สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และเทคโนโลยี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดย นายเกตพง ไชยเกตุ โรงเรียนบ้านหนองแคน
จุดประสงค์การเรียนรู้ เมนูหลัก จุดประสงค์การเรียนรู้ แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียน เข้าสู่บทเรียน ออกจากโปรแกรม
จุดประสงค์การเรียนรู้ นักเรียนสามารถ แยกแยะส่วนประกอบของปลาดุกได้ นักเรียนสามารถเลี้ยงปลาดุกได้ เข้าสู่บทเรียน ทดสอบก่อนเรียน เมนูหลัก ทดสอบหลังเรียน
การเลี้ยงปลาดุก จุดประสงค์ เมนูหลัก ปลาดุกเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด น้ำที่ค่อนข้างกร่อย หรือแม้แต่ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อย เพราะว่าปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจเช่นเดียวกับปลาช่อนจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อย ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งเป็นปลาน้ำจืดที่คนไทยนิยมรับประทาน ปลาดุกจะพบได้ทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆ ทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป ปลาดุกที่พบในประเทศไทยมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 5 ชนิดด้วยกัน แต่ที่เป็นที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดี เนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี ต่อไป จุดประสงค์ เมนูหลัก
ประมาณปลายปี พ.ศ. 2530 เกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งจากประเทศลาวเข้ามาเลี้ยงในประเทศไทย ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ (ปลาดุกยักษ์ หรือ ปลาดุกรัสเซีย) มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใตรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ต่อมานักวิชาการไทยได้ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมีย และปลาดุกยักษ์เพศผู้ ได้ปลาลูกผสมเรียกว่า ดุกอุยเทศ หรือ บิ๊กอุย ซึ่งผลที่ได้นั้นบิ๊กอุยเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีอัตราการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าปลาดุกชนิดอื่น ทั้งยังเป็นที่นิยมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก ทำให้ปัจจุบันปลาดุกบิ๊กอุยได้รับการนิยมและเข้ามาแทนที่ตลาดปลาดุกด้านไปโดยปริยาย ย้อนกลับ ต่อไป เมนูหลัก
ภาพที่ 1 เปรียบเทียบลักษณะหัวปลาดุก ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยปลาดุกอุยมีลักษณะโค้งมน (ซ้าย) ส่วนในปลาดุกด้านกระดูกท้ายแหลม (ขวา) ภาพที่ 2 เปรียบเทียบลักษณะปลาดุก, ก. แสดงความแตกต่างของลักษณะกระดูกท้ายทอยของปลาดุก 3 ชนิด (จากซ้ายไปขวา ปลาดุกด้าน ปลาดุกยักษ์ และปลาดุกอุย) ข. แสดงลักษณะของปลาดุกอุย (บน) ปลาดุกบิ๊กอุย (กลาง) และปลาดุกยักษ์ (ล่าง) ย้อนกลับ ต่อไป เมนูหลัก
โรคของปลาดุก มักเกิดจากปัญหาคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ซึ่งอาจเกิดจากการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เพราะปลาดุกมีนิสัยกินอาหารที่ให้ใหม่แล้วสำรอกอาหารเก่าทิ้ง ควรมีการเปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอในปริมาณ 20 -30 % ของน้ำในบ่อแล้วนำน้ำที่พักไว้เติมลงไปให้ได้ระดับเดิม เมื่อปลาเป็นโรคแล้วจะรักษาให้หายได้ยากและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดจึงควรป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยวิธีต่างๆดังนี้ 1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีที่เหมาะสมก่อนการปล่อยลูกปลา 2. ซื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ลูกปลาแข็งแรงปราศจากโรค 3. ไม่ควรปล่อยลูกปลาลงเลี้ยงหนาแน่นเกินไป 4. ควรหมั่นตรวจอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอ ถ้าเห็นผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว 5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ โดยเปลี่ยนถ่ายน้ำเก่าออกปริมาณ 20 – 30 % ของน้ำในบ่อ และนำน้ำที่พักไว้เติมลงไปให้ได้ระดับเดิม 6. อย่าให้อาหารจนเหลือ ให้ปริมาณพอดีในแต่ละมื้อ และระวังอย่าให้อาหารตกค้างในบ่อ แบบทดสอบ ย้อนกลับ เมนูหลัก
แบบทดสอบหลังเรียน จับคู่ 1 2 3 ปลาดุกด้าน ปลาดุกยักษ์ ปลาดุกอุย เมนูหลัก เข้าสู่บทเรียน
แบบทดสอบก่อนเรียน จับคู่ ข ก 1. ปลาดุกด้าน 2. ปลาดุกอุย เมนูหลัก เข้าสู่บทเรียน เมนูหลัก
แล้วพบกันใหม่นะครับ