เตาไมโครเวฟ
เตาอบไมโครเวฟ ประกอบด้วย: แมกนีตรอน ส่วนควบคุมแมกนีตรอน (โดยทั่วไปใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ ) ท่อน้ำคลื่น หรือ เวฟไกด์ (waveguide) ช่องสำหรับอบอาหาร
เตาอบไมโครเวฟ ให้ความร้อนกับอาหารโดยการ แผ่คลื่นย่านความถี่ไมโครเวฟ โดยปกติจะใช้ ช่วงความถี่ 2450 เมกะเฮิรตซ์ (หรือ ความยาวคลื่น 12.24 เซนติเมตร) ผ่านเข้าไปในอาหาร. โมเลกุล ของน้ำ ไขมัน และ น้ำตาล ที่อยู่ในอาหารจะดูดซับพลังงานของคลื่นที่ผ่านเข้าไปและเกิดเป็นความร้อนขึ้น ในกระบวนการที่เรียกว่า การเกิดความร้อนในสารไดอีเล็กตริก (dielectric heating)
เนื่องจากโมเลกุลส่วนใหญ่นั้นเป็นโมเลกุลที่มีขั้วไฟฟ้า คือ มีประจุบวก และ ประจุลบที่ขั้วตรงกันข้าม เมื่อคลื่นไมโครเวฟ ซึ่งเป็นสนามไฟฟ้าผ่านเข้าไป โมเลกุลเหล่านี้ก็จะถูกเหนี่ยวนำและหมุนขั้วเพื่อปรับเรียงตัวตามสนาม สนามคลื่นไฟฟ้าของคลื่นนี้เป็นสนามที่เปลี่ยนแปลงสลับไปมาจึงส่งผลให้โมเลกุลเหล่านี้หมุนกลับไปมา ทำให้เกิดความร้อนขึ้น
ช่องสำหรับอบอาหารนั้นจะถูกล้อมไว้ด้วย ลูกกรงฟาราเดย์ เพื่อกักไม่ให้คลื่นหลุดลอดออกมาสู่ภายนอก ประดูตู้นั้นส่วนใหญ่จะเป็นกระจก ซึ่งจะมีชั้นที่เป็นลูกกรงทำด้วยสารตัวนำไฟฟ้าสำหรับกันคลื่น เนื่องจากข่ายลูกกรงนี้มีขนาดความกว้างของช่องเล็กกว่า ความยาวของคลื่น คือ 12 เซนติเมตร คลื่นไมโครเวฟจึงไม่สามารถลอดผ่านออกมาได้ ในขณะที่ แสงสว่างผ่านลอดออกมาได้เนื่องจาก แสงมีความยาวคลื่นที่สั้นกว่ามาก
การเลือกซื้อเตาอบไมโครเวฟ 1. เลือกซื้อเตาอบไมโครเวฟที่สามารถ อบเกรียม ละลายน้ำแข็ง และมีอุปกรณ์ตรวจวัดอุณหภูมิในอาหาร 2. เตาอบไมโครเวฟขนาดเล็กจะใช้พลังงานน้อย ให้เลือกซื้อเตาอบไมโครเวฟที่มีขนาดและขีดความสามารถสอดคล้องกับการใช้งาน 3. เตาอบไมโครเวฟที่สามารถทำให้อาหารร้อนและสุกเกรียมได้ จะดีกว่าเตาอบไมโครเวฟที่ทำให้ร้อนได้เพียงอย่างเดียว 4. แต่ถ้าหากความจุใกล้เคียงกัน ควรเลือกซื้อรุ่นกินกำลังไฟ(วัตต์) น้อยกว่า
ดูแลรักษาและใช้อย่างถูกวิธี อย่าวางเตาไมโครเวฟใกล้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ เช่น โทรทัศน์ หรือวิทยุ เพราะจะทำให้รบกวนระบบการทำงานของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น - ทำความสะอาดภายในเครื่องทุกครั้งหลังการใช้งาน (ขณะที่ไมโครเวฟหายร้อนแล้ว) เพราะเศษอาหารที่ติดตามผนังจะลดประสิทธิภาพของเตาอบไมโครเวฟลง และอาจเกิดประกายไฟได้ - ห้ามใช้ภาชนะที่เป็นโลหะใส่เข้าไปภายในไมโครเวฟขณะใช้งาน เนื่องจากโลหะไม่สามารถ ที่จะทำให้คลื่นของไมโครเวฟผ่านได้และก่อให้เกิดการสะท้อนของคลื่นไมโครเวฟภายในเครื่อง ซึ่งจะมีผลทำให้หัวเข็มของคลื่นไมโครเวฟชำรุดเสียหายได้
อย่าอุ่นหรือต้มในเตาไมโครเวฟนานเกินไป โดยเฉพาะของเหลวไม่ควรเกิน 2 นาที - ห้ามใช้พลาสติกห่ออาหารที่ปรุงในเตา ควรใช้พลาสติกที่ทำมาเฉพาะเพื่อใช้กับเตาไมโครเวฟ -- - อาหารบางชนิดเช่นไข่ทั้งฟอง เวลาจะใช้ปรุง ควรเจาะไข่แดงให้แตกเสียก่อนคลุมด้วยพลาสติก - ควรเจาะรูอาหารทุกชนิดที่มีเปลือกหุ้มหรือผิวไม่มีรูเพื่อให้ไอน้ำในอาหารระเหยง่าย ป้องกันการพองตัวและการระเบิดของอาหาร เช่น มันฝรั่ง ตับไก่ ไข่ - ห้ามอบหรืออุ่นสมุนไพรแห้งในเตา เนื่องจากอาจลุกติดไฟได้ง่าย - ควรใช้ที่หมุนด้านในเตาไมโครเวฟ เพื่อให้อาหารเหลวมีการเคลื่อนไหวและร้อนเร็วขึ้น
วิธีทำความสะอาด โดยใช้ผ้านุ่มชุบสบู่เหลวหรือน้ำยาล้างจานผสมน้ำอุ่นเช็ด หลีกเลี่ยงการใช้ฝอยขัด,แอลกอฮอล์หรือสารที่มีฤทธิ์เป็นกรด-ด่างในการทำความสะอาด - ควรตั้งเวลาให้สอดคล้องกับชนิดและปริมาณอาหาร - ควรใช้เตาไมโครเวฟเพื่อการอุ่นอาหาร ต้มน้ำเดือดปริมาณน้อย ละลายอาหารแช่แข็ง
ส่วนภาชนะที่ใช้กับเตาไมโครเวฟได้มีดังนี้ - คอร์นนิ่งแวร์หรือภาชนะที่ทำจากเม็ดพลาสติกหนา - แก้วทนความร้อนสูง - เครื่องกระเบื้องเคลือบดินเผาต่าง ๆ ไม่มีลวดลายโลหะตกแต่ง - พลาสติกทนความร้อนที่ใช้กับเตา - พลาสติกที่ใช้ห่ออาหารที่ทำมาโดยเฉพาะ - อะลูมิเนียมฟอยล์ ใช้ห่อได้บางชนิด แต่ไม่ควรมากเกินไปเพราะอาจทำให้เกิดประกายไฟได้ - กระดาษไข - จานแก้วหมุนพร้อมตัวรองจาน
ภาชนะที่ใช้กับเตาไมโครเวฟไม่ได้ - ชุดแก้วที่มีขอบลวดลายเป็นโลหะ - แก้วคริสตัล - เครืองครัวที่เป็นโลหะ
นางสาวเกศราภรณ์ ศิลปะขจร เลขที่ 4 ชั้น ปวส.2/1 การบัญชี จัดทำโดย นางสาวเกศราภรณ์ ศิลปะขจร เลขที่ 4 ชั้น ปวส.2/1 การบัญชี