การสืบสวน
การกระทำที่ไม่กระทบสิทธิของประชาชน การกระทำที่กระทบสิทธิของประชาชน การสืบสวนคดีอาญา การกระทำที่ไม่กระทบสิทธิของประชาชน การสะกดรอย การสืบหาข่าว การกระทำที่กระทบสิทธิของประชาชน งานรักษาความสงบ : จับ ค้น (โดยไม่มีหมาย,มีหมาย) งานอื่นๆ : ขัง จำคุก ปล่อย(โดยมีหมาย)
การสอบสวน
1.หลักในการสอบสวน 1.1หลักในการดำเนินคดีของเจ้าพนักงาน หลักการดำเนินคดีตามกฎหมาย(legality principle) คือ หลักที่บังคับให้เจ้าพนักงานของรัฐทำหน้าที่สอบสวน ฟ้องร้อง ต้องดำเนินการสอบสวนคดีซึ่งทราบว่ามีการกระทำความผิดเกิดขึ้นทุกคดีแม้ว่าจะไม่มีผู้มาร้องทุกข์หรือกล่าวโทษก็ตาม และเมื่อได้ดำเนินการสอบสวนจนปรากฏหลักฐานในการสอบสวนว่า คดีมีหลักฐานน่าเชื่อว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิด เจ้าพนักงานต้องฟ้องคดีผู้นั้นต่อศาล และดำเนินคดีจนกว่าจะถึงที่สุดโดยไม่สามารถถอนฟ้องได้
หลักการดำเนินคดีตามดุลพินิจ(opportunity principle) คือ หลักที่เปิดโอกาสให้เจ้าพนักงานของรัฐใช้ดุลพินิจที่จะไม่ดำเนินการสอบสวนหรือไม่ฟ้องร้องคดีบางเรื่อง แม้ว่าจะได้รับคำร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือได้ดำเนินการสอบสวนมาแล้ว ปรากฏหลักฐานน่าเชื่อว่าผู้นั้นเป็นผู้กระทำความผิด ทั้งนี้โดยมีเหตุผลที่ไม่ดำเนินคดี เพราะไม่เป็นประโยชน์แก่สังคมโดยคำนึงถึง เพศ อายุ สภาพการกระทำความผิด หรือสภาพของผู้กระทำความผิด เป็นต้น
1.2 เหตุที่พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวน พนักงานสอบสวนจะไม่ทำการสอบสวนในกรณีตามมาตรา 122 ก็ได้ เมื่อผู้เสียหายขอความช่วยเหลือ แต่ไม่ยอมร้องทุกข์ตามระเบียบ เมื่อผู้เสียหายฟ้องคดีเสียเองโดยมิได้ร้องทุกข์ก่อน เมื่อมีหนังสือกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ หรือบุคคลที่กล่าวโทษด้วยปากไม่ยอมบอกว่าเขาคือใคร หรือไม่ยอมลงลายมือชื่อในคำกล่าวโทษหรือบันทึกคำกล่าวโทษ
1.3 เหตุที่จะไม่รับคำกล่าวโทษ ป.วิ.อ. ม.127 วรรค 2 เจ้าพนักงานผู้รับคำกล่าวโทษจะไม่บันทึกคำกล่าวโทษในกรณีดังต่อไปนี้ก็ได้ เมื่อผู้กล่าวโทษไม่ยอมแจ้งว่าเขาคือใคร เมื่อคำกล่าวโทษเป็นบัตรสนเท่ห์ คำกล่าวโทษซึ่งบันทึกแล้วแต่ผู้กล่าวโทษไม่ยอมลงลายมือชื่อ เจ้าพนักงานผู้รับคำกล่าวโทษจะไม่จัดการแก่คำกล่าวโทษนั้นก็ได้
1.4 พนักงานสอบสวนมีอำนาจให้เจ้าพนักงานอื่นทำการแทน ตาม ป.วิ.อ. ม.128 การใดในการสอบสวนอยู่นอกเขตอำนาจของตน มีอำนาจส่งประเด็นไปให้พนักงานสอบสวนซึ่งมีอำนาจทำการนั้นจัดการได้ เช่น การสอบปากคำพยาน การใดเป็นสิ่งเล็กน้อยในการสอบสวน ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของตน ไม่ว่าทำเองหรือจัดการตามประเด็น มีอำนาจสั่งให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาทำแทนได้ เว้นแต่กฎหมายจะเจาะจงให้ทำด้วยตนเอง
1.5 การสอบสวนในคดีที่ความตายเป็นผลแห่งการกระทำความผิดอาญา ม.129 กรณีที่มีความตายเกิดขึ้นอันเป็นผลแห่งการกระทำความผิดอาญา นอกจากพนักงานสอบสวนจะต้องทำการสอบสวนแล้ว ยังจะต้องทำการชันสูตรพลิกศพ ด้วย ถ้าการชันสูตรพลิกศพไม่เสร็จ กฎหมายห้ามมิให้ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล
1.6 ผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยในขณะที่มีการสอบสวน (ม.130) ฎีกาที่ 661/2490 เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจทำการสอบสวนย่อมจะทำการสอบสวน ณ ที่ใดเวลาใดก็ได้แล้วแต่จะเห็นสมควร แม้จะทำการสอบสวนในที่ซึ่งต่างจังหวัดกับท้องที่ของตน และในโรงแรมแห่งหนึ่งก็ได้ ฎีกาที่ 196/2498 สารวัตรใหญ่ผู้เป็นเจ้าพนักงานสอบสวนได้กระทำการสอบสวนและสอบปากคำจำเลยแล้ว ส่วนยาที่จำเลยถูกจับกุม กองอาหารและยาได้เอาไปวิเคราะห์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ลับหลังจำเลย แล้วส่งเรื่องให้เจ้าพนักงานสอบสวนต่อไป เมื่อเห็นว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิด จึงส่งให้พนักงานอัยการฟ้อง ดังนี้ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป
1.7 พนักงานสอบสวนมีหน้าที่รวบรวมพยานหลักฐานทุกชนิดเท่าที่จะทำได้ เพื่อจะทราบข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่างๆอันเกี่ยวกับความผิด เพื่อจะรู้ตัวผู้กระทำความผิดและพิสูจน์ให้เห็นความผิด หรือความบริสุทธิ์ของผู้ต้องหา (ม.131,138)
2. อำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวน
2.1.รวมรวมข้อเท็จจริง ออกหมายเรียก ม. 133 พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกผู้เสียหายหรือบุคคลใดซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าถ้อยคำของเขาอาจเป็นประโยชน์แก่คดีให้มาตามเวลาและสถานที่ในหมายเพื่อถามปากคำบุคคลนั้น มาตรการบังคับ หมายเรียก พยาน มีความผิดฐานขัดขืนหมาย ป.อ. ม. 168 หมายเรียก ผู้ต้องหา เป็นเหตุให้ศาลออกหมายจับ หรือเป็นเหตุให้จับได้
2.2.รวมรวมพยานหลักฐาน ก. ออกหมายเรียกผู้ครอบครองพยานหลักฐานส่งพยานหลักฐาน ม.132(3) พนักงานสอบสวนมีอำนาจออกหมายเรียกบุคคลซึ่งครอบครองสิ่งของซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐาน ให้ส่งสิ่งของนั้นให้แก่พนักงานสอบสวนได้ เมื่อบุคคลนั้นส่งสิ่งของนั้นแล้วพนักงานสอบสวนมีอำนาจยึดสิ่งของนั้นจนกว่าการดำเนินคดีจะถึงที่สุดตาม ม.132 (4)
ข. ค้นเพื่อให้ได้มาซึ่งพยานหลักฐาน ม.132 (2) พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นเพื่อพบสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มาโดยการกระทำผิด หรือได้ใช้หรือสงสัยว่าได้ใช้ในการกระทำความผิด หรือซึ่งอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ค้นโดยมีหมายค้น ค้นโดยไม่มีหมายค้น
ค. ตรวจพิสูจน์บุคคล วัตถุ เอกสาร ตรวจผู้เสียหาย เมื่อผู้เสียหายนั้นยินยอม มาตรา 132 (1) ตรวจผู้ต้องหา มาตรา 132 (1) ตรวจสิ่งของ หรือที่ทางอันสามารถอาจใช้เป็นพยานหลักฐานได้ รวมทั้งทำภาพถ่าย แผนที่ หรือภาพวาด จำลองหรือพิมพ์ลายนิ้วมือ ลายมือ ลายเท้า กับใบบันทึกรายละเอียดทั้งหลายซึ่งน่าจะกระทำให้คดีแจ่มกระจ่างขึ้น
ฎีกาที่ 1368/2500 พนักงานสอบสวนออกคำสั่งบังคับให้ผู้ต้องหาซึ่งใช้ชื่อว่า “ลำยวน พุ่มชูศรี” เขียนชื่อว่า “ลำเภา บุญศรี” เพื่อส่งไปพิสูจน์เทียบลายมือชื่อของผู้กระทำผิดในอีกคดีหนึ่งซึ่งใช้ชื่อว่า “ลำเภา บุญศรี” ว่าจะเป็นคนๆเดียวกันหรือไม่ ผู้ต้องหาไม่ยอม พนักงานสอบสวนจึงตั้งข้อหาขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ม.132 มิได้ให้อำนาจพนักงานสอบสวนทำเช่นนั้น คำสั่งของพนักงานสอบสวนเป็นอันมิชอบ ผู้ต้องหาไม่มีความผิดฐานขัดขืนคำสั่งเจ้าพนักงาน
ตรวจพิสูจน์พยานโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ม.131/1 กรณีความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หากมีความจำเป็นต้องตรวจเก็บตัวอย่างเลือด เนื้อเยื่อ ผิดหนัง เส้นผม หรือขน น้ำลาย ปัสสาวะ อุจจาระ สารคัดหลั่ง สารพันธุกรรม หรือส่วนประกอบของร่างกายจากผู้ต้องหา ผู้เสียหาย หรือบุคคลที่เกี่ยวข้อง พนักงานสอบสวน(ผู้รับผิดชอบ)มีอำนาจให้แพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญดำเนินการตรวจดังกล่าวได้ ถ้าบุคคลนั้นไม่ยินยอมหรือกระทำการป้องกันขัดขวาง ให้สันนิษฐานไว้เบื้องต้นว่าข้อเท็จจริงเป็นไปตามผลการตรวจพิสูจน์ที่หากได้ตรวจพิสูจน์แล้วจะเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหา หรือผู้เสียหายนั้น (ม.131/1) 18
2.3.จับผู้กระทำความผิด พนักงานสอบสวนมีอำนาจจับผู้ต้องได้ 2 กรณี คือ จับโดยมีหมายจับ ม.66 จับโดยไม่มีหมายจับ ม.78 ป.วิ.อ. มาตรา 165 “ในคดีซึ่งพนักงานอัยการเป็นโจทก์...ให้จำเลยมาหรือคุมตัวมาศาล....”
2.4.ค้นเพื่อพบตัวบุคคล บุคคลซึ่งพนักงานสอบสวนจะค้นเพื่อพบตัวได้แก่ บุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขังโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตาม ม.69(3) บุคคลซึ่งมีหมายให้จับ ตาม ม.69(4) พนักงานสอบสวนมีอำนาจค้นได้ 2 กรณี คือ ค้นโดยมีหมายค้น ม.69 ค้นโดยไม่มีหมายค้น ม.92
2.5. ควบคุมผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนมีอำนาจควบคุมตัว ผู้ต้องหาในกรณีดังต่อไปนี้ ควบคุมตัวผู้ถูกจับ ตามที่ผู้จับนำมาส่ง ม.86, 87 ควบคุมตัวผู้ถูกจับ ที่ถูกจับตามหมายจับของศาล ม.84/1 ควบคุมตัวผู้ต้องหา ที่มิได้มีการจับ หรือออกหมายจับ ม.134 ว.5
2.6.จัดให้ผู้เสียหายทำคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ป.วิ.อ. มาตรา 125 “เมื่อพนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจได้กระทำการสืบสวนหรือสอบสวนไปทั้งหมดหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใดตามคำขอร้องให้ช่วยเหลือให้ตกเป็นหน้าที่ของพนักงานนั้นจัดให้มีคำร้องทุกข์ตามระเบียบ ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 123 และ มาตรา 124”
2.7 ปล่อยชั่วคราวผู้ถูกจับ พนักงานสอบสวนมีอำนาจปล่อยชั่วคราวผู้ถูกจับ หรือผู้มีหมายให้จับ หรือผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งข้อหา ผู้ถูกจับ มาตรา 84/1 ผู้มีหมายให้จับ มาตรา 64, 84/1 ผู้ต้องหาที่ถูกแจ้งข้อหา มาตรา 134 วรรคท้าย มาตรา 106 (1) “เมื่อผู้ต้องหาถูกควบคุมอยู่ และยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล ให้ยื่นต่อพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ”
2.8.ถามปากคำผู้เสียหาย พยานบุคคล หลักในการถามปากคำ ม.133 ก่อนถามปากคำ พนักงานสอบสวนจะให้ผู้ให้ถ้อยคำสาบานหรือปฏิญาณตัวก่อนก็ได้ การถามปากคำ ห้ามมิให้พนักงานสอบสวนตักเตือน พูดให้ท้อใจ หรือใช้กลอุบาย เพื่อป้องกันมิให้บุคคลใดให้ถ้อยคำซึ่งอยากจะให้ด้วยความเต็มใจ การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงในความผิดเกี่ยวกับเพศ ม.133 ว. 4 การถามปากคำผู้เสียหายซึ่งเป็นหญิงในความผิดเกี่ยวกับเพศ ต้องให้พนักงานสอบสวนซึ่งเป็นหญิงสอบสวน เว้นแต่หญิงนั้นจะยินยอม หญิงจะให้บุคคลใดอยู่ร่วมในการถามปากคำด้วยก็ได้
การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็ก ม.133 ทวิ ความผิดตามที่บัญญัติไว้ตาม ม.133 ทวิ หรือความผิดอื่นที่ผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ร้องขอ การถามปากคำพนักงานสอบสวนต้องแยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมในการถามปากคำนั้น เว้นแต่จำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งไม่อาจรอบุคคลนั้น การถามปากคำหากกระทบจิตใจต้องถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และโดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวน การถามปากคำให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพ และเสียงการถามปากคำ
2.9.จัดให้มีการชี้ตัว ม. 133 ว.5,ม.133 ตรี ป.วิ.อ.ม.133 ว.5 “กรณีที่จำเป็นต้องจัดให้ผู้เสียหายหรือพยานยืนยันตัวผู้กระทำความผิด ต้องจัดในสถานที่ที่เหมาะสม และสามารถป้องกันมิให้ผู้กระทำผิดหรือผู้ต้องหาเห็นตัวผู้เสียหายหรือพยาน เว้นแต่ผู้เสียหายหรือพยานนั้นยินยอม”
ม.133 ตรี การจัดให้ผู้เสียหาย หรือพยานซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปีชี้ตัวผู้ต้องหา พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสม และป้องกันมิให้บุคคลซึ่งถูกชี้ตัวนั้นเห็นตัวเด็ก และให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการอยู่ด้วยในการชี้ตัว เว้นแต่ไม่อาจรอบุคคลนั้นได้ ม.133 ตรี ว.1 การชี้ตัวผู้ต้องหาที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี พนักงานสอบสวนต้องจัดให้มีการชี้ตัวในสถานที่ที่เหมาะสม และป้องกันมิให้ผู้ต้องหาที่เป็นเด็กเห็นตัวบุคคลที่จะทำการชี้ตัว ม.133 ตรี ว.2
2.10.การสอบสวนผู้ต้องหา
2.10.1 ต้องมีการแจ้งข้อหาก่อนถามคำให้การ 1. วิธีการแจ้งข้อหา ป.วิ.อ.ม.134 “...พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ผู้ต้องหาทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำที่กล่าวหาว่าผู้ต้องหาได้กระทำผิด แล้วแจ้งข้อหาให้ทราบ” 1. แจ้งข้อเท็จจริง 2. แจ้งข้อหา
. แจ้งข้อเท็จจริง เกี่ยวกับการกระทำที่ถูกกล่าวหา เพื่อที่ผู้ต้องหาจะได้ทราบว่าที่ตนถูกกล่าวหา และพนักงานสอบสวนกล่าวหาโดยอ้างข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของผู้ต้องหาอย่างไร ซึ่งจะช่วยให้ผู้ต้องหาสามารถเข้าใจข้อหาได้ดี และสามารถแก้ข้อกล่าวหาได้อย่างถูกต้องแล้ว แจ้งข้อหา แจ้งว่าเป็นความผิดกฎหมายเรื่องอะไร
2. การแจ้งข้อหา พนักงานสอบสวนต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำความผิดตามข้อหานั้น ป.วิ.อ. ม.134 วรรค 2 “การแจ้งข้อหา...จะต้องมีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำผิดตามข้อหานั้น” การแจ้งข้อหาพนักงานสอบสวนจะต้องรวบรวมพยานหลักฐาน พอสมควรว่าผู้ต้องหาน่าจะได้กระทำผิดในข้อหานั้น “หลักฐานตามสมควร” (Probable Cause)
3. พนักงานสอบสวนต้องหใหโอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหา และแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ 1. ต้องให้โอกาสผู้ต้องหาที่จะแก้ข้อหา 2. ต้องให้อากาสผู้ต้องหาที่จะแสดงข้อเท็จจริงอันเป็นประโยชน์แก่ตนได้ 4. ผู้ต้องหา มีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวมเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม ป.วิ.อ. มาตรา 134 วรรค 3
2.10.2 การถามคำให้การผู้ต้องหา ก. ก่อนถามคำให้การต้องแจ้งสิทธิของผู้ต้องหา สิทธิในการมีทนายความ ม.134/1 พนักงานสอบสวนต้องจัดหาทนายความให้แก่ผู้ต้องหาก่อนถามคำให้การ ในกรณีดังต่อไปนี้ คดีมีอัตราโทษประหารชีวิต ผู้ต้องหามีอายุไม่เกิน 18 ปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา คดีมีอัตราโทษจำคุก ถ้าผู้ต้องหาต้องการทนาย
สิทธิในการให้ทนายความหรือผู้ไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวน ม. 134/3 สิทธิในการได้รับการแจ้งเตือน ม.134/4 Miranda Right สิทธิในการให้ทนายความหรือผู้ไว้วางใจเข้าฟังการสอบสวน
ข. การถามปากคำผู้ต้องหา หลักในการถามปากคำผู้ต้องหา ป.วิ.อ. ม.135 การถามคำให้การผู้ต้องหา กฎหมายห้ามมิให้พนักงานสอบสวนทำ หรือจัดให้ทำการใดๆ ซึ่งเป็นการให้คำมั่นสัญญา ขู่เข็ญ หลอกลวง ให้กำลังบังคับ หรือกระทำโดยมิชอบประการใดๆ เพื่อจูงใจ ให้เขาให้การอย่างใดๆ ในเรื่องที่ต้องหานั้น
การถามปากคำผู้ต้องหาที่เป็นเด็ก ม.133 ทวิ ความผิดตามที่บัญญัติไว้ตาม ม.133 ทวิ ถ้าผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี ร้องขอ พนักงานสอบสวนต้องแยกกระทำเป็นสัดส่วนในสถานที่เหมาะสมสำหรับเด็ก และให้มีนักจิตวิทยา หรือนักสังคมสงเคราะห์ บุคคลที่เด็กร้องขอ และพนักงานอัยการร่วมในการถามปากคำนั้น เว้นแต่จำเป็นเร่งด่วนอย่างยิ่งซึ่งไม่อาจรอบุคคลนั้น
-การถามปากคำผู้เสียหายหรือพยานที่เป็นเด็กอายุไม่เกิน 18 ปี หากกระทบจิตใจต้องถามผ่านนักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์ และโดยมิให้เด็กได้ยินคำถามของพนักงานสอบสวน -การถามปากคำให้พนักงานสอบสวนจัดให้มีการบันทึกภาพ และเสียงการถามปากคำ
ชั้นจับกุมเจ้าพนักงานผู้จับกุมแจ้งข้อหาจำเลยฐานบุกรุกเข้ายึดครอบครอง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 เพียงข้อหาเดียว ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนก็แจ้งข้อหาดังกล่าวข้อหาเดียว อัยการฟ้อง จำเลยฐานบุกรุกเข้ายึดครอบครอง แผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติ ตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และทำไม้และมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484
พนักงานสอบสวนมิได้แจ้งข้อหาจำเลยว่ากระทำความผิดตามพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 เรื่องทำไม้และมีไม้หวงห้ามไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต
ฎีกา 6651/2550 การแจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134 นั้น แม้พนักงานสอบสวนจะมิได้แจ้งข้อหาจำเลยทุกข้อหากระทงความผิดก็ตาม แต่เมื่อภายหลังได้ดำเนินการสอบสวนแล้วปรากฏว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานอื่นด้วย ก็ถือได้ว่าได้มีการสอบสวนในข้อหาฐานอื่นที่มิได้แจ้งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120 แล้ว
เมื่อพนักงานอัยการโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานบุกรุกเข้ายึดถือครอบครองก่นสร้างและแผ้วถางป่าสงวนแห่งชาติด้วย โดยบรรยายฟ้องว่าได้มีการสอบสวนความผิดฐานดังกล่าวแล้ว ตามสำนวนก็ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงว่าการสอบสวนไม่ชอบ จึงถือได้ว่ามีการสอบสวนในข้อหาตามฟ้องทุกข้อหาแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
หมายเรียกและหมายอาญา หมายเรียก หมายถึง หนังสือของเจ้าพนักงานหรือศาล ซึ่งเรียกบุคคลใด ให้มาที่เจ้าพนักงาน หรือศาล เพื่อประโยชน์เกี่ยวกับคดี
เหตุในการออกหมายเรียก ในกรณีที่พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือศาล ต้องการให้บุคคลใดมายังที่ทำการ เนื่องในการสืบสวน สอบสวน การพิจารณาคดี หรือการอย่างอื่น
บุคคลที่มีอำนาจในการออกหมายเรียก 1. พนักงานสอบสวน 2. พนักงายฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ 3. ศาล
กรณีที่ไม่จำเป็นต้องออกหมายเรียก ในกรณีที่พนักงานสอบสวน หรือพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ไปทำการสอบสวนด้วยตนเอง สามารถที่จะเรียกผู้ต้องหาหรือพยานมาได้ โดยไม่ต้อง ออกหมายเรียก(มาตรา 52 วรรค 2)
หมายเรียกต้องส่งแก่ใคร หมายเรียกบุคคลซึ่งมิได้มีฐานะเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย ต้องส่งให้ แก่บุคคลที่มีชื่อปรากฏในหมายเรียกนั้น เว้นแต่มีผู้อื่นยินยอมรับไว้แทน หมายเรียกที่ส่งให้แก่บุคคลที่มีฐานะเป็นผู้ต้องหา หรือจำเลย จะต้อง ส่งให้แก่ผู้ต้องหา หรือจำเลยนั้นเอง หรือส่งให้แก่สามีภรรยาญาติ หรือผู้ปกครอง ของผู้ต้องหาหรือจำเลย
การส่งหมายเรียกให้แก่บุคคลซึ่งอยู่ต่างท้องที่ พนักงานสอบสวน พนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือศาล มีอำนาจในการออกหมายเรียก เฉพาะแต่บุคคลที่อยู่ในเขตอำนาจ ของตนเท่านั้น หากต้องการเรียกบุคคลที่มีที่อยู่นอกเขตอำนาจของตน ต้องมีการดำเนิน การตามมาตรา 56 ซึ่งแยกพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ
ก. หมายเรียกของศาล ต้องส่งไปยังศาลท้องที่ที่ผู้ถูกเรียกนั้นอยู่ เพื่อให้ศาล นั้นจัดการส่งหมายเรียกให้แก่ผู้ถูกเรียก ศาลจังหวัด เชียงใหม่ ศาลจังหวัด ลำพูน นาย แดง
ข. หมายเรียกของพนักงานสอบสวน และพนักงานฝ่ายปกครอง หรือ ตำรวจชั้นผู้ใหญ่ จะต้องส่งไปยังพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจชั้นผู้ใหญ่ หรือ พนักงานสอบสวนที่มีอำนาจออกหมายเรียกซึ่งผู้ถูกเรียกอยู่ในท้องที่ พนักงานสอบสวน ส.ภ.ต.ภูพิงค์ฯ ส.ภ.อ.หางดง นาย แดง
ผลของการไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก ถ้าบุคคลผู้ถูกเรียกไม่มาตามที่มีการเรียก จะมีผลดังต่อไปนี้ ก. หมายเรียกผู้ต้องหาหรือจำเลย จะมีผลให้เจ้าพนักงาน หรือศาลออกหมายจับได้ตามมาตรา 66 ว.2
ข. หมายเรียกพยาน การไม่มาตามหมายเรียกจะมีผลดังนี้ -การขัดขืนหมายเรียกของพนักงานสอบสวนมีความผิด ตาม ม.168 -การขัดขืนหมายเรียกของศาล มีความผิดตาม ม.170
หมายอาญา ป.วิ.อ. ม.2(9) หมายอาญา หมายความถึง หนังสือบงการ ซึ่งออกตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้สั่งให้เจ้าหน้าที่ทำการจับ ขัง จำคุก หรือปล่อย ผู้ต้องหา จำเลย หรือนักโทษหรือให้ทำการค้น รวมทั้งสำเนาหมายจับหรือหมายค้นอันได้รับรองว่าถูกต้อง และคำบอกกล่าวทางโทรเลขว่าได้ออกหมายจับหรือหมายค้นแล้ว ตลอดจนสำเนาหมายจับหรือหมายค้นที่ได้ส่งทางโทรสาร สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศประเภทอื่น ทั้งนี้ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77
หมายอาญามี 5 ชนิด คือ หมายจับ หมายค้น หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย บุคคลผู้มีอำนาจออกหมายอาญา มาตรา 57 ป.วิ.อ. มาตรา 57 “ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติใน มาตรา 78 มาตรา 79 มาตรา 80 มาตรา 92 และมาตรา 94 แห่งประมวลกฎหมายนี้ จะจับ ขัง จำคุก หรือค้นในที่รโหฐานหาตัวคน หรือสิ่งของต้องมีคำสั่ง หรือหมายของศาลสำหรับการนั้น
บุคคลผู้มีอำนาจออกหมายอาญาทั้ง 5 ชนิด ได้แก่ ศาล เท่านั้น
ผู้จัดการตามหมายอาญา มาตรา 61 หมายขัง หมายจำคุก หมายปล่อย ซึ่งศาลออกจะมีถึงผู้บัญชาการเรือนจำหรือพัศดีของเรือนจำซึ่งอยู่ในเขตอำนาจศาลนั้น หมายค้น ผู้จัดการตามหมายได้แก่ เจ้าพนักงานผู้ร้องขอให้ออกหมายค้น
หมายจับ ผู้จัดการตามหมาย ได้แก่ -ออกตามคำร้องขอของ เจ้าพนักงาน ได้แก่ เจ้าพนักงาน ผู้ขอให้ศาลออกหมายจับ -ออกโดยศาลเห็นโดยพลการ -ในกรุงเทพ ศาลจะมีถึงผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ -ในต่างจังหวัด ศาลจะมีถึงผู้กำกับการตำรวจภูธรจังหวัดที่ อยู่ในเขตอำนาจศาล
ข้อความในหมายอาญา มาตรา 60 “หมายจับ หมายค้น หมายขัง หมายจำคุกหรือหมายปล่อย ต้อง ทำเป็นหนังสือและมีข้อความดังต่อไปนี้ 1. สถานที่ที่ออกหมาย 2. วันเดือนปีที่ออกหมาย 3. เหตุที่ต้องออกหมาย 4. (ก) ในกรณีออกหมายจับ ต้องระบุชื่อหรือรูปพรรณของ บุคคลที่จะถูกจับ (ข) ในกรณีออกหมายขัง หมายจำคุก หรือหมายปล่อยต้อง ระบุชื่อบุคคลที่จะถูกขัง จำคุก หรือปล่อย
(ค) ในกรณีออกหมายค้น ให้ระบุสถานที่ที่จะค้น และชื่อหรือรูปพรรณบุคคล หรือลักษณะสิ่งของที่ต้องการค้นกำหนดวันเวลาที่จะทำกาค้น และชื่อกับตำแหน่งของเจ้าพนักงานผู้จะทำการค้นนั้น
5. (ก) ในกรณีออกหมายจับ หมายขัง หรือหมายค้น ให้ระบุ ความผิด หรือวิธีการเพื่อความปลอดภัย (ข) ในกรณีออกหมายขังหรือจำคุก ให้ระบุสถานที่ ที่จะให้ ขังหรือจำคุก (ค) ในกรณีออกหมายขังหรือจำคุก ให้ระบุสถานที่ ที่จะให้ (ง) ในกรณีออกหมายปล่อย ให้ระบุเหตุที่ให้ปล่อย 6. ลายมือชื่อและประทับตราของศาล
เหตุในการออกหมายอาญา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 32 ว.3 บัญญัติว่า “การจับและการคุมขังบุคคล จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือ หมายของศาลหรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ” มาตรา 33 ว.3 “การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองหรือการตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ป.วิ.อ.ม.58 “ศาลมีอำนาจออกคำสั่งหรือหมายอาญาได้ภายในเขตอำนาจตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในข้อบังคับของประธานศาลฎีกา”
ข้อบังคับประธานศาลฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการออกคำสั่งหรือหมายอาญา ข้อ 8. การร้องขอให้ออกหมายจับ ให้ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจชำระคดี หรือศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการจับ ส่วนการร้องขอให้ออกหมายค้น ให้ร้องขอต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือท้องที่ที่จะทำการค้น
เหตุในการออกหมายจับ ป.วิ.อ. มาตรา 59 วรรคสอง กำหนดให้ผู้มีอำนาจออกหมายจับ “จะต้องสอบให้ปรากฏเหตุผลสมควรที่จะออกหมายนั้นเสียก่อน”
ป.วิ.อ. มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียกหรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบหนี”
เหตุในการออกหมายจับ จึงมีดังต่อไปนี้ 1. เหตุร้ายแรงแห่งโทษ -กระทำความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกิน 3 ปี 2. เหตุเกรงว่าจะหนี -ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง -ไม่มาตามหมายเรียก -ไม่มาตามกำหนดนัด
3. เหตุยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน 4. เหตุจะไปก่อเหตุอันตรายประการอื่น
ป.วิ.อ. มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำ ความผิดอาญาซึ่งมีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปี หรือ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้กระทำ ความผิด....................”
2 1 ป.วิ.อ. มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) ........ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือ จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียก หรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบ หนี” 2.1
2 1 ป.วิ.อ. มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) ........ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือ จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียก หรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบ หนี” 2.2
ป.วิ.อ. มาตรา 66 “เหตุที่จะออกหมายจับได้มีดังต่อไปนี้ (1) ........ (2) เมื่อมีหลักฐานตามสมควรว่าบุคคลใดน่าจะได้ กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าจะหลบหนี หรือ จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ถ้าบุคคลนั้นไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง หรือไม่มาตามหมายเรียก หรือตามนัดโดยไม่มีข้อแก้ตัวอันควรให้สันนิษฐานว่าบุคคลนั้นจะหลบ หนี” 1
เหตุในการออกหมายค้น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 มาตรา 33 ว.3 “การเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครองหรือการตรวจค้นเคหสถานหรือในที่รโหฐาน จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งหรือหมายของศาล หรือมีเหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ”
ป.วิ.อ. ม.69 “เหตุที่จะออกหมายค้นได้มีดังต่อไปนี้ (1) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งจะเป็นพยานหลักฐานประกอบ การสอบสวน ไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณา (2) เพื่อพบและยึดสิ่งของซึ่งมีไว้เป็นความผิด หรือได้มา โดยผิดกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าได้ใช้ หรือตั้งใจจะใช้ใน การกระทำความผิด (3) เพื่อพบและช่วยบุคคลซึ่งได้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือกักขัง โดยมิชอบด้วยกฎหมาย (4) เพื่อพบบุคคลซึ่งมีหมายให้จับ (5) เพื่อพบและยึดสิ่งของตามคำพิพากษา หรือตามคำสั่ง ศาล ในกรณีที่จะพบหรือจะยึดโดยวิธีอื่นไมได้แล้ว”
เหตุในการออกหมาขัง มาตรา 71 ให้นำเหตุในการออกหมายจับ มาตรา 66 มาใช้เป็นเหตุในการออกหมายขังโดยอนุโลม ดังนั้นเหตุในการขอให้ศาลออกหมายขัง จึงมีดังต่อไปนี้ เหตุกระทำความผิดร้ายแรง เหตุเกรงว่าจะหลบหนี เหตุเกรงว่าจะยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน เหตุเกรงว่าจะก่อเหตุร้าย
เหตุในการออกหมายปล่อย การปล่อยมี 2 กรณี ปล่อยตัว (กำหนดเหตุในการออกหมายปล่อยไว้ตาม มาตรา 72) ปล่อยชั่วคราว เหตุในการออกหมายจำคุก เหตุในการออกหมายจำคุกกำหนดไว้ตาม มาตรา 74