การควบคุมเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง สถานการณ์การระบาดของเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง ปลูกพืชเชิงเดี่ยว ระยะเวลา ระบาดมากในหน้าแล้งหรือฝนทิ้งช่วงเวลานาน -ระบาดรุนแรงอายุ 1-4 เดือน มีผลกระทบ มากกว่า 4-8 เดือน และ8-12 เดือน ผลผลิต ลดลงถึง 80 %
ชีพจักรของเพลี้ยแป้ง - สามารถขยายพันธุ์โดยไม่ต้องผสมพันธุ์ - สามารถออกลูกเป็นตัวและเป็นไข่ - วางไข่ครั้งละ 50-600 ฟอง - ระยะไข่ 7 วัน - ลอกคราบ 3-4 ครั้ง - ตัวเต็มวัยอายุ 10 วัน - ตัวอ่อนอายุ 18-59 วัน - เฉลี่ยอายุ 35-92 วัน
ลักษณะการทำลาย - ใช้ปากที่เป็นท่อยาวดูดกินน้ำเลี้ยงจาก ยอด ใบ ตา และลำต้น - ปล่อยฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต ทำให้เกิดข้อถี่ แตกใบเป็นพุ่มหนาเป็นกระจุก - ท่อนพันธ์ที่ถูกทำลาย จะแห้งเร็ว อายุการเก็บเกี่ยวจะสั้น
- ลำตัวคล้ายลิ่ม มีไขปกคลุมลำตัว มีแถบดำบนลำตัว 2 แถบ ชนิดเพลี้ยแป้ง เพลี้ยแป้งตัวลาย - ลำตัวคล้ายลิ่ม มีไขปกคลุมลำตัว มีแถบดำบนลำตัว 2 แถบ - ปลายท้องมีหางคล้ายแป้ง 2 เส้นยาวครึ่งหนึ่งของลำตัว ออกลูกเป็นไข่
เพลี้ยแป้งสีเขียว ลำตัวรูปไข่ ผนังลำตัวสีเขียวอมเหลืองมีไขแป้งสีขาวปกคลุมด้านข้างลำตัวมีเส้นแป้งสั้น เส้นแป้งที่ปลายท้องยาวกว่าเส้นแป้งที่ลำตัว ออกลูกเป็นตัว
เพลี้ยแป้งสีชมพู ลำตัวรูปไข่ ผนังลำตัวสีชมพู มีเส้นแป้งสั้น หรือไม่ปรากฏให้เห็นเลย ออกลูกเป็นตัว
เพลี้ยแป้งแจ็คเบียดเลย์ ลำตัวค่อนข้างแบน สีเทาอมชมพูมีไขแป้งปกคลุมด้านข้างลำตัวมีไขแป้งปกคลุมจำนวนมากเส้นแป้งที่ปลายท้องยาวกว่าด้านข้างลำตัว ออกลูกเป็นตัว
ลักษณะมันสำปะหลังที่ถูกทำลาย มีข้อถี่มาก แตกใบเป็นพุ่มหนาและหงิก
การกำจัดเพลี้ยแป้งโดยวิธีผสมผสาน 1. การจัดการด้านเขตกรรม -เลือกพื้นที่ปลูก - เลือกฤดูปลูก - เลือกพันธุ์ - การเตรียมดิน - การเตรียมท่อนพันธุ์ - การจัดการวัชพืช - การใส่ปุ๋ย
2. การจัดการที่อยู่อาศัย - การให้น้ำ - การปลูกพืชหมุนเวียน - การสร้างแนวป้องกัน 3. การควบคุมโดยชีววิธี การใช้สิ่งมีชีวิต (ศัตรูธรรมชาติ) ควบคุมสิ่งมีชีวิต(ศํตรูพืช) แบ่งเป็น - ตัวห้ำ หมายถึงศัตรูธรรมชาติที่ห้ำหั่นจับศัตรูพืชกัดกินโดยตรง จะมีรูปร่างค่อนข้างใหญ่ มีแขน ขา ที่แข็งแรง ได้แก่ แมลงช้างปีกใส ด้วงเต่าตัวห้ำ ฯลฯ
- ตัวเบียน หมายถึงศัตรูธรรมชาติที่มีขนาดเล็ก สามารถทำลายศัตรูพืช โดยเข้าไปอาศัยกินอยู ในตัว ศัตรูพืช ทำให้ศัตรูพืชตาย ได้แก่ แตนเบียนเพลี้ยแป้ง Anagyrus lopezi - เชื้อโรค เป็นเชื้อโรคที่สามารถทำลายแมลงหรือทำให้เกิดโรคกับแมลงหลายชนิด โดยเฉพาะเพลี้ยต่างๆ ได้แก่เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดด สีน้ำตาล ได้แก่เชื้อราบิวเวอเรีย
แมลงช้างปีกใส สามารถกินเพลี้ยแป้งได้ 150 ตัว ภายในเวลา 10 วัน
ด้วงเต่าตัวห้ำ สามารถกินเพลี้ยแป้งได้ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย ตลอดอายุไขของด้วงเต่าตัวห้ำ สามารถกินเพลี้ย ได้มากกว่า 1,000 ตัว
แตนเบียนเพลี้ยแป้ง Anagyrus lopezi ทำลายเพลี้ยแป้งได้ 2 วิธี ได้แก่ การห้ำ และการเบียน ห้ำเพลี้ยแป้งได้วันละ 20-30 ตัว สามารถเบียนได้วันละ 15-20 ตัว ตัวเต็มวัยอายุ 17-20 วัน
เชื้อราบิวเวอเรีย ลักษณะของเส้นใย และสปอร์มีสีขาวหรือสีครีมซีด สปอร์งอก (germ tube)แทงทะลุผ่านผนัง หรือช่องว่างบนลำตัว โดยอาศัยน้ำย่อยต่าง ๆ เมื่อเข้าสู่ตัวแมลงแล้วจะเพิ่มปริมาณ และสร้างเส้นใย ผลิตเอ็นไซม์ที่เป็นพิษ ทำให้เป็นอัมพาตและตาย
สารสกัดชีวภาพ หรือสารธรรมชาติ ทำมาจากสมุนไพร เช่น ตะไคร้หอม สะเดา ขมิ้น โล่ติ้น หนอนตายหยาก พริกไทย โหระพา ดาวเรือง สาบเสือ เป็นต้น
การใช้สารเคมี - แนะนำให้ใช้ครั้งแรก เพื่อกำจัดเพลี้ยแป้งที่ติด มากับท่อนพันธุ์ - และเมื่อมีการระบาดเกิดขึ้นอย่าง รุนแรงแมลงศัตรูธรรมชาติไม่สามารถ ควบคุมได้ สารเคมีที่แนะนำ ไทอะมิโทแซม ชื่อการค้า แอคคาราหรือแอมเพล(25% WG) ไดโนฟูแรน ชื่อการค้าสตาร์เกิล (10% WG) โพรไทโอฟอส ชื่อการค้าโตกุไธออน(50%EC50 )
การเตรียมท่อนพันธุ์ ท่อนพันธุ์อายุ 10-14 เดือน ตัดต้นกองทิ้งไว้ไม่เกิน 10 วัน ความยาวของท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 20-30 ซม. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมี ไทอะมิโทแซม 25%WG 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ไดโนฟูแรน 10% WG 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แช่นาน 15-20 นาทีและนำไปผึ่งลมในที่ร่ม ให้แห้งก่อนนำไปปลูก
การเตรียมท่อนพันธุ์ ท่อนพันธุ์อายุ 10-14 เดือน ตัดต้นกองทิ้งไว้ไม่เกิน 10 วัน ความยาวของท่อนพันธุ์ที่ใช้ปลูกประมาณ 20-30 ซม. แช่ท่อนพันธุ์ด้วยสารเคมี -ไทอะมิโทแซม 25%WG 4 กรัม/น้ำ 20 ลิตร -ไดโนฟูแรน 10% WG 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร แช่นาน 15-20 นาทีและนำไปผึ่งลมในที่ร่ม ให้แห้งก่อนนำไปปลูก
การแช่ท่อนพันธุ์
การใช้สารเคมีกำจัดเพลี้ยแป้งในมันสำปะหลัง - กรณีย์ระบาดไม่รุนแรง/ศัตรูธรรมชาติน้อย ให้ใช้ไทอะมิโทแซม 25%WG 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตรและไวท์ออย 40 CC. สามารถฉีดพ่นได้ 1-2 งาน - ระบาดรุนแรง ให้ใช้ไทอะมิโทแซม 25%WG 2 กรัม/น้ำ 20 ลิตรและไวท์ออย 40 CC. ฉีดพ่น 2 ครั้งห่างกัน 10 วัน
การฉีดพ่นสารเคมีอย่างปลอดภัย ต้องใช้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมี หมวก หน้ากาก ชุดคลุม ถุงมือ รองเท้าบู๊ท
การฉีดพ่นสารเคมีอย่างปลอดภัย 1. ต้องใช้ชุดป้องกันอันตรายจากสารเคมี เช่น ใส่เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว สวมหน้ากาก ใส่ถุงมือ ใส่รองเท้าบู๊ท ต้องอ่านฉลากให้เข้าใจก่อนใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชทุกครั้ง 3. หลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูง อย่าใช้ปริมาณที่เกินที่ฉลากกำหนด 4. ไม่ควรผสมสารเคมีหลายชนิดฉีดพ่นในเวลาเดียวกัน 5. ห้ามใช้มือผสมสารเคมีโดยเด็ดขาด 6. ขณะเตรียมสารเคมีต้องเตรียมน้ำสะอาดไว้ใกล้ๆตัว 7. ควรผสมสารเคมีให้พอดีกับการใช้ ไม่ควรนำสารเคมีที่ผสมแล้วเก็บไว้ใช้อีก
8. อย่าให้เด็กหรือสัตว์เลี้ยงเข้ายังที่ฉีดพ่นสารเคมี 9. อย่าสูบบุหรี่ กินอาหาร หรือดื่มน้ำระหว่างผสมหรือฉีดพ่นสารเคมี 10.ตรวจดูเครื่องมือและอุปกรณ์ฉีดพ่นสารเคมีให้อยู่ในสภาพดีไม่รั่วหรือชำรุด 11. ขณะฉีดพ่นสารเคมีผู้ฉีดต้องอยู่เหนือลมเสมอ 12.ควรฉีดพ่นสารเคมีในขณะที่ลมสงบ แดดไม่แรง และควรฉีดพ่นในเวลาเช้าตรู่หรือเย็น 13. สารเคมีที่ผสมแล้ว และเหลือจากการฉีดพ่น ควรทิ้งไว้ในที่จัดเตรียมไว้ 14. ต้องทำความสะอาดเครื่องมือฉีดพ่นสารเคมีภายหลังจากใช้เสร็จทุกครั้ง 15. ต้องอาบน้ำชำระร่างกาย และซักทำความสะอาดชุดที่ใส่ฉีดพ่นสารเคมีทันที