เชาว์ปัญญา
เชาว์ปัญญา ประวัติความเป็นมาของการวัดเชาว์ปัญญา ความหมายของเชาว์ปัญญา ไอคิว ทฤษฎีเชาว์ปัญญา ความเป็นปัญญาอ่อน เชาว์ปัญญา การวัดเชาว์ปัญญา วิธีการศึกษา พวกเด่นทางปัญญา ทฤษฎีการวัดเชาว์ปัญญา เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถทางเชาว์ปัญญา
ความหมายของเชาว์ปัญญา ศาสตราจารย์แม็คนีมาร์ แห่งมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ค ได้ศึกษาและให้คำจำกัดความของคำว่า เชาว์ปัญญา ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 ความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม กลุ่มที่ 3 ความสามารถในการคิดแบบนามธรรม กลุ่มที่ 2 ความสามารถในการแก้ปัญหา กลุ่มที่ 4 ความสามารถในการเรียนรู้
ประวัติความเป็นมาของการวัดเชาว์ปัญญา ปีค.ศ.1904 Charles Spearman นักจิตวิทยาชาวอังกฤษได้ศึกษาทดลองความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถทางประสาทและผลการเรียนซึ่งทำให้ Spearman เชื่อว่าความสามารถทางสมองต้องมีอะไรอย่างหนึ่งเป็นตัวกลาง จากผลการทดลองสรุปได้ว่าแบบทดสอบวัดความฉลาดของบุคคลจะมีตัวกลางที่เป็นเครื่องแสดงความสามารถทั่วไปเป็นหลักอยู่เสมอ
วิธีการศึกษา สามารถจำแนกวิธีการศึกษาเกี่ยวกับเชาว์ปัญญาออกเป็น 2 วิธีการ คือ 1. วิธีการทางจิตมิติ (Psychometric approach) 2. วิธีการศึกษาพัฒนาการด้านเชาว์ปัญญา (Cognitive developmental approach)
ทฤษฎีเชาว์ปัญญา ทฤษฎีเชาว์ปัญญามีอยู่ 2 แนว คือ 1. ทฤษฎีโครงสร้างเชาว์ปัญญา 2. ทฤษฎีพัฒนาการทางเชาว์ปัญญา
ทฤษฎีการวัดเชาว์ปัญญา ทฤษฎีการวัดเชาว์ปัญญาแบ่งออกเป็น 3 ทฤษฎี ดังนี้ 1. ทฤษฎีสององค์ประกอบ ( Two factor Theory) ของ Spearman 2. ทฤษฎีสมรรถภาพสมองขั้นพื้นฐาน( Mental Abilities Theory ) 3. ทฤษฎีโครงสร้างทางปัญญาของ Guilford
การวัดเชาว์ปัญญา การวัดความสามารถทางเชาว์ปัญญามีวิธีการวัดอยู่หลายวิธี เครื่องมือที่ใช้วัดก็มีอยู่หลากหลายชนิด ยกตัวอย่าง 2 วิธี ดังนี้ 1. การวัดขั้นพัฒนาการของเชาว์ปัญญา 2. การวัดแบบจิตมิติ
การวัดเชาว์ปัญญา
เครื่องมือที่ใช้วัดความสามารถทางเชาว์ปัญญา แบบทดสอบมาตรฐานที่ใช้วัดเชาว์ปัญญาทั่วไป แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. แบบทดสอบเชาว์ปัญญารายบุคคล 2. แบบทดสอบเชาว์ปัญญาแบบกลุ่ม
ข้อควรระวังในการทดสอบเชาว์ปัญญา 1. ผู้ทดสอบต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และความชำนาญเกี่ยวกับเครื่องมือวัดที่ใช้ และต้องเตรียมเครื่องมือที่ใช้ให้พร้อมล่วงหน้าการทดสอบ 2. ผู้ถูกทดสอบต้องให้ความร่วมมือ มีความพร้อมทั้งร่างกายและจิตใจที่จะแสดงความสามารถของตนออกมาเต็มที่ ผู้ถูกทดสอบจะต้องไม่รู้คำตอบและฝึกทำแบบทดสอบที่ใช้ทดสอบมาล่วงหน้า 3. สภาพแวดล้อมขณะทำการทดสอบ ต้องทำการทดสอบในช่วงที่ปราศจากสิ่งรบกวน มีบรรยากาศผ่อนคลายไม่ถูกขัดจังหวะ รบกวนสมาธิผู้ถูกทดสอบ
ไอ.คิว (I.Q) ไอ.คิว หรือ (I.Q) ย่อมาจาก Intelligence Quotient คือ ดรรชนีที่จะระบุให้ทราบถึงระดับสติปัญญาของบุคคล การจัดประเภทของ ไอ.คิว ตามแบบทดสอบ WISC ฉลาดมาก มีระดับ I.Q = 130 ขึ้นไป ฉลาด มีระดับ I.Q = 120-129 ค่อนข้างฉลาด มีระดับ I.Q = 110-119 ปกติหรือปานกลาง มีระดับ I.Q = 90-109 ค่อนข้างโง่ มีระดับ I.Q = 80-89 โง่คาบเส้น มีระดับ I.Q = 70-79 บกพร่องทางสมอง มีระดับ I.Q = น้อยกว่า69
ความเป็นปัญญาอ่อน ลักษณะของปัญญาอ่อนกับปัญหาทางด้านการเรียน ลักษณะเฉพาะของคนปัญญาอ่อน ลักษณะของปัญญาอ่อนกับปัญหาทางด้านการเรียน ความเป็นปัญญาอ่อน สาเหตุของปัญญาอ่อน ขณะตั้งครรภ์ สาเหตุจากพันธุกรรม สาเหตุจากสิ่งแวดล้อม หลังคลอด ขณะคลอด
ภาวะปัญญาอ่อน
พวกเด่นทางปัญญา ได้แก่พวกที่มีระดับ ไอ.คิว. ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป พวกนี้จะมีลักษณะไม่เหมือนทั่วไป และมักมีบทบาทพิเศษในสังคม นักจิตวิทยาหลายท่านมีความเห็นสอดคล้องกันว่า เด็กปัญญาหลักแหลมส่วนใหญ่จะมีลักษณะดังนี้ 1. มีประสาทการรับรู้อันว่องไวเป็นพิเศษ 2. มีความอยากรู้อยากเห็นอย่างเข้มข้น 3. มีความสามารถแก้ไขปัญหาและมีความเข้าใจสิ่งต่างๆ ในระดับสูง 4. มีแรงผลักดันและวิริยะพากเพียร 5. มีแรงผลักดันที่จะประกอบกิจดำเนินงานให้สมบูรณ์ปราศจากที่ติ
ผลของพันธุกรรมที่มีต่อเชาวน์ปัญญา ผลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อเชาวน์ปัญญา อายุและความแตกต่างทางเชาวน์ปัญญา เพศและความแตกต่างทางเชาวน์ปัญญา ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อเชาว์ปัญญาของมนุษย์ ขนาดของครอบครัวและสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีผลต่อเชาวน์ปัญญา สุขภาพและเชาวน์ปัญญา