งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

เชาวน์ปัญญา(Intelligence) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "เชาวน์ปัญญา(Intelligence) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 เชาวน์ปัญญา(Intelligence) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1 นักศึกษาสามารถอธิบายความหมายของ เชาวน์ปัญญาได้ 2 นักศึกษาสามารถเกี่ยวกับแทฤษฎีเชาวน์ปัญญา ของ Thurstone ได้ 3 3 นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับอิทธิพลของ พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมที่ผลต่อเชาวน์ปัญญาได้ 4 4 นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นเรื่องเรื่องความสัมพันธ์ ระหว่างเชาวน์ปัญญากับความสามารถด้านอื่น ๆ ได้

2 ความหมายเชาวน์ปัญญา แบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ
1 ความสามารถในการปรับตัว 2 ความสามารถในการแก้ปัญหา 3 ความสามารถในการคิดเชิงนามธรรม 4 ความสามารถในการเรียนรู้

3 ทฤษฎีเชาวน์ปัญญา ทฤษฎีองค์ประกอบเดี่ยว ทฤษฎีองค์ประกอบสองตัว
ทฤษฎีองค์ประกอบหลายตัว ทฤษฎีโครงสร้างเชาวน์ปัญญาของกิลฟอร์ด

4 ทฤษฎีองค์ประกอบเดียว (Unique factor theory)
ทฤษฏีองค์ประกอบเดียวนี้จัดว่าเป็นทฤษฏีแรก ในเรื่องการวัดเชาวน์ปัญญาของมนุษย์ โดยเชื่อกันว่า เชาวน์ปัญญาของมนุษย์เรามีลักษณะเป็นกลุ่มก้อนเดียวกันจะแยกจากกันไม่ได้ และเชื่อว่า “เชาวน์ปัญญา” คือ ความสามารถในการคิดแบบนามธรรม เป็นผลของพันธุกรรม แต่เพียงอย่างเดียว กล่าวคือ เชื่อในเรื่องของพันธุกรรมนั้นเอง ที่ว่าความฉลาดหรือความโง่เป็นสิ่งที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ใครฉลาดหรือโง่ก็จะเป็นเช่นนั้นตลอดไป

5 ทฤษฏีองค์ประกอบ 2 ตัว (Bifactor Theory หรือ Two factor theory)
ทฤษฏีองค์ประกอบ 2 ตัวนี้ เกิดจากแนวคิดของ Charles Spearman ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาชาวอังกฤษ ทฤษฏีนี้เชื่อว่า เชาวน์ปัญญาของคนเรานั้นมี 2 องค์ประกอบ ด้วยกันคือ 1. องค์ประกอบทั่วไป (General factor หรือ “g”) 2. องค์ประกอบเฉพาะ (Specific Factor หรือ “s”)

6 1. องค์ประกอบทั่วไป (General factor หรือ “g”)
หมายถึง ความสามารถพื้นฐานในการดำเนิน “กิจกรรมทางสมองทุกอย่างของบุคคล” เช่น การคิด การรับรู้ ฯลฯ ซึ่งกิจกรรมทางสมองบางอย่างก็ใช้ “g” มากบางอย่างก็ใช้ “g” น้อย และ “g” ในแต่ละบุคคลย่อมมีปริมาณแตกต่างกันไป จึงทำให้มีความแตกต่างระหว่างบุคคลทางด้านความเฉลียวฉลาด สเปรียร์แมนเน้นว่า “g” เป็น พลังทางสมอง (mental energy) นั่นเอง

7 2. องค์ประกอบเฉพาะ (Specific Factor หรือ “s”)
หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการทำงานเฉพาะอย่าง ซึ่งขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อม โอกาสที่จะได้เรียนรู้ฝึกฝนเช่น ความสามารถทางดนตรี ศิลปะ คณิตศาสตร์ ภาษา เป็นต้น

8 2. องค์ประกอบเฉพาะ (Specific Factor หรือ “s”)
ภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง “g” และ “s”

9 ทฤษฎีองค์ประกอบหลายตัว (Multiple factor theory)
ประกอบด้วยพื้นฐานต่าง ๆ 7 ด้าน ด้วยกันคือ 1. V หมายถึง Verbal คือความสามารถทางด้านการใช้คำศัพท์รูปคำประโยคต่าง ๆ 2. N หมายถึง Numberical คือ ความสามารถทางด้านตัวเลข การคิดคำนวณ 3. S หมายถึง Spatial คือ ความสามารถในด้านมิติสัมพันธ์ อนุกรม 4. W หมายถึง Word Fluency คือ ความคล่องในการใช้คำพูด

10 ทฤษฎีองค์ประกอบหลายตัว (Multiple factor theory)
5. M หมายถึง Memory คือ ความสามารถทางด้านความจำ 6. R หมายถึง Reasoning คือ การรู้จักใช้เหตุผล 7. p หมายถึง Perceptual Speed คือ อัตราในการรับรู้ของตา หู พื้นฐานทั้ง 7 ด้านนี้แต่ละคนมีไม่เท่ากันแตกต่างกันออกไป บุคคลใดมีความถนัดด้านใด ก็จะมีพื้นที่ส่วนนั้นมาก

11 ทฤษฎีแบบโครงสร้างของสติปัญญา ของกิลฟอร์ด (Guilford’s Structure of intellect Model)
มีลักษณะเป็น 3 มิติ มิติที่ 1 เนื้อหา (Content) มิติที่ 2 วิธีการคิด (Operation) มิติที่ 3 ผลของการคิด (Product)

12 มิติที่ 1 เนื้อหา (Content)
ภาพ (Figural) หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญญาณต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ตัวอักษร โน้ตดนตรี สัญญาณจราจร เป็นต้น 2 สัญลักษณ์ (Symbolic) หมายถึง เครื่องหมาย หรือสัญญาณต่าง ๆ เช่น ตัวเลข โน้ตดนตรีสัญญาณจราจร เป็นต้น

13 มิติที่ 1 เนื้อหา (Content)
3 ภาษา (Verbal) หมายถึง ความหมายที่เป็นถ้อยคำต่าง ๆ 4 พฤติกรรม (Behavior) หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกต่างๆ ของบุคคล เช่น ความต้องการ ทัศนคติและอารมณ์เป็นต้น

14 มิติที่ 2 วิธีการคิด (Operation)
1 การรู้ (Cognition) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะรู้จัก หรือค้นพบและเข้าใจ สิ่งต่าง ๆ 2 การจำ (Memory) หมายถึง ความสามารถทางสมองของบุคคลที่จะจำสิ่งต่าง ๆ ได้ หรือสามารถระลึกได้

15 มิติที่ 2 วิธีการคิด (Operation)
3 การคิดแบบเอนกนัย (Divergent Thinking) หมายถึง ความสามารถที่ จะคิดหรือกระทำตอบต่อสิ่งต่าง ๆ ได้หลายทาง เช่น ประโยชน์ของผ้าขาวม้า 4 การคิดแบบเอกนัย (Convergent Thinking) หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ที่คิดกระทำตอบต่อสิ่งต่าง ๆ ในทางที่ดีที่สุด หรือหาคำตอบที่ถูกต้อง สมเหตุสมผลที่สุดเพียงคำตอบเดียว

16 มิติที่ 2 วิธีการคิด (Operation)
5 การประเมินค่า (Evaluaiton) หมายถึง ความสามารถของมนุษย์ในการพิจารณาตัดสินหรือประเมินคุณค่าสิ่งต่าง ๆ ได้ถูกต้องดีสมเหตุผล โดยอาศัยกฎเกณฑ์ที่น่าเชื่อถือ

17 มิติที่ 3 ผลของการคิด (Product)
1 หน่วย (Unit) หมายถึง สิ่งย่อยที่สุดของ สิ่งต่าง ๆ ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวไม่ เหมือนกับสิ่งอื่น ๆ เช่น นกฮูก นกเอี้ยง นกพิราบ เป็นต้น ซึ่งจะมีเอกลักษณ์ในตัวเอง แต่จะเล็กว่า Class 2 จำพวก (Class) หมายถึง กลุ่มต่าง ๆ ทีมีคุณสมบัติร่วมกัน เช่นนกฮูก นกเอี้ยง นกพิราบ ต่างก็จัดเป็นจำพวกนก

18 มิติที่ 3 ผลของการคิด (Product)
ความสัมพันธ์ (Relation) หมายถึง ความเชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ เช่น พ่อคู่กับแม่ ชายคู่กับหญิง หรือ แมวอยู่บนบก ปลาอยู่ในน้ำ เป็นต้น 4 ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของสิ่งต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน โดยมีหลักเกณฑ์รวมกันอยู่อย่างหนึ่ง หรือมีแบบแผน เช่น เลขชุด จัดเป็นระบบเลขคี่ ส่วน จัดเป็นระบบเลขคู่

19 มิติที่ 3 ผลของการคิด (Product)
5 การแปลงรูป (Transformation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลง แก้ไข ปรับปรุง ดัดแปลง สิ่งต่าง ๆ ออกมาในรูปใหม่ เช่น การให้คำนิยาม ย่อความ หรือ ขยายความ เป็นต้น 6 การประยุกต์ (Implication) หมายถึง การนำไปใช้ การคาดคะเน การคาดหวัง หรือการทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ว่าจะมีสิ่งใดเกิดขึ้นตามมาอย่างมีเป้าหมาย อย่างมีเหตุผล และสามารถปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม อย่างมีประสิทธิภาพ

20 สูตรการคำนวณ IQ สูตรการคำนวณ IQ มีดังนี้ อายุสมอง (Mental Age)
IQ = x 100 อายุจริง (Chronological Age) ตัวอย่างการคำนวณ : เด็กคนหนึ่งมีอายุ 18 ปี ทำแบบทดสอบได้เท่ากับอายุสมอง 16 ปี จงหาค่าของ IQของเด็กคนนี้ 16x100 IQ = IQ ของเด็กคนนี้จะมีค่าเท่ากับ 88.9

21 การแบ่งระดับ IQ ที่ใช้กันในปัจจุบัน
- สูงกว่านี้ ยอดอัจฉริยะ Genius 140 ขึ้นไป หมายถึง ฉลาดมาก หมายถึง ฉลาด หมายถึง สูงกว่าปกติ หมายถึง เกณฑ์ปกติ, ปานกลาง หมายถึง ปัญญาทึบ หมายถึง โง่คาบเส้น,กึ่งปัญญาอ่อน หมายถึง ปัญญาอ่อน หมายถึง ปัญญาอ่อนอย่างอ่อน - ต่ำกว่า 36 หมายถึง ปัญญาอ่อนในขั้นไม่สามารถดูแล ตนเองได้ ต้องมีผู้คุ้มครอง

22 ความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์ปัญญา กับความสามารถด้านอื่น
1. เชาว์ปัญญากับความสามารถด้านการเรียน 2. เชาวน์ปัญญาและการประกอบอาชีพ

23 1. เชาว์ปัญญากับความสามารถด้านการเรียน
เด็กที่มี I.Q. ต่ำกว่าระดับปกติ ส่วนมากจะมีปัญหาด้านการเรียนแทบทั้งนั้น จากการรวบรวมถึงสาเหตุของปัญหาการเรียนในเด็ก อันเนื่องจากระดับเชาวน์ปัญญา (กรมการแพทย์ กระทรวง-สาธารณสุข, 2525 อ้างถึงใน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ภาควิชาจิตวิทยา, 2542 : 302) พบว่า 1) เชาวน์ปัญญาต่ำ ได้แก่พวกเด็กเรียนช้า มีเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ย เด็กที่มี ไอ.คิว. ระหว่าง 71 – 79 มีความสามารถเรียนได้ในระดับ ป.1 – ป.6 ในชั้นเรียนพิเศษของโรงเรียนเด็กปกติ และอาจสามารถเรียนร่วมในชั้นเรียนเด็กปกติได้เป็นบางวิชา

24 1. เชาว์ปัญญากับความสามารถด้านการเรียน
2) ปัญญาอ่อน ได้แก่ พวกที่มีเชาวน์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยคือ ต่ำกว่า 70 ลงไป แบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ 2.1 ปัญญาอ่อนน้อย หรือประเภทที่พอเรียนได้ จะมีความสามารถของเชาวน์ปัญญาระหว่าง 50 – 70 พวกนี้มีความสามารถเทียบเท่าเด็กอายุ 7 – 10 ปี มี ความสามารถเรียนได้ในชั้นเรียนพิเศษในโรงเรียนเด็กปกติ หรือเรียนในโรงเรียนพิเศษเฉพาะ ในระดับประถมต้น ป.1 – ป.4 โดยใช้หลักสูตรพิเศษ อาจใช้เวลาเรียนชั้นละ 2 –3 ปี เมื่อเป็นผู้ใหญ่สามารถจะประกอบอาชีพที่ไม่ยุ่งยากนัก และอยู่ร่วมในสังคมได้ แต่ต้องคอยให้คำ แนะนำ ช่วยเหลือในบางโอกาส

25 1. เชาว์ปัญญากับความสามารถด้านการเรียน
2.2 ปัญญาอ่อนปานกลาง หรือประเภทที่พอฝึกอบรมได้ จะมีความสามารถของเชาวน์ปัญญาระหว่าง 35 – 49 พวกนี้จะมีความสามารถเทียบเท่าเด็กอายุ 3 – 7 ปี ไม่สามารถเรียนในโรงเรียนปกติได้ ควรเรียนในโรงเรียนพิเศษโดยเฉพาะ พวกนี้สามารถอ่านเขียนคำ ง่าย ๆ และพอรู้จักจำนวนง่าย ๆ และทอนเงินได้ พอช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง และพอฝึกประกอบอาชีพง่าย ๆ ได้ภายใต้การควบคุมดูแลของครู

26 1. เชาว์ปัญญากับความสามารถด้านการเรียน
2.3 ปัญญาอ่อนมาก จะมีความสามารถของเชาวน์ปัญญาระหว่าง 20 – 34 พวกนี้มีความสามารถ เทียบเท่าเด็กอายุ 3 ปี พวกนี้เรียนไม่ได้ อาจช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง ได้แก่ ป้อนข้าวเอง อาบน้ำเอง ช่วยเหลืองานบ้านได้ เช่น ถูบ้าน กวาดบ้าน รถน้ำต้นไม้ แต่ ต้องมีคนคอยดูแล และชักจูงให้ทำ

27 1. เชาว์ปัญญากับความสามารถด้านการเรียน
2.4 ปัญญาอ่อนมากที่สุด จะมีความสามารถของเชาวน์ปัญญาต่ำกว่า 20 ลงไป พวกนี้มีความสามารถเทียบเท่าเด็กอายุ 1–2 ปี ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ จำเป็นต้องให้การดูแลอย่างใกล้ชิด

28 1. เชาว์ปัญญากับความสามารถด้านการเรียน
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ระดับของเชาวน์ปัญญา หรือ I.Q. ของแต่ละคน มีผลต่อความสามารถทางการเรียน โดยเฉพาะทางด้านวิชาการต่าง ๆ อย่างมาก ความสัมพันธ์ระหว่างเชาวน์ปัญญากับผลสัมฤทธิ์ในการเรียน มีค่าสหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง .60 ถึง .64 (Cattell and Butcher : 1968) แม้จะจัดอยู่ในระดับสูง แต่ก็ไม่สูงทีเดียวนักเพราะผลสัมฤทธิ์ในการเรียนมิได้ขึ้นอยู่กับเชาวน์ปัญญาแต่เพียงอย่างเดียว ยังขึ้นอยู่กับ ความขยันหมั่นเพียรด้วย ดังนั้นผู้มีเชาวน์ปัญญาในระดับสูงหากมีความขยันหมั่นเพียรน้อย ก็อาจมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนด้อยกว่าผู้มีเชาวน์ปัญญาในระดับต่ำก็ได้

29 2. เชาวน์ปัญญาและการประกอบอาชีพ
เชาวน์ปัญญาสัมพันธ์กับการเลือกประกอบอาชีพ และความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ในด้านการเลือกอาชีพ ผู้มีเชาวน์ปัญญาสูงกว่าย่อมมีโอกาสได้รับเลือกเข้าสู่อาชีพที่มีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่สูงกว่า เช่น ในประเทศไทย อาชีพที่มีฐานะทาง เศรษฐกิจและสังคมสูงคือ แพทย์และวิศวกร ผู้ที่จะเข้าสู่อาชีพทั้งสองจะต้องมีการแข่งขันมาก และการแข่งขันในปัจจุบันก็ชี้ขาดด้วยผลการสอบคัดเลือกซึ่งเชาวน์ปัญญามีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก

30 IQ Test Test

31 IQ Test เมื่อเข้าสู่เว็บไซด์ที่ทดสอบ IQ กรุณาทำดังนี้
1.  เริ่มการทดสอบโดยการคลิกปุ่มเพื่อเลือกภาษา         2.  คลิกปุ่ม      เพื่อเริ่มทดสอบ 3.  ถ้าต้องการไปคำถามต่อไป หรือย้อนกับให้คลิกที่ปุ่ม              4.  ต้องการตรวจสอบผลให้คลิกที่ปุ่ม               และเลือก "Send"                   5.  แบบทดสอบ  มีการจับเวลา  โดยให้เวลาทั้งสิ้น  40 นาที ลองทำแบบทดสอบดูนะคะ....  ที่ 


ดาวน์โหลด ppt เชาวน์ปัญญา(Intelligence) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google