10 โรคประหลาด.

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
นกในประเทศไทย จัดทำโดย ด.ช.ธีรวุฒิ เนียมคุ้ม ชั้น ม. 2/1 เลขที่ 9.
Advertisements

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ แมลงที่สำคัญทางการแพทย์
แนวข้อสอบ - เมนเดลเป็นนักพันธุศาสตร์ที่ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่อง ต้นถั่วลันเตา - ลักษณะพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกเรียกว่า ลักษณะเด่น - ลักษณะพันธุกรรมที่ถ่ายทอดไปสู่รุ่นหลาน.
ประเมินสภาพของผู้บาดเจ็บ
การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น
จัดทำโดย ด.ช.สมชาย คงดั่น 2/5.
หอผู้ป่วยทารกแรกเกิด 2
ยินดีต้อนรับ สู่..ตึกโรคปอด.
หอผู้ป่วย อายุรกรรม หญิง 3.
Thyroid.
โรคเอสแอลอี.
เทคโนโลยีชีวภาพ เสาวลักษ์ สารรัมย์.
ภาคใต้สมัยก่อนประวัติศาสตร์
หลักการเกิดโรค สุวัสสา เพ็งสีแสง คณะสาธารณสุขศาสตร์
การคัดเลือก “ควายงาม” ตามอุดมคติ หรืออุดมทัศนีย์ (Ideal type)
I. โรคผิวหนัง 1.1. เกิดจากปาราสิตภายนอก เช่น
โรคพยาธิในเลือด โรคพยาธิในเลือดส่วนใหญ่จะหมายความถึงเชื้อโปรโตซัวที่อยู่ในเลือด ไม่ได้รวมถึงหนอนพยาธิที่อยู่ในเส้นเลือด เช่นพยาธิใบไม้เลือด พยาธิในเลือดมักทำให้เกิดโรคที่มีความร้ายแรงกว่าพยาธิในทางเดินอาหารมาก.
โรคขาดอาหารและ/ พยาธิ
กลุ่มอาการท้องเสียในลูกโค (Calf scour)
โรคไข้สมองอับเสบเจอี Japanese encephalitis เสนอ อาจารย์ ดอเล๊าะ ดาลี จัดทำโดย น.ส.เนตรนภา ชั่งประดิษฐ รหัส กลุ่มพื้นฐานที่ 12.
ทะเบียนรับแจ้งข่าวการระบาด
เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินงาน
การเตรียมชุมชน ก่อนพ่นสารเคมี
เลือดออก ไข้ haemorrhagic fever โรคไข้เลือดออกคืออะไร
เรื่อง สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง
ด.ญ.พิม ขจรเวคิน ม.2/1 เลขที่ 11
ความก้าวหน้าและผลของเทคโนโลยีชีวภาพ
สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี
โรคที่เกิดจากฮอร์โมนผิดปกติ
โรคที่เกิดจากความผิดปกติของ Hormone
เบาหวาน ผลิตโดย...กลุ่มงานสุขศึกษา โรงพยาบาลยะลา.
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
ภาวะไตวาย.
หลักสูตรพัฒนา SRRT เครือข่ายระดับตำบล
ในการสอบสวนโรคกลุ่มต่าง ๆ
โดย โรงพยาบาลร้องกวาง
โรคมือปากเท้าเปื่อย (Hand foot mouth syndrome)
การใช้สารเคมีในด้านเกษตรกรรม
“การชะลอภาวะไตวายเรื้อรัง”
ไม่ใช่ผู้ร้ายอย่างที่คิด ฝ่ายโภชนาการ รพ.ภูมิพลฯ
โรคเบาหวาน เบาหวาน คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องมาจากร่างกายไม่สามารถนำน้ำตาลในเลือดไปใช้ได้ตามปกติ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติของต่อมไร้ท่อที่ตับอ่อนปล่อยฮอร์โมนที่เรียกว่า.
คำแนะนำเรื่อง โรค มือ เท้า ปาก สำหรับผู้ปกครอง.
การเลี้ยงปลาหางนกยูง
โภชนาการโรคหลอดเลือดสมอง
โรคติดต่อทางพันธุกรรม
ห่วงลูกหลาน รักในหลวง เด็กไทย ห่างไกลยาเสพติด ร่วมกันต้าน ยาเสพติด.
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โรคเบาหวาน ภ.
สุขภาพจิตที่ดี โรคจิต โรคประสาท การฝึกนั่งสมาธิ ข้อแตกต่าง โรคจิต
เข้าสู่ การนำเสนอเรื่อง โรคเหน็บชา
ภูมิอากาศแบบกึ่งอาร์กติก
Tonsillits Pharynngitis
ระบบน้ำเหลืองและเต้านม
Major General Environmental Problems
ปอมเมอเรเนียน Pomeranian
เชื้อรา แบคทีเรีย โปรโตซัว ไวรัส สาหร่าย
อย่า ! ให้คนที่รักต้องจากไปเพราะ...
เรื่อง ประโยชน์ต่อสุขภาพ ของใบบัวบก
จัดทำโดย ปฏิภาณ ไชยกุล อดิศร สุดดวง
โรคกระเพาะอาหาร Gastritis.
นางสาวนิตย์ติญา ดวงใจ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ระบบขับถ่าย เรื่อง สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ
ด.ช.สุรเวศม์ สุวรรณดำรงผล ม.1/2 เลขที่ 6
โรคเบาหวาน เป็นชื่อของกลุ่มอาการของโรค ที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้
สัตว์ ถัดไป.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

10 โรคประหลาด

 โลกเรายังมีโรคแปลกๆ ที่ยังรักษาไม่หายอยู่เป็นจำนวนมาก แม้แต่แพทย์ยังไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำให้ผู้ป่วยต้องทนทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ซึ่ง 10 โรคต่อไปนี้เราอาจจะเคยได้ยิน หรือเห็นคนเป็นโรคมาบ้าง แต่บางโรคก็ไม่เคยได้ยินเลย และเพิ่งจะรู้ว่ามีโรคนี้อยู่บนโลกด้วยหรือ 

2. โรคแวมไพร์ซินโดรม 4. โรคเส้นบลาชโค 5. เด็กเคนยากินสี-โรคพิคา 7 2. โรคแวมไพร์ซินโดรม 4.โรคเส้นบลาชโค 5.เด็กเคนยากินสี-โรคพิคา 7.ครอบครัวฟูเกต/ โรคบลูสกิน 8.โรคเวอร์วูล์ฟซินโดรม 9.โรคมือเท้าช้าง

1 .โรคค็อดทาร์ดหรือโรคศพเดิน (Walking Corpse Syndrome)            เป็นหนึ่งในโรคทางจิต ตั้งชื่อตามนายแพทย์จูลส์ ค็อดทาร์ด แพทย์ด้านสมองชาวฝรั่งเศส ที่พบว่าผู้ป่วยคนหนึ่งของเขาเป็นโรคนี้ นายแพทย์ค็อดทาร์ดกล่าวถึงผู้ป่วยที่เขารักษาว่า "เธอไม่เชื่อว่าเธอมีอวัยวะ จึงเห็นว่าไม่จำเป็นต้องกินอาหาร"            ผู้ป่วยมีความเชื่อว่าสูญเสียอวัยวะสำคัญ แม้กระทั่งสูญเสียวิญญาณ ผู้ที่เป็นมากๆ จะเชื่อว่าตนตายไปแล้ว ทั้งยังได้กลิ่นเหม็นเน่าจากเนื้อของตัวเอง รู้สึกว่าเหมือนหนอนกำลังกัดกินเนื้อ บางคนเชื่อว่าตัวเองไม่มีกระเพาะ จึงไม่กินอาหาร เป็นไปได้ว่าผู้ที่เป็นโรคเสพยาบ้า โคเคน มากเกินไป และอาจเกี่ยวข้องกับโรคจิตเภท โรคอารมณ์แปรปรวน 

2. โรคแวมไพร์ซินโดรม            ได้ชื่อว่าแวมไพร์ต้องนึกถึงผีค้างคาวดูดเลือด ที่ออกอาละวาดในยามราตรี แต่กลัวแสงสว่างเป็นที่สุด ผู้ป่วยโรคนี้ก็เช่นกัน คือกลัวแสงสว่าง เพราะเมื่อถูกแสงแดดแล้วจะเจ็บปวดอย่างมหาศาล ผิวแห้งแตกเป็นขุย มีรอยไหม้ 

3. โรคจัมพิ่ง เฟรนช์แมน ออฟ เมน (Jumping Frenchman of Maine Disorder)            เป็นโรคที่นายแพทย์จอร์จ มิลเลอร์ เบียร์ด อธิบายไว้เป็นคนแรก เมื่อค.ศ.1878 คาดว่าผู้ป่วยที่เขาพบนั้นเป็นชายชาวแคนาดาเชื้อสายฝรั่งเศส ผู้ป่วยจะเกิดอาการเมื่อถูกกระตุ้น เช่น ถ้าตะโกนดังๆ ให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งผู้ป่วยก็จะทำตามนั้น เช่น มีผู้ตะโกนว่า "ตบหน้าเมีย" ก็จะกระโดดเข้าไปตบหน้าภรรยาของตนเองทันที หรือถ้าได้ยินประโยคแปลกๆ ประโยคที่เป็นภาษาต่างประเทศ ก็จะพูดประโยคนั้นๆ ซ้ำไปซ้ำมาอย่างควบคุมตัวเองไม่ได้ 

4. โรคเส้นบลาชโค (Blaschko"s lines)            ผู้เป็นโรคจะลายริ้วๆ ไปทั้งตัว นับเป็นโรคหายากอีกโรคหนึ่ง ไม่สามารถอธิบายได้ตามหลักกายวิภาค ผู้ที่กล่าวถึงโรคนี้เป็นครั้งแรกคือนายแพทย์อัลเฟรด บลาชโค แพทย์ด้านผิวหนังชาวเยอรมัน ที่กล่าวถึงอาการของผู้เป็นโรคเมื่อค.ศ.1901 บริเวณกระดูกสันหลังจะเป็นเส้นรูปตัว V บริเวณหน้าอก ท้อง และข้างลำตัวจะเป็นเส้นรูปตัว S

5. โรคพิคา หรือโรคที่กินวัตถุที่ไม่สามารถบริโภคได้            ผู้ที่เป็นโรคจะมีความอยากกินวัตถุที่ไม่ใช่อาหารมาก เช่น ดิน กระดาษ กาว โคลน ไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่มีวิธีรักษา แต่เป็นไปได้ว่าร่างกายขาดแร่ธาตุบางอย่าง 

6. โรคอลิซในแดนมหัศจรรย์ หรือ "ไมครอพเซีย"            เกิดจากความผิดปกติของสมอง ที่แปรสัญญาณไปยังสายตาผู้ป่วยให้มองทุกอย่างเล็กจากความเป็นจริง ทั้งที่สายตาของผู้ป่วยไม่มีความผิดปกติใดๆ เช่น มองสุนัขที่เลี้ยงไว้ ก็จะเห็นว่ามีขนาดเท่าหนู รถยนต์คันใหญ่ ก็จะเห็นว่ามีขนาดเท่ากับรถเด็กเล่น 

7. โรคบลูสกิน หรือ "โรคผิวสีน้ำเงิน"            ผู้เป็นโรคจะมีร่างกายเป็นสีน้ำเงิน ที่สหรัฐเมื่อประมาณร้อยกว่าปีที่แล้ว ครอบครัวของนายมาร์ติน ฟูเกต เด็กกำพร้าชาวฝรั่งเศส และเข้ามาตั้งรกรากอยู่บริเวณลำธารทร็อบเบิ้ลซัมครีก รัฐเคนตั๊กกี้ เมื่อค.ศ.1820 เป็นโรคนี้กันอย่างถ้วนหน้า เริ่มจากที่นายฟูเกตเองที่เป็นโรคอยู่แล้ว เมื่อเขาสมรสกับหญิงปกติ ลูก 4 ใน 7 คนเป็นโรคสีน้ำเงินเหมือนพ่อ ลูกหลานที่มาจากเชื้อสายนี้อีก 6 ชั่วคนยังเป็นโรคนี้ด้วย โดยหนูน้อยเบนจามิน สเตซี่ ที่มีเชื้อสายฟูเกต เป็นคนในตระกูลล่าสุดที่เป็นโรค โชคดีที่เด็กชายไม่เป็นมาก เพียงไม่นานหลังจากเกิดก็หาย ปัจจุบันเด็กชายอายุ 8 ขวบ 

8. โรคเวอร์วูล์ฟซินโดรม            ผู้ป่วยจะมีขนยาวรุงรังตามหน้าตา แขนขา ทุกส่วนของร่างกาย คาดว่าปัจจุบันมีผู้เป็นโรคประมาณ 50 คนจากทั่วโลก เช่น เด็กชายปรัชวิราช พาทิล ชาวอินเดีย ที่ต้องเจ็บปวดจากการล้อเลียนของเพื่อนๆ และสังคม ซึ่งครอบครัวพยายามหาทุกวิถีทางเพื่อช่วยเหลือ ทั้งใช้เลเซอร์แบบแพทย์แผนปัจจุบัน ไปจนถึงการรักษาแบบทางเลือก อายุรเวช 

 9. โรคมือเท้าช้างหรือ "เอเลแฟนต์เทียซิส"            เป็นโรคที่พบเห็นกันค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะในประเทศเขตร้อนที่มียุง เนื่องจากยุงเป็นพาหะของโรค โดยจะแพร่หนอนปรสิตวูชีเรเรียแบนครอฟตี หนอนปรสิตบรูเจียมาลายี หนอนปรสิตบี.ทิโมลี มายังคน ทำให้ไข่ของหนอนปรสิตเข้ามาในกระแสเลือดและแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย มันอาจใช้เวลาฟักตัวนานหลายปี            ที่เว็บไซต์ของโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนระบุว่า โรคมือเท้าช้างเป็นโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิตัวกลมฟิลาเรีย มีลักษณะคล้ายเส้นด้ายอาศัยอยู่ในระบบน้ำเหลืองของคน โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค อาการที่เห็นได้ชัดคือ ขา แขน หรืออวัยวะเพศบวมโตผิดปกติ เนื่องจากภาวะอุดตันของท่อน้ำเหลือง 

โรคเท้าช้างในประเทศไทยมี 2 ชนิด            - ชนิดแรกเกิดจากเชื้อบรูเจียมาลายี มักมีอาการแขนขาโต พบมากในบริเวณที่ราบทางฝั่งตะวันออกของภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปจนถึงนราธิวาส โดยมี "ยุงลายเสือ" เป็นพาหะ ยุงชนิดนี้กัดกินเลือดของสัตว์และคน ชอบออกหากินเวลากลางคืน มีแหล่งเพาะพันธุ์ตามแอ่งหรือหนองน้ำที่มีวัชพืชและพืชน้ำต่างๆ เช่น จอก ผักตบชวา แพงพวยน้ำ หรือหญ้าปล้อง            

- ชนิดที่สองเกิดจากเชื้อวูชีเรเรียแบนครอฟตี มักทำให้เกิดอาการบวมโตของอวัยวะสืบพันธุ์และแขนขา พบมากในบริเวณภาคตะวันตกของประเทศไทย เช่น ที่อำเภอสังขละบุรี อำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อำเภอละอุ่น อำเภอเมือง จังหวัดระนอง เป็นต้น ยุงพาหะนำโรคเท้าช้างชนิดนี้ได้แก่ "ยุงลายป่า" เพาะพันธุ์ตามป่าไผ่ ในโพรงไม้ และกระบอกไม้ไผ่ ปัจจุบันพบว่าเชื้อโรคเท้าช้างชนิดวูชีเรเรียแบนครอฟตี สายพันธุ์ที่นำเข้าโดยผู้อพยพจากชายแดนไทย-พม่า มียุงพาหะหลายชนิดรวมทั้งยุงรำคาญ ซึ่งเป็นยุงบ้านที่พบได้ทั่วไป            

คนที่มีอาการมักจะเกิดจากการที่ถูกยุงที่มีเชื้อพยาธิเท้าช้างกัดซ้ำหลายครั้ง อาการในระยะแรก ผู้ป่วยอาจมีไข้ ซึ่งเกิดจากการอักเสบของต่อมและท่อน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ ขาหนีบ หรืออัณฑะ เนื่องจากพยาธิตัวแก่ที่อยู่ในท่อน้ำเหลืองสร้างความระคายเคืองแก่เนื้อเยื่อภายใน รวมทั้งมีการปล่อยสารพิษออกมาด้วย อาการอักเสบจะเป็นๆ หายๆ อยู่เช่นนี้ และจะกระตุ้นให้เกิดอาการบวมขึ้น หากเป็นนานหลายปีจะทำให้อวัยวะนั้นบวมโตอย่างถาวรและผิวหนังหนาแข็งขึ้นจนมีลักษณะขรุขระ 

10. โรคโพรจีเรีย หรือ "โรคแก่ก่อนวัยอันควร"            เป็นโรคที่เกิดจากรหัสทางพันธุกรรมตัวหนึ่งบกพร่อง ทำให้ผู้ป่วยมีรูปร่างหน้าตาแก่กว่าอายุจริงมาก ส่วนใหญ่แล้วเด็กจะอายุสั้น คือไม่เกิน 13 ปี มักเสียชีวิตจากสาเหตุหัวใจล้มเหลว หัวใจวาย อาการของผู้เป็นโรคคือ หัวล้าน กระดูกบาง มีรูปร่างเตี้ยแคระ มักเจ็บปวดตามข้อ แต่เมื่อแรกเกิดแล้วจะดูเหมือนกับเด็กปกติ