Lesson 4 ไวยากรณ์และการอ่าน LI 395 Lesson 4 ไวยากรณ์และการอ่าน
หัวข้อที่จะเรียนในสัปดาห์นี้ ๑. ความหมายของไวยากรณ์ ๒. ความรู้เรื่องวจีวิภาคที่ใช้เป็นพื้นฐานในการอ่าน ๓. ความรู้เรื่องวากยสัมพันธ์ที่ใช้เป็นพื้นฐานในการอ่าน
๑. ความหมายของไวยากรณ์ ไวยากรณ์ (Grammar)โดยทั่วไปหมายถึงการศึกษาด้านโครงสร้างของคำ และความสัมพันธ์ของคำในประโยคของภาษาใดภาษาหนึ่ง อาจให้ความหมายได้ ๔ อย่าง (ตามพจนานุกรมการอ่านของสมาคมการอ่านนานาชาติ) ๑. คำอธิบายเกี่ยวกับภาษาใดภาษาหนึ่ง เพื่อให้ข้อมูลว่าภาษาทำหน้าที่อย่างไร ซึ่งจะรวมด้านเสียง ด้านคำ ด้านวจีวิภาคและด้านความหมายของโครงสร้างภาษาทั้งในปัจจุบันและในอดีตที่ผ่านมา
๒. วจีวิภาค (Morphology) และ วากยสัมพันธ์ ของภาษาใดภาษาหนึ่ง ๓. การศึกษาเชิงพรรณาของภาษาหนึ่งหรือหลายภาษา ๔. สิ่งที่ผู้พูดรู้เกี่ยวกับโครงสร้างและการใช้ภาษาของตัวเองเพื่อการสื่อสารและความคิดริเริ่ม
ประเภทของไวยากรณ์ Frank Smith .ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องไวยากรณ์ว่า ๑. ไวยากรณ์ที่เราเรียนกันอยู่นี้ส่วนมากเป็นแบบเก่า (Traditional grammar) เป็นการพรรณาเกี่ยวกับหน้าที่ของคำ ซึ่งมีกฏต่างๆที่จะต้องปฎิบัติตาม ๒. ไวยากรณ์แบบใหม่ที่เน้นด้านความหมาย (Semantic grammar) ซึ่งอธิบายความหมายของโครงสร้างลึก (Deep structure) และโครงสร้างผิว (Surface structure) ซึ่งมีความแตกต่างในด้านแนวคิด (Concept) หลายประการ
ความรู้เรื่องวจีวิภาค (Morphology) ๑. คำและหน่วยคำ (Words and morphemes) คำประกอบขึ้นด้วยเสียงและความหมาย เช่นคำว่า talk, talks, talked, talker มีส่วนที่แตกต่างกันคือรูปและเสียงลงท้าย /-s/, /-ed/, และ /-er/ ส่วนที่แตกต่างนี้นับเป็นหน่วยของคำด้วย ซึ่งบางหน่วยให้ความหมาย เช่น /-s/, /-ed/ แสดงเวลาในปัจุบันและอดีต /-er/ แสดงเป็นผู้กระทำ เป็นต้น หน่วยของคำเหล่านี้อาจเปลี่ยนรูปไปตามเงื่อนไขต่างๆ ซึงเรียกว่า Allomorph เช่นหน่วยคำเดียวกันแต่เขียน และออกเสียงต่างกันตามสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน
เช่น hats, dogs, roses หน่วยคำ [ s ], จะออกเสียง เป็น /z/ เมื่อตามหลังพยัญชนะ [ g] หรือ [se] ซึ่งมีเสียงสั่นสะเทือนในสายเสียง เป็นต้น นอกจากนี้ก็มีคำที่เปลี่ยนรูปสระ เช่น man-men, ox-oxen, drink-drank-drunk รูปสระที่เปลี่ยนไปพร้อมกับเสียง ก็เป็นหน่วยคำที่เกิดจากเงื่อนไขทางรูปคำและเสียง เพื่อบอกจำนวน (พจน์) และกาล (time aspect) เป็นต้น
ประเภทของหน่วยคำ ๑. หน่วยคำอิสระและหน่วยคำผูกพัน (Free and bound morpheme) write = หน่วยคำอิสระ writer, writing, written, [ -er], [-ing], [-en] เป็นหน่วยคำผูกพัน คืออาศัยคำอิสระ เพื่อแสดงความหมายที่เปลี่ยนไป ในตัวเองเมื่ออยู่เดี่ยวๆก็ไม่มีความหมายอะไร
๒. หน่วยคำทางความหมายและหน่วยคำทางไวยากรณ์ (Lexical and grammatical morphemes) เช่น boy, girl, man, เป็นหน่วยคำอิสระทางความหมาย แต่เวลาพูดเป็นกลุ่มคำหรือประโยค จะมีคำมาช่วยขยายความหรือแสดงอาการกระทำ เช่น A boy is standing. He is talking with a girl. A, is,-ing, He, with เป็นคำไวยากรณ์ ทำหน้าที่ให้ความหมายแก่คำอิสระในด้านต่างๆ เช่นบอกหน้าที่ แสดงอาการ กระทำ อ้างอิงคำอื่น เป็นต้น
๓. หน่วยคำแกนและหน่วยคำเติม (Roots and Affixes) เช่นคำว่า national, democracy Nat-, demo- เป็นหน่วยคำแกน คือเป็นรากศัพท์ของคำที่สร้างขึ้นใหม่ –ion+al, cracy, เป็นหน่วยคำเติม คือเป็นsuffix หรือปัจจัยที่เติมมาข้างหลังเพื่อทำให้เกิดคำใหม่ คำอื่นๆ เช่น preface, retain, illness หน่วยคำที่เติมมาข้างหน้า prefix, pre-, re-, ill- บวกกับรากศัพท์ ก็สร้างคำใหม่ขึ้นมา
๔. หน่วยคำผันและหน่วยคำคง (Derivational affixes and inflectional affixes) Happy--happiness, quickquickly, bookbooks, learnlearned ส่วนของคำ –ness, -ly เป็นหน่วยคำผัน คือทำให้คำอิสระเปลี่ยนรูปคำ (form)และหน้าที่(function)ไป ส่วน –s, -ed เป็นหน่วยคำคง คือทำหน้าที่เปลี่ยนรูปและความหมาย ไปตามกาล แต่ไม่ได้เปลี่ยนหน้าที่ (function)
ส่วนประกอบของคำ การสร้างคำจากหน่วยคำประเภทต่างๆจึงสามารถสร้างคำใหม่ขี้นมาได้หลายแบบ เช่น ๑. หน่วยอิสระ เป็นคำโดดเช่น pen, book, road, etc. ๒. หน่วยคำอิสระ + หน่วยคำอิสระ เช่น homework. Policeman, blackboard
๓. หน่วยคำอิสระ + หน่วยคำผูกพัน หน่วยคำผูกพัน + หน่วยคำอิสระ เช่น manner, unhappy ๔. หน่วยคำผูกพัน + หน่วยคำผูกพัน เช่น interesting, disappointment เป็นต้น
๓. ความรู้เรื่องวากยสัมพันธ์ (Syntax) วากยสัมพันธ์ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเรียงคำ วลี ประกอบขึ้นเป็นประโยค มีกฏเกณฑ์ที่ต้องปฎิบัติ เพื่อการยอมรับและเข้าใจตามที่เจ้าของภาษานิยมกัน กฏเกณฑ์การสร้างประโยค (syntactic rules) เป็นตัวเชื่อมระหว่างภาษาระดับลึก (Deap structure) กับภาษาระดับผิว (Surface structure)
การสร้างประโยค ทำได้หลายวิธี เช่น ๑. การเรียงลำดับคำ (word order) เพื่อสื่อความหมาย เช่น Dogs chase cats. กับ Cats chase dog. มีความหมายต่างกัน เพราะมีการสับเปลี่ยนคำใหม่ ๒. ความสัมพันธ์ของคำ (Constituents of words) แสดงถึงความใกล้ชิดของคำที่อยู่ในประโยค เช่น the boy jumped (the boy + jumped, The+boy, jumped) เมื่อประโยคยาวขึ้น ส่วนประชิด (constituency) ก็จะต่างออกไป
โครงสร้างประโยคแบบใหม่ Deep structure ได้แก่โครงสร้างภาษาที่มีความหมายรองรับโครงสร้างอื่นๆที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น 3. Are you hungry? จะมาจากโครงสร้างเดิมคือ 2 2. You are hungry. :ซึ่งเปลี่ยนมาจาก 1. 1.Hungry(you) (are) ประโยค 1, 2 เป็นprimary & deep structure ประโยค 3 เป็น Surface structure ซึ่งเปลี่ยนมา จากโครงสร้างที่รองรับด้านความหมายต้นๆ
ไวยากรณ์แบบปริวรรตและไวยากรณ์แบบสัมพันธ์ความหมายเป็นรายกรณี ๑.ไวยากรณ์ปริวรรต (Transformation Grammar) ผู้บุกเบิก Noam Chomsky ๒.ไวยากรณ์แบบสัมพันธ์ความหมายเป็นรายกรณี (Generative semantics or Case Grammar) แนวคิด แบบ ๑ โครงสร้างนำไปสู่ความหมาย แบบ ๒ ความหมายนำไปสู่โครงสร้าง