึกษา ที่เน้นความคิดและเหตุผล ๑.๑ ทฤษฎีการปรึกษาแบบวิเคราะห์ลักษณะบุคคลและองค์ประกอบ (Trait-Factor Counseling) ๑.๒ ทฤษฎีการปรึกษาแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรม (Rational Emotive Behavior Theory (REBT)) ๑.๓ ทฤษฎีการปรึกษาแบบวิเคราะห์สัมพันธภาพ (Transectional Analysis in Psychotherapy)
กลุ่มทฤษฎีการปรึกษาที่เน้นอารมณ์และความรู้สึก ๒.๑ ทฤษฎีการปรึกษาแบบจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis) ๒.๒ ทฤษฎีการปรึกษาแบบผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง (Person-Centered Theory) ๒.๓ ทฤษฎีการศึกษาแบบเกสตัลท์ (Gestalt Theory) ๒.๔ ทฤษฎีการปรึกษาแบบภวนิยม (Existential Psychotherapy)
๓. กลุ่มทฤษฎีการปรึกษาที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ๓.๑ ทฤษฎีการปรึกษาแบบพฤติกรรมนิยม (Behavior Therapy) ๓.๒ ทฤษฎีการปรึกษาแบบเผชิญความจริง (Reality Therapy)
๔. ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัว ๔.๑ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบพลวัตรทางจิต (Psychodynamic Model) ๔.๒ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบการเชื่อมโยงระหว่างรุ่น (Transgenerational Model) ๔.๓ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบประสบการณ์นิยม (Experiential Model)
(ต่อ) ๔.๔ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบโครงสร้าง (Structural Model) ๔.๕ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบกลยุทธ์(Strategic Model) ๔.๖ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบระบบมิลาน (The Milan Systemic Model) ๔.๗ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบพฤติกรรมการรู้คิด-พฤติกรรม (Behavioral and Cognitive – Behavioral Models)
(ต่อ) ๔.๘ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบที่เน้นคำตอบ (Solution – Focused Therapy) ๔.๙ ทฤษฎีการปรึกษาครอบครัวตามรูปแบบการศึกษาเชิงจิตวิทยา (Psychoeducational Model)
ขอขอบคุณ