7.5 วิธีการวัดน้ำท่า(streamflow measurement) 1. Field Observation = Floating Method = ใช้ทุ่นลอย - ไม่ใช้ในการศึกษาวิจัย - ใช้ประมาณค่าน้ำท่าในการทำ pre-survey - เครื่องมือประกอบด้วย ทุ่นลอย นาฬิกาจับเวลา และเทปวัดระยะทาง - การคำนวณ…ความเร็ว = ระยะทาง/เวลาที่ใช้…(m/s) - การคำนวณพื้นที่หน้าตัดของลำธาร (a1 , a2 , a3 , ….,an = A) บริเวณริมฝั่ง…พื้นที่รูปสามเหลี่ยม = 1/2 x ฐาน x สูง บริเวณพื้นที่ตอนกลางลำน้ำ…พื้นที่สี่เหลี่ยมคางหมู = 1/2 x (ผลบวกความลึกด้านคู่ขนาน) x ความกว้างระหว่างแนว
2. เครื่องมือวัดความเร็วกระแสน้ำ (Current Meter) - เป็นวิธีที่นิยมใช้กับงานวิจัยโดยทั่วไป 1) ประเภทของเครื่องมือ 1.1) Current meter แบบPropeller type - เปลี่ยนขนาดของใบพัดตามความเร็วของกระแสน้ำ - ใช้กับลำธารที่ลึกไม่เกิน 1 เมตร 1.2) Current meter แบบ Price type - ใช้กับลำธารขนาดใหญ่ น้ำลึก ไหลเชี่ยว - มีตุ้มน้ำหนักช่วยในการทำให้เครื่องมือวางตัวในแนวดิ่ง
2.2 วิธีการวัด 1) การ set ใบพัดวัดความเร็วกระแสน้ำ (ลำธารขนาดเล็ก) - น้ำลึก < 30 ซม. Setใบพัดวัด 1 ครั้ง ที่ 0.6 จากท้องลำธาร - น้ำลึก > 30 ซม. Setใบพัดวัด 2 ครั้งที่ 0.2 และ 0.8 จากท้องลำธาร 2) จำนวนแนวที่ใช้การวัดน้ำท่า…ใช้มากแนว…ยิ่งถูกต้องมาก - ลำธารกว้างน้อยกว่า 1 เมตร วัด 1 หรือ 3 แนว - ลำธารกว้าง 1-5 เมตร วัด 3 หรือ 5 แนว - ถ้าลำธารกว้างมากกว่านี้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม 3) เวลาที่ใช้ในการวัดจากนาฬิกาจับเวลา - ต้องอ่านค่าเวลาที่ใช้หรือกำหนดให้ - ใช้เวลาเป็นตัวเลขที่คำนวณได้ง่าย - ใช้เวลามาก
2. 3 การอ่านค่าจาก Current meter. 1) แบบอ่านตัวเลข…จาก counter meter 2.4 วิธีการคำนวณ Q = VA ……. Continuity Equation และ V = a + bN ในเมื่อ V = ความเร็วของการไหลของน้ำท่า a,b = เป็นค่าคงที่ของสมการขณะนั้น N = จำนวนรอบของใบพัดที่หมุนต่อหน่วยเวลาที่ใช้ - การคำนวณพื้นที่หน้าตัดลำธาร…ใช้หลักการเดียวกับวิธีแรก
3. Staffgage ร่วมกับ Current Meter และ Rating Curve 3 3. Staffgage ร่วมกับ Current Meter และ Rating Curve 3.1 ประเภทของ staffgage 1) Vertical staffgage (VS) ปักไว้ริมลำธารที่ตื้น ไม่เกิน 1-2 เมตร หรือเสาสะพานที่แข็งแรง 2) Sectional Staffgage (SS) ขนาด 1 เมตร จำนวนหลายอันที่วางไว้แนวหลัก ติดตั้งเริ่มตั้งแต่กลางลำธารเข้าสู่ริมฝั่งลำธารใช้กับลำธารที่มีความลึกและกว้างมาก 3) Inclined Staffgage (IS) วัดตามความลาดเอียงของลำธาร นิยมใช้กับทางระบายน้ำที่เกิดจากการก่อสร้าง คือ คลอง ชลประทาน
ภาพแสดง staffgauge ทั้ง 3 แบบ
3.2 วิธีการศึกษา 1) กำหนดจุดวัดน้ำท่า 3.2 วิธีการศึกษา 1) กำหนดจุดวัดน้ำท่า 2) สร้าง staffgage ไว้ ณ จุดวัดน้ำท่า โดยมีวิธีการอ่านค่าดังนี้ - อ่านค่าระดับน้ำทุกครั้ง(H) ที่วัดน้ำท่าด้วย Current Meter - มีการอ่านค่าระดับน้ำตามเวลาที่กำหนดไว้ - ในช่วงที่ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงน้อย อ่านวันละครั้ง - อ่านวันละครั้ง อย่างน้อยต้องอ่านค่าระดับน้ำ - ในช่วงที่ระดับน้ำเปลี่ยนแปลงง่ายต้องอ่านให้บ่อยครั้งมากขึ้น 3) ใช้ Current Meter วัดความเร็วกระแสน้ำในระดับน้ำท่าที่ลึกแตกต่างกันพร้อมคำนวณหาปริมาณน้ำท่า (Q) 4) สร้าง Rating Curve ….ความลึกน้ำท่า (H) กับปริมาณน้ำท่า(Q)
4. เขื่อนวัดน้ำท่า (Weir) 4.1) 90๐ - V - Notch Weir ใช้สูตร Q = 1.49 H5/2 4.2) 120๐ - V - Notch Weir ใช้สูตร Q = 2.56 H5/2 Q = Discharge (cms) H = Height of Water (m.)