เศรษฐศาสตร์ทรัพยากรน้ำ อ.ดร.มาโนช โพธาภรณ์ ๒ พย ๒๕๕๕
ลักษณะเฉพาะของทรัพยากรน้ำ ทางด้านอุปสงค์ เป็นสิ่งจำเป็นต่อการการดำรงชีวิต ความต้องการใช้มีหลายประเภทที่แตกต่างกัน (multiple use) จากหลายภาคส่วน เช่นเมื่อมองจากแหล่งน้ำที่มีการกักเก็บเช่นเขื่อนแห่งหนึ่ง จะเห็นว่าสามารถจัดสรรได้เพื่อ (ก) การเกษตร (ข) การผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค/การผลิตทางด้านอุตสาหกรรม-เช่นบริเวณชายฝั่งตะวันออก (ค) ผลิตกระแสไฟฟ้า (ง) ปล่อยพักผ่อนหย่อนใจ (การประมง การเดินเรือ) คุณภาพที่ต้องการแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้ อรรถประโยชน์ขึ้นกับเวลา สถานที่การใช้ (ทำให้การส่งน้ำ อัดแรงดัน ปรับปรุงคุณภาพน้ำ รวมถึงการบรรจุขวด จึงเป็นเรื่องสำคัญ)
ลักษณะเฉพาะของทรัพยากรน้ำ (ต่อ) ทางด้านอุปทาน โดยรวม (ทั้งโลก) มีปริมาณคงที่ มีอยู่ทั้ง ๓ สถานะทั้งของแข็ง (น้ำแข็งขั้วโลก) ของเหลว (ส่วนใหญ่เป็นน้ำเค็ม น้ำทะเล และน้ำจืด) และก๊าซ (ในชั้นบรรยากาศหุ้มห่อโลก และที่ระเหยจากพื้นดินและน้ำกลายเป็นไอ แล้วตกมายังพื้นโลก) แนวคิดเรื่องวัฎฎจักรน้ำ (water cycle) แสดงถึงวงจร การเปลี่ยงแปลงทางกายภาพ น้ำจืด (fresh water) สามารถจำแนกตามแหล่งน้ำได้เป็น น้ำผิวดิน (surface water) น้ำใต้ดิน (groundwater) น้ำผิวดินไหลตามแรงโน้มถ่วงของโลก (gravity flow) น้ำจาก ๒ แหล่งสัมพันธ์กัน (น้ำผิวดินสามารถไหลซึมเป็นน้ำใต้ดินได้ ในอัตราแปรผันกับสภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน เช่นพื้นที่โล่ง พื้นที่คอนกรีต)
แนวทางการรักษาความสมดุลระหว่าง D - S การจัดหาน้ำเพิ่ม (supply management) การพัฒนาแหล่งน้ำ (ถือเป็นโครงสร้างพื้นฐาน) เช่น (ก) อ่างเก็บน้ำ เพิ่มขนาดหรือสร้างใหม่ (ข) อุโมงค์ เพื่อใช้สำหรับการผันน้ำ ข้ามลุ่มน้ำ (เช่นท่าจีน สู่เจ้าพระยา เพื่อการผลิตน้ำประปา) -- ต้นทุนในเรื่องของสิ่งแวดล้อม การจัดการทางด้านอุปสงค์ (demand management) ใช้แรงจูงใจและกลไกราคาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร **น้ำเป็นทั้ง economic goods และ social goods – ส่วนหลังเป็นความจำเป็นพื้นฐาน ตามสิทธิมนุษยชน สิทธิการเข้าถึงทรัพยากร สิทธิการมีน้ำใช้เพื่อรักษาความเป็นชุมชน หรือการผลิตเพื่อยังชีพ (๓) การลงทุนติดตั้งเครื่องมือเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำ
กลไกการจัดสรรน้ำ กลไกตลาด (price or market mechanism) ให้ราคาเป็นตัวจัดสรร เพิ่มประสิทธิภาพ (หรือรายได้ หรือประโยชน์ จากการจัดสรรน้ำมากกว่าให้กับกิจการที่มีมูลค่าสูงสุดก่อน) อาจต้องการโครงสร้างพื้นฐานรองรับ เช่นระบบการส่งน้ำ มาตรวัด ต้องมีความชัดเจน และเป็นที่ยอมรับเรื่องสิทธิการใช้ประโยชน์ และการแลกเปลี่ยน ซื้อขาย ต้องการความยืดหยุ่นให้แปรผันไปกับฤดูกาล และสภาพธรรมชาติ ระบบการแบ่งปันน้ำ (quantity rationing) - ระบบการจ่ายน้ำเข้านาตามรอบ (rotation system)