เทคนิคการฝึกอบรมที่เน้นผู้เข้ารับการอบรม ศิริวรรณ ศิริอารยา
คุณต้องการให้ผู้เรียนไปที่ไหน? สร้างสะพานเชื่อมโยงจากจุดยืนของผู้เรียน ไปสู่ จุดที่ท่านต้องการให้ผู้เรียนไปถึง ผู้เรียนอยู่ตรงไหน? คุณต้องการให้ผู้เรียนไปที่ไหน? จะไปได้อย่างไร?
ศึกษาว่าผู้เรียนมีแนวคิดหรือพื้นฐานความรู้เกี่ยวกับหัวข้อนี้อย่างไร เริ่มด้วยการนำความคิดและความรู้สึกของผู้เรียนมากล่าวถึง อธิบายว่าต้องการให้ผู้เรียนไปสู่จุดไหน ให้ผู้เรียนวางแผนเพื่อไปถึงจุดที่ต้องการ กำหนดขั้นตอนอย่างสมเหตุสมผล ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างสม่ำเสมอ
น้ำชาหนึ่งถ้วย หนานอิง เป็นอาจารย์ชาวญี่ปุ่นคนหนึ่ง ได้ต้อนรับศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาซึ่งต้องการมาเรียนรู้เรื่อง เซ็น หลังจากพูดคุยกันสักครู่หนึ่ง หนานอิงก็เสริฟน้ำชาและรินน้ำชาให้ศาสตราจารย์จนเต็มถ้วยแล้วก็ยังไม่หยุดริน ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยมอง น้ำชาที่ล้นถ้วยด้วยความสงสัย สักครู่หนึ่งก็หมดความอดทนและเอ่ยปากถามว่า “น้ำชาเต็มถ้วยแล้ว ใส่อีกก็คงไม่ได้ ทำไมยังรินอยู่ล่ะครับ” หนานอิงตอบว่า “ตัวท่านก็เช่นเดียวกับน้ำชาถ้วยนี้ เปี่ยมล้นไปด้วยการพิจารณาตัดสินความเชื่อ ความเห็น และการสรุปของตัวเอง เราจะช่วยให้ท่านเข้าใจ เซ็น ได้อย่างไร ถ้าท่านยังไม่เทน้ำในถ้วยเดิมออกไปก่อน”
การใช้หลัก SAVI ในการเรียนรู้ S = Somatic (การเคลื่อนไหวทางกายภาพ) soma เป็นภาษากรีก แปลว่า ร่างกาย somatic หมายถึงกลยุทธ การเคลื่อนไหว การใช้กายภาพ ระหว่างการเรียนรู้ A = Auditory (การได้ยิน) V = Visionary (การเห็นภาพ) I = Intellectual (ปัญญา)
ผู้เรียนจะได้ใช้การเคลื่อนไหวทางกายภาพ (Somatic) ได้นำกระบวนการหรือขั้นตอนมาสร้างเป็นรูปแบบ (model) หรือแบบจำลอง ได้นำส่วนต่างๆ หรือบางส่วนของระบบหรือกระบวนการมาใช้ สร้างภาพหรือแผนภูมิ แสดงตามกระบวนการ ระบบ หรือแนวคิดมาปฏิบัติจริง ได้มีประสบการณ์ตรง อภิปราย และคิดย้อนถึงประสบการณ์นั้นๆ ปฏิบัติตามโครงการที่ต้องใช้กิจกรรมทางกายภาพ ทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีการเคลื่อนไหว (เกมส์ สถานการณ์จำลอง) ไปศึกษา ดูงาน เขียน วาดภาพ หรืออภิปรายสิ่งที่ได้เรียนรู้ สัมภาษณ์คนที่ไม่ได้อยู่ในห้องอบรม
ผู้เรียนรู้ด้วยการฟัง (Auditory) ประสาทหูจะจับและเก็บข้อมูลที่ได้ยิน แม้จะไม่รู้ตัวก็ตาม (ในระดับจิตใต้สำนึก) ผู้เรียนทุกคนเรียนรู้จากเสียง ด้วยการพูดคุย ด้วยการอ่านออกเสียง ด้วยการเล่าเรื่องที่ได้ยินหรือได้เรียนรู้ให้ผู้อื่นฟัง ด้วยการพูดกับตัวเอง ด้วยการจำบทกลอนหรือคำคล้องจอง ด้วยการฟังเทป และออกเสียงพูดซ้ำในใจ
แนวคิดในการเพิ่มประโยชน์จากการฟัง (Auditory) ให้ผู้เรียนอ่านคู่มือหรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ด้วยเสียงดัง ให้ผู้เรียนอ่านข้อมูล อัดเทป และให้ฟังเพื่อเน้นย้ำ ให้ผู้เรียนทำเทปที่เน้นย้ำคำสำคัญ คำจำกัดความ หรือกระบวนการ เล่าเรื่องที่มีเนื้อหาหลักประกอบด้วย ให้ผู้เรียนจับคู่อธิบายรายละเอียดสิ่งที่เรียน และพิจารณาต่อว่าจะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร ให้ผู้เรียนฝึกทักษะ และแสดงระหว่าอธิบายรายละเอียดระหว่างปฏิบัติ ให้ผู้เรียนนำเนื้อหามาสร้างให้คล้องจอง หรือร้องเป็นเพลง
การเรียนรู้จากภาพ/สิ่งที่เห็น (Visual) Dr Owen Carkey แห่ง Texas Tech U. และ Dave Meier ผู้เขียนเรื่อง The Accelerated Learning Handbook ระบุว่า คนที่ใช้ภาพในการเรียนรู้ข้อมูลทางเทคนิคและวิทยาศาสตร์ ในระยะยาวจะจำได้ดีกว่า ทั่วไปถึง 12 % ผู้ที่เรียนจากภาพจะเรียนได้ดีที่สุดเมื่อได้เห็นภาพจากที่ปฏิบัติจริง เช่น รูป แผนภูมิ หรือ แผนที่ความคิด
สามารถทำให้การเรียนรู้มีภาพ/สิ่งที่เห็น (Visual) มากขึ้น ด้วยการ ..... ใช้ภาษาที่สร้างภาพพจน์ มีการเปรียบเทียบ ใช้การนำเสนอที่มีภาพ ใช้ภาพสามมิติ ใช้ภาษาท่าทาง ผูกเรื่องราวที่ชัดเจน สร้างแผนภูมิ แผนภาพ (โดยผู้เรียน) สังเกตการณ์นอกสถานที่ ใช้สีสัน จัดสภาพห้องที่มีภาพ/แผนภูมิ
การเรียนรู้โดยใช้ปัญญา (Intellectual Learning) การใช้ปัญญา คือ การที่ผู้เรียนใช้ความคิดของตน ใช้ความฉลาด พินิจพิเคราะห์ ประสบการณ์ และสร้างความเชื่อมโยง สร้างความหมาย วางแผน และระบุคุณค่า นับเป็นการคิดทบทวน คิดสร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหา และสร้างความหมายของแต่ละบุคคล