พลังงานความร้อนใต้พิภพ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
PAIBOONKIJ SUPPLY LIMITED PARTNERSHIP
Advertisements

โครงการพลังงานสัญจร “เปิดโลกปิโตรเลียม” บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
ภาวะโลกร้อน (Global Warming).
10วิธีลดภาวะโลกร้อน จัดทำโดย
หินแปร (Metamorphic rocks)
ดาวอังคาร (Mars).
ภาวะโลกร้อน [ Global Warming ]
Global warming สาเหตุของการเกิดภาวะโลกร้อน
การใช้พลังงานในเศรษฐกิจไทย
ภาวะโลกร้อน ด.ช เกียรติณรงค์ นันทปัญญา ม.2/2 เลขที่ 2
แผ่นดินไหว.
ภาวะโลกร้อน (Global Warming)
ภาวะโลกร้อน(Global Warming)
ก๊าซเรือนกระจก ธีรดนย์ เธียรหิรัญ ๕๒๑๑๐๐๐๖๐๙.
บทที่ 3 ทรัพยากรดิน.
บทที่ 2 การผลิตและการส่งพลังงานไฟฟ้า.
ประเมินสภาพของผู้บาดเจ็บ
รายงาน เรื่อง ดินถล่ม เสนอ อาจารย์วรรณา ไชยศรี.
ความสำคัญของพลังงาน การอนุรักษ์พลังงาน
Fuel cell Technology  เซลล์เชื้อเพลิง.
การผลิตไฟฟ้าจากขยะ โดยการฝังกลบขยะมูลฝอย
โรงไฟฟ้าพลังงานลม.
เทคโนโลยีระบบบำบัดน้ำเสียด้วยพืชกรองน้ำเสีย
อะไรคือ “ไฮบริด”. อะไรคือ “ไฮบริด” ไฮบริด ( hybrid) คือ ระบบการทำงานของเครื่องยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สองระบบทำงานร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วหมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างระบบสันดาปภายในที่ใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงทำงานร่วมกับระบบมอเตอร์ไฟฟ้า.
SOLAR CHIMNEY (ปล่องลมแสงอาทิตย์)
ยินดีต้อนรับ ทุกท่านเข้าสู่.
วิกฤตการณ์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของโลก
คุณครูโชคชัย บุตรครุธ
ระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ
ระเบิดเวลาที่รอวันปะทุ
สัณฐานและโครงสร้างของโลก
เทคโนโลยีชีวภาพ แก๊สชีวภาพ นำเสนอโดย 1. นายทรงศักดิ์ ศรีสันติสุข 2
สถานการณ์ แนวโน้มและผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
โรงไฟฟ้าพลังน้ำ Hydro Power Plant.
Combined Cycle Power Plant
ภาวะโลกร้อน ป้องกัน แก้ปัญหา ภาวะโลกร้อน ผลกระทบ ผู้จัดทำ สาเหตุ
เตาปิ้งย่างไฟฟ้า.
เครื่องดูดฝุ่น.
กระติกน้ำร้อนไฟฟ้า.
ลิฟต์.
ภาวะโลกร้อน โดย น.ส.สมลักษณ์ แจ่มโฉม รหัส กลุ่ม 10.
หยุดโลกร้อนด้วยชีวิตพอเพียง
สถานการณ์พลังงานของประเทศไทย
มาตรการป้องกันแก้ไขผลกระทบฯ เบื้องต้น
ดินถล่ม.
โลก (Earth).
นายแพทย์ประดิษฐ์ วินิจจะกูล รองอธิบดีกรมอนามัย
Welcome to. โลกร้อน คืออะไร ? ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศ เปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราใน ปัจจุบัน สังเกตได้จาก.
863封面 ทองคำ เขียว.
ดวงจันทร์ (Moon).
จัดทำโดย เด็กหญิง นันท์นภัส ขะชาติ ชั้น ม.1/13 เลขที่ 24
ดาวศุกร์ (Venus).
โลกร้อน!!ครับ ภาวะโลกร้อน คือ การที่ อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกเพิ่มขึ้นจากภาวะเรือน กระจก หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ ว่า Green house effect ซึ่งมีต้นเหตุจากการที่มนุษย์
ปิโตรเลียม.
ปัญหาสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับ
สิ่งแวดล้อมกับภาวะโลกร้อน
จิตสำนึกด้านการอนุรักษ์พลังงาน
ดาวเคราะห์น้อย (Asteroids)
เรื่อง ปรากฏการณ์โลกร้อน จัดทำโดย นายยศพล ปรางค์ภูผา ช่างยนต์ กลุ่ม 3 เลขที่ 17 เสนอ อาจาน สมคิด มีมะ จำ.
สภาวะโลกร้อน ร้อน จัดทำโดย นายอรรถพล เพ็งพันธ์. ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะโลกร้อน ซี่งปรากฏการณ์ทั้งหลายเกิดจากภาวะโลกร้อนขึ้นที่มีมูลเหตุมา จากการปล่อยก๊าซพิษต่าง.
ภาวะโลกร้อน.
4.1 Borehole environment สภาวะความดันระหว่างการเจาะและการหยั่งธรณีในหลุมเจาะ เกิดจากปัจจัยสองส่วนคือ - ความดันในชั้นหิน - ความดันของคอลัมน์ของน้ำโคลน.
สิ่งแวดล้อม และภาวะโลกร้อน
ภาวะโลกร้อน (Global Warming).
ด. ช. อติชาต ปันเต ม.1/12 เลขที่ 4 ด. ช. ณปภัช เรือนมูล ม.1/12 เลขที่ 5.
เทคโนโลยีสารสนเทศ เรื่อง น้ำแข็งขั้วโลกละลาย
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่ สูงขึ้นเรื่อยๆ.
ภาวะโลกร้อน กับการดำเนินชีวิต
สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส43102
ภาวะโลกร้อน (Global Warming) หรือ ภาวะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง (Climate Change) เป็นปัญหาใหญ่ของโลกเราในปัจจุบัน สังเกตได้จาก อุณหภูมิ ของโลกที่สูงขึ้นเรื่อยๆ.
ใบสำเนางานนำเสนอ:

พลังงานความร้อนใต้พิภพ

พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นพลังงานความร้อนตามธรรมชาติของโลก

ความร้อนจะไหลออกมาจากภายในโลก เปลือกโลกจะทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อน Inner core เป็นของแข็ง Outer core เป็นของเหลว Mantle มีสภาพกึ่งเหลวกึ่งแข็ง Crust เป็นของแข็ง

ยิ่งลึกลงไปจากเปลือกโลก อุณหภูมิก็จะยิ่งสูงขึ้น โดยปกติจะเพิ่ม 30 0 ซ /ความลึก 1 กม.

เปลือกโลกแตกออกเป็นเพลท (Plate) ซึ่งอาจเคลื่อนที่ออกจากกัน หรือผ่านซึ่ง กันและกัน หรือชนกัน ตามแนวแตกก็จะมีหินหนืด (Magma) ดันแทรกขึ้นมา

เปลือกโลกใหม่เกิดขึ้นตามแนวแตกของพื้นมหาสมุทร เมื่อเพลทสองเพลทมาเจอกัน เกิดการมุดตัว (Subduction) เปลือกโลกส่วนที่มุดลงไป ได้ความร้อนสูงมากก็จะหลอมละลาย และจะดันแทรกตัวขึ้นมาตามขอบของเพลทส่วนที่มุดลงไป

เปลือกโลกที่บางหรือแตกทำให้หินหนืดดันแทรกขึ้นมาที่ผิวดินเรียกว่าลาวา (Lava) ปกติหินหนืดจะไม่โผล่ที่ผิวดินแต่จะอยู่ข้างล่างลงไปและให้ความร้อนแก่หินข้าง เคียงเป็นบริเวณกว้าง

น้ำฝนสามารถไหลซึมลงไปตามรอยแตกได้ลึกหลายกิโลเมตร หลังจากถูกทำให้ร้อนจัด ก็จะไหลกลับขึ้นมาที่ผิวโลกในรูปของไอน้ำร้อนหรือน้ำร้อน

ลักษณะผืนดินที่ร้อนระอุด้วยไอน้ำร้อน แสดงว่าด้านล่างมีความร้อนมหาศาล ในประเทศฟิลิปปินส์

เมื่อน้ำร้อนและไอน้ำร้อนดันขึ้นมาที่ผิวดิน อาจอยู่ในรูปของน้ำพุร้อน (Hot Springs) โคลนเดือด (Mud Pots) ไอน้ำร้อน (Fumaroles) และอื่นๆ

น้ำร้อนที่ดันแทรกขึ้นมา จะถูกกักเก็บไว้ในชั้นหินเนื้อพรุน กลายเป็นแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Reservoir)

แหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นแหล่งพลังงานอันมหาศาล อุณหภูมิของแหล่งกักเก็บอาจสูงถึง 370 O ซ

การสำรวจ และการขุดเจาะ

แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพจะเป็นแนวที่ชัดเจน เปลือกโลกมีลักษณะพิเศษ แตกหักอ่อนแอ การไหลของความร้อนสูง มีภูเขาไฟ และแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อย

วิธีสำรวจประกอบด้วย การแปลภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ การศึกษาภูเขาไฟ การสำรวจทางธรณี ทางเคมี ทางธรณีฟิสิกส์ หลุมเจาะเพื่อวัดอุณหภูมิ

การสำรวจมักจะเริ่มต้นด้วยการแปลภาพถ่ายดาวเทียม และภาพถ่ายทางอากาศ

ภูเขาไฟเป็นตัวบ่งบอกว่ามีพลังงานความร้อนมหาศาลกักเก็บอยู่ด้านล่าง

นักธรณีวิทยาจะเข้าไปสำรวจในบริเวณภูเขาไฟเพื่อหาพื้นที่ที่เหมาะสมที่จะสำรวจในรายละเอียดต่อไป ตัวอย่างเช่น พื้นที่ที่มีไอน้ำร้อนสูง ในนิคารากัว

นักธรณีวิทยาจะสำรวจทำแผนที่ธรณี แสดงลักษณะภูมิประเทศ โครงสร้างธรณี เช่น รอยเลื่อน รอยแตก ประเภทของหินที่พบ

นักธรณีจะศึกษาและตรวจสอบ ชนิด ลักษณะ และคุณสมบัติของหินอย่างละเอียด

ข้อมูลทางธรณีต่างๆจะถูกนำเสนอในรูปของแผนที่ธรณีวิทยา โครงสร้างธรณี ชนิดและคุณสมบัติของหินจะแสดงโดยเครื่องหมายและสีที่แตกต่างกัน

ข้อมูลทางเคมี คุณสมบัติทางไฟฟ้า ทางแม่เหล็ก ทางคลื่นไหวสะเทือน และอื่นๆ ได้มาจากการสำรวจภาคสนาม

ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจภาคสนามจะถูกนำเสนอด้วยรูปแบบต่างๆ และนำมาวิเคราะห์ต่อไป

นักธรณีวิทยาจะศึกษาและตัดสินใจว่าควรเจาะหลุมสำรวจหรือไม่ แหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพที่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจจะถูกตรวจพบโดยการเจาะเท่านั้น

หลุมสำรวจอุณหภูมิที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางเล็กและไม่ลึกมากนักจะถูกเจาะโดย เครื่องเจาะขนาดเล็กเพื่อตรวจสอบอุณหภูมิและชนิดของหิน

ช่างเจาะเตรียมการสำหรับการเจาะหลุมตรวจวัดอุณหภูมิ

มีการเก็บตัวอย่างหินที่เจาะผ่าน นำขึ้นมาเพื่อทำการศึกษาคุณสมบัติต่างๆ รวมทั้งวัดอุณหภูมิที่ระดับความลึกต่างๆ

นักธรณีวิทยาจะศึกษา ตรวจสอบตัวอย่างหินที่นำขึ้นมาอย่างละเอียดทีแต่ละ ระดับความลึก

ข้อมูลอุณหภูมิที่เพิ่มค่อนข้างมากเมื่อลึกลงไปเช่นนี้ เป็นข้อมูลสนับสนุนให้มีการเจาะหลุมที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและลึกมากยิ่งขึ้น เพื่อมองหาแหล่งกักเก็บขนาดใหญ่

การเจาะหลุมผลิตต้องใช้หลุมขนาดใหญ่และเครื่องเจาะที่มีขนาดใหญ่มาก ค่าเจาะอาจสูงเป็นสิบล้านบาท และสามารถเจาะได้ลึกกว่าสามกิโลเมตร

แท่นเจาะขนาดใหญ่จะใช้ช่างเจาะหลายคน และจะทำการเจาะตลอดยี่สิบสี่ชั่วโมง

ถ้าเจาะพบแหล่งกักเก็บ จะทำการทดสอบคุณลักษณะของหลุมเจาะและของแหล่ง กักเก็บโดยการปล่อยให้น้ำร้อนและไอน้ำร้อนไหลออกมาจากบ่อตามธรรมชาติ

ถ้าพบว่าหลุมเจาะนั้นมีคุณสมบัติที่ดี ก็จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ต่างๆที่ปากหลุม ซึ่งจะสามารถควบคุมการไหลของน้ำร้อน/ไอน้ำร้อน และความดันของหลุมได้

กรณีการทดสอบการไหลของหลุมเจาะพลังงานความร้อนใต้พิภพที่รัฐเนวาดา

การผลิตกระแสไฟฟ้า

Turbine Cooling tower Cold Hot ไอน้ำร้อนจากหลุมผลิตจะไปหมุนกังหันผลิตไฟฟ้า ไอน้ำที่เหลือจะควบแน่นในหอควบแน่นเป็นน้ำเย็น และถูกปั๊มคืนลงไปในแหล่งกักเก็บเพื่อหมุนเวียนใช้

แรงดันจากไอน้ำร้อนจะหมุนกังหันไอน้ำ ซึ่งจะไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้า โดยไม่ต้องมีการใช้เชื้อเพลิงมาต้มน้ำให้กลายเป็นไอน้ำร้อนก่อน

ลักษณะของกังหันไอน้ำของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ Imperial Valley, California

กังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพที่ Cerro Prieto, Mexico

พนักงานห้องควบคุมโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่ฟิลิปปินส์

เครื่องแปลงไฟฟ้า ฉนวน และอุปกรณ์ต่างๆในสถานีย่อยของโรงไฟฟ้า

สายส่งเพื่อเชื่อมต่อเครือข่ายไฟฟ้าที่ Mojave Desert, California

ควันขาวที่เห็นเป็นไอน้ำ โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพไม่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงจึงไม่มีควันไฟ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพไม่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยได้มีการสร้างในสภาพแวดล้อมต่างๆข้างต้นโดยไม่ก่อปัญหา

ไร่ข้าวโพด ฟิลิปปินส์ Mammoth Lakes, California Mojave Desert, California Tropical Forest, Mt. Apo, Philippines สภาพแวดล้อมต่างๆที่มีการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพมี 3 แบบขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ของน้ำร้อน/ไอน้ำร้อนของแหล่งกักเก็บพลังงานเป็นสำคัญ (1) โรงไฟฟ้าใช้ไอน้ำร้อนแห้ง (Dry Steam) (2) โรงไฟฟ้าใช้ไอน้ำร้อนที่แยกมาจากน้ำร้อน (Flash Steam) (3) โรงไฟฟ้าระบบสองวงจร (Binary Cycle)

โรงไฟฟ้าที่ใช้ไอน้ำร้อนแห้ง กรณีแหล่งกักเก็บมีอุณหภูมิสูงมาก มีแต่ไอร้อนแห้ง (Dry steam) ไอร้อนนี้จะถูกนำไปหมุนกังหันไอน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยตรง ผลิตไฟฟ้า ไอที่เหลือจะถูกควบแน่นเป็นน้ำแล้วอัดคืนลงแหล่ง

Prince Piero Ginori Conti สร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพขึ้นเป็นแห่งแรกในปี ค.ศ. 1904 ที่ Larderello, Italy ซึ่งเป็นแหล่งแบบไอน้ำร้อนแห้ง

โรงไฟฟ้าที่ Lardello, Italy ถูกทำลายในสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ได้ก่อสร้างขึ้นใหม่ ปัจจุบันยังผลิตไฟฟ้า หลังจากผลิตไฟฟ้ามาได้กว่า 90 ปี

ในอเมริกาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งแรกสร้างขึ้นในปี ค. ศ ในอเมริกาโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งแรกสร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1962 ที่ The Geysers, California ปัจจุบันเป็นแหล่งที่มีการผลิตขนาดใหญ่ที่สุดของโลก

ปัจจุบัน The Geysers มีโรงไฟฟ้า 20 โรง น้ำเสียจากเมืองข้างเคียงจะถูกอัดลงไปในแหล่งกักเก็บซึ่งมีความร้อนมหาศาล เป็นการทิ้งน้ำเสียที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมและยังเพิ่มปริมาณไอน้ำร้อนเพื่อใช้ในโรงไฟฟ้าอีกด้วย

โรงไฟฟ้าแบบ Flash Steam โรงไฟฟ้าแบบ Flash Steam ใช้น้ำร้อนจากแหล่งกักเก็บที่เป็นน้ำร้อนส่วนใหญ่ ส่งเข้า Flash Tank น้ำร้อนนี้จะแปรสภาพเป็นไอน้ำร้อนหมุนกังหันไอน้ำและผลิตไฟฟ้าต่อไป

Flash Technology ค้นพบในนิวซีแลนด์ เนื่องจากมีแหล่งกักเก็บส่วนใหญ่เป็นน้ำร้อน โรงไฟฟ้า Flash Steam นี้อยู่ที่ East Mesa, California

โรงไฟฟ้า Flash Steam ในญี่ปุ่น ในโรงไฟฟ้าประเภทนี้ น้ำร้อน และไอน้ำร้อนที่ เหลือใช้และควบแน่นแล้วจะอัดกลับลงไปเพื่อหมุนเวียนใช้

โรงไฟฟ้า Flash Steam ที่ Imperial Valley, California

โรงไฟฟ้า Flash Steam ที่ Dixie Valley, Nevada

โรงไฟฟ้าระบบสองวงจร โรงไฟฟ้าระบบสองวงจรใช้ความร้อนจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพมาทำให้ของเหลวพิเศษ (Working Fluid) กลายเป็นไอ และส่งไอนี้ไปหมุนกังหันไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าต่อไป

ในตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (Heat Exchanger) ของโรงไฟฟ้าระบบสองวงจร ความร้อนจากน้ำร้อน (Geothermal Water) จะถูกถ่ายให้ของเหลวพิเศษที่ใช้ โดยน้ำร้อนจะไม่มีโอกาสสัมผัสอากาศเลย และจะถูกอัดกลับลงไปในดิน

โรงไฟฟ้าระบบสองวงจรสามารถใช้น้ำร้อนที่มีอุณหภูมิต่ำ จึงสามารถใช้ประโยชน์จากหลายๆแหล่ง โรงไฟฟ้าระบบสองวงจรนี้อยู่ที่ Soda Lake, Nevada

โรงไฟฟ้าที่ Big Island, Hawaii เป็นโรงไฟฟ้าสองระบบ คือ ระบบสองวงจร และ Flash Steam

โรงไฟฟ้าระบบสองวงจรที่ Wendell-Amadee, California

โรงไฟฟ้าระบบสองวงจรที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ขนาด 300 กิโลวัตต์

โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพมีประโยชน์ในหลายๆรูปแบบ

ในสหรัฐอเมริการะหว่างปี 1980-1990 มีอัตราการเพิ่มของการผลิตไฟฟ้าจาก พลังงานความร้อนใต้พิภพมากที่สุดเมื่อรัฐกำหนดให้มีการผลิตไฟฟ้าอิสระได้

ในสหรัฐอเมริกา การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพมีมากกว่า 2,800 เมกะวัตต์ จ่ายไฟฟ้าให้ประชากรมากกว่า 4 ล้านคน

ทั่วโลกมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพผลิตไฟฟ้ามากกว่า 8,200 เมกะวัตต์ ใน 21 ประเทศ จ่ายไฟฟ้าให้ประชากรมากกว่า 60 ล้านคน ส่วนใหญ่ในประเทศกำลังพัฒนา

แสดงตำแหน่งของโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพทั่วโลก

ประเทศที่มีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพ ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก www.geotherm.org/PotentialReport.htm

การใช้ประโยชน์โดยตรง การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานความร้อนใต้พิภพค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ ในขณะที่มนุษย์รู้จักใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนโดยตรงมาเป็นเวลานานแล้ว ตั้งแต่ยุคต้นๆของมนุษย์

การใช้ประโยชน์โดยตรงจากพลังงานความร้อนใต้พิภพในรูปแบบต่างๆ

รูปวาดแสดงการใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนของชนพื้นเมืองในสหรัฐอเมริกา บางเผ่าจะถือว่าน้ำพุร้อนเป็นเขตอิสระและจะไม่ยอมให้มีการสู้รบกันในเขตดังกล่าว

ชาวเมารี ของประเทศนิวซีแลนด์ใช้น้ำพุร้อนสำหรับการหุงหาอาหาร และ ประโยชน์อื่นๆ ตั้งแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน

ชาวญี่ปุ่นในเมือง Beppu ใช้น้ำพุร้อนเพื่อให้ความอบอุ่นในอาคารและโรงงาน ในบริเวณนี้มีน้ำพุร้อนมากกว่า 4,000 แห่ง มีสถานอาบน้ำแร่มากมายและดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเที่ยวปีละมากกว่า 12 ล้านคน

ตัวอย่างลักษณะสระอาบน้ำแร่ที่ Hot Creek, Mammoth Lakes, California

ตัวอย่าง การใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนมาเพื่อทำสระน้ำอุ่นทั้งในร่มและกลางแจ้งในประเทศญี่ปุ่น อเมริกา ยุโรป การใช้ประโยชน์เช่นนี้มีมาตั้งแต่สมัยโรมัน

ในประเทศหนาว การใช้ประโยชน์จากน้ำพุร้อนมาให้ความอบอุ่นกับเรือนกระจก (Greenhouse) ทำให้พืชเจริญเติบโตได้ดี

ตัวอย่างเรือนกระจกที่ใช้ความร้อนจากน้ำพุร้อนที่ New Mexico

เรือนกระจกที่ได้รับความร้อนจากพลังงานความร้อนใต้พิภพสามารถปลูกพืชผลต่างๆได้เป็นอย่างดี

การใช้น้ำพุร้อนมาช่วยให้ความอบอุ่นแก่สระเลี้ยงปลาในประเทศหนาว ช่วยทำให้ปลาเจริญเติบโตได้ดี ที่ Mammoth Lake, California

อีกตัวอย่างของสระเลี้ยงปลาที่ได้ความอบอุ่นจากน้ำพุร้อน ที่ Imperial Valley, California

ภาพขยายของปลาจากบ่อดังกล่าว

ภาพขยายของกุ้งที่เลี้ยงในบ่อที่ได้รับความอบอุ่นจากพลังงานความร้อนใต้พิภพ ที่ GeoHeat Center, Oregon Institute of Technology

ฟาร์มจระเข้ที่ใช้น้ำพุร้อนช่วยในการให้ความอบอุ่น ที่ Idaho

การใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพในอุตสาหกรรม เช่นโรงงานอบแห้งหอมหัวใหญ่ที่ Brady, Nevada

การต่อท่อน้ำร้อนพลังงานความร้อนใต้พิภพใต้ทางเดินเท้า เพื่อไม่ให้น้ำจับตัวเป็นน้ำแข็ง และเป็นสาเหตุทำให้ทางเท้าลื่น ที่ Klamath Falls, Oregon

ความร้อนใต้พิภพสามารถนำมาให้ความอบอุ่นในบ้านเรือน อาคารสถานที่ต่างๆ เช่น ที่ Klamath Falls, Oregon (ภาพเครื่องเจาะบ่อน้ำร้อนติดตั้งบนรถบรรทุก)

ในประเทศหนาว น้ำร้อนจะถูกนำมาใช้ให้ความอบอุ่นในครัวเรือนและอาคารต่างๆ

ในระบบแลกเปลี่ยนความร้อน น้ำร้อนจากแหล่งพลังงานความร้อนใต้พิภพจะถ่ายเทความร้อนให้กับน้ำเย็นโดยไม่มีการผสมกัน น้ำที่ร้อนขึ้นก็จะส่งไปให้ความอบอุ่นตามอาคารบ้านเรือน

ระบบการถ่ายเทความร้อนในลักษณะเป็นแผ่น (Plate Type) น้ำร้อนจะถ่าย ความร้อนให้กับน้ำเย็นที่ไหลผ่านแผ่นดังกล่าว

ปั๊มน้ำเหล่านี้จะทำการปั๊มน้ำที่ร้อนขึ้นหลังจากได้รับการถ่ายเทความร้อนจากน้ำร้อนพลังงานความร้อนใต้พิภพแล้ว และส่งไปให้ความอบอุ่นตามอาคารบ้านเรือน

สภาพอากาศของ Reykjavik, Iceland เมื่อปี ค. ศ สภาพอากาศของ Reykjavik, Iceland เมื่อปี ค.ศ. 1932 ซึ่งขณะนั้นทั้งเมืองใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil fuels) ต้มน้ำเพื่อให้ความอบอุ่นในอาคาร

ปัจจุบัน 95 % ของ Reykjavik ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นตัวให้ความอบอุ่นในอาคาร ทำให้ Reykjavik เป็นเมืองที่มีอากาศสะอาดบริสุทธิ์มาก

ระบบทำความอบอุ่นในอาคารโดยพลังงานความร้อนใต้พิภพแห่งแรกในสหรัฐอเมริกา คือ เมือง Boise

Oregon Institute of Technology ใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพให้ความอบอุ่น

ข้อมูลการใช้ประโยชน์และศักยภาพที่จะใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพในการทำความอบอุ่นในอาคาร บริเวณภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา

ศักยภาพของพลังงานความร้อนใต้พิภพ และการใช้ประโยชน์ในการผลิตไฟฟ้า และการใช้ประโยชน์จากความร้อนโดยตรง ของสหรัฐอเมริกา

มีหลักฐานว่ามีการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพทำความอบอุ่นในอาคารในฝรั่งเศสมากว่า 600 ปีแล้ว ปัจจุบันมีการใช้ในประเทศ โปแลนด์ ฝรั่งเศส ฮังการี ไอซ์แลนด์ ตุรกี และสหรัฐอเมริกา

ปั๊มพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal Heat Pump) สามารถใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกแห่งบนโลก โดยไม่ต้องมีแหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพอยู่ คุณสมบัติที่เป็นฉนวนของเปลือกโลกช่วยทำให้มนุษย์อบอุ่นหรือเย็นสบายได้

ในหน้าหนาว เราสามารถปั๊มเอาความร้อนที่มีกักเก็บอยู่ใต้ดินลงไป ส่งผ่านเข้ามาทำความอบอุ่นภายในอาคารได้

ในหน้าร้อน เราสามารถปั๊มเอาความเย็นที่ถูกกักเก็บไว้ใต้ดินเข้ามาในอาคาร เกิดการแลกเปลี่ยนถ่ายเทเอาความร้อนที่มีอยู่ในอาคารออกไป ทำให้อาคารเย็นลงได้

รูปแบบต่างๆของการวางท่อนอกอาคาร ในท่อจะมีของเหลวอยู่ ในหน้าหนาวของเหลวนี้จะนำความร้อนจากใต้ดินเข้ามาทำความอบอุ่นในบ้าน ในหน้าร้อนของเหลวนี้ก็จะนำความเย็นเข้ามาถ่ายเทในบ้าน ทั้งหมดนี้โดยการทำงานของปั๊ม (Heat Pump)

ประโยชน์จากรูปแบบต่างๆของการใช้ Geothermal Heat Pump 95 % ของผู้ที่ติดตั้งระบบปั๊มดังกล่าวตอบว่ามีความพอใจและจะแนะนำให้คนอื่นๆติดตั้งด้วย

หน่วยงานทางด้านป้องกันสิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกาจัดลำดับให้ระบบปั๊มพลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นเทคโนโลยีที่ทำความอบอุ่นและทำความเย็นที่มีประสิทธิผลดีที่สุดระบบหนึ่งในบรรดาเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน

การใช้ประโยชน์จากพลังงานความร้อนใต้พิภพรูปแบบต่างๆในสหรัฐอเมริกา

ศักยภาพพลังงานความร้อนใต้พิภพของสหรัฐอเมริกา แหล่งกักเก็บพลังงานความร้อนใต้พิภพจะมีอยู่เฉพาะทางตะวันตกเพื่อการใช้ผลิตไฟฟ้าและใช้ความร้อนโดยตรง ในขณะที่ปั๊มพลังงานความร้อนใต้พิภพจะใช้ได้ทั่วทั้งประเทศ

พลังงานและสิ่งแวดล้อม ต้องถือเป็นความสำคัญอย่างยิ่งที่แหล่งพลังงานจะต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

โลกปัจจุบันอาศัยไฟฟ้าในการดำรงชีวิตเป็นอย่างมากและในเกือบทุกอย่าง

ปัจจุบันเราพึ่งพาแหล่งพลังงานที่มีอยู่มากและราคาไม่แพง อย่างไรก็ตามเราจะต้องอนุรักษ์ ต้องใช้พลังงานอย่างเต็มประสิทธิภาพ และเลือกใช้พลังงานอย่างหลากหลาย

สหรัฐอเมริกาใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากถ่านหินประมาณ 55 % และนำเข้าน้ำมันมากกว่าครึ่งของปริมาณที่ใช้

ผลกระทบของการใช้พลังงาน การผลิตและการใช้พลังงานสร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมมากกว่ากิจกรรมอื่นใดบนโลกในช่วงที่ไม่มีสงคราม

มลภาวะทางอากาศมีสาเหตุหลักมาจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ (Fossil Fuels) ก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพโดยเฉพาะในเด็กและในเขตเมืองใหญ่

แหล่งพลังงานที่สำคัญของสหรัฐอเมริกา คือ เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ได้แก่ น้ำมันดิบ (38%) ก๊าซธรรมชาติ (24%) และถ่านหิน (22%)

จะเกิดผลกระทบอะไรตามมาบ้าง ถ้าหากต้องใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ตามความต้องการพลังงานของโลกซึ่งเติบโตอย่างมหาศาล

การเติบโตของการบริโภคเชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ของโลก

การเพิ่มของคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศ

เปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาจากการใช้พลังงานชนิดต่างๆ

ในแต่ละปี เนื่องจากการใช้พลังงานความร้อนใต้พิภพผลิตไฟฟ้า แทนที่การใช้เชื้อเพลิงซากดึกดำบรรพ์ ทำให้ลดปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศได้ถึง 22 ตัน ลดไนโตรเจนออกไซด์ 200,000 ตัน และลดละอองฝุ่น 110,000 ตัน

Wind Energy Solar Energy Hydro Power Geothermal Energy เราสามารถเลือกใช้พลังงานที่สะอาดจาก พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และพลังงานความร้อนใต้พิภพ

ที่มาของข้อมูล