กฎหมายเกี่ยวกับการขนส่ง ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดและลักษณะการบรรทุกวัตถุอันตรายที่ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถ ชนิดที่ 4 ลงวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2544
สรุปสาระสำคัญ ประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ให้เป็นไปตามประกาศกรมการขนส่งทางบกเรื่อง กำหนดประเภทหรือชนิดของวัตถุอันตราย ประกาศ ณ วันที่ 29 มีนาคม 2544 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2544 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ รถที่ใช้ขนส่งวัตถุอันตรายตามข้อ 1 ที่มีลักษณะการบรรทุกดังนี้ รถที่ใช้ขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ 4 (รถบรรทุกวัตถุอันตราย) ที่ถังบรรทุกมีความจุเกินกว่า 1,000 ลิตร รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของ ลักษณะ 6 (รถพ่วง) และลักษณะ 7 (รถกึ่งพ่วง) ที่ถังที่ใช้ในการบรรทุกเฉพาะวัตถุอันตราย มีความจุเกินกว่า 1,000 ลิตร รถที่ใช้ในการขนส่งสัตว์หรือสิ่งของลักษณะอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ในข้อ 2 ที่มีลักษณะการบรรทุกโดยนำไปใช้ในการบรรทุกวัตถุอันตรายดังนี้ วัตถุอันตรายประเภทที่ 1 (วัตถุระเบิด) ประเภทที่ 6 (สารพิษและสารติดเชื้อ) และประเภทที่ 7 (วัตถุกัมมันตรังสี) วัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซหรือก๊าซเหลวบรรจุในภาชนะ โดยมีปริมาณรวมกันไม่เกินกว่า 1,000 ลิตร หรือมีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า 1,000 กก.
สิ่งที่ต้องตรวจสอบและการนำไปปฏิบัติ วัตถุอันตรายที่เป็นของเหลวที่บรรจุในภาชนะ โดยมีปริมาณรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร หรือเป็นของแข็งที่มีน้ำหนักรวมกันเกินกว่า 1,000 กิโลกรัม หรือทั้งสองอย่างรวมกันเกินกว่า 1,000 ลิตร หรือเกินกว่า 1,000 กิโลกรัม อย่างใดอย่างหนึ่ง ประกาศนี้มิให้ใช้บังคับแก่ รถที่ใช้ในการบรรทุกเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ที่ภาชนะบรรจุเครื่องดื่มในแต่ละภาชนะมีปริมาตรไม่เกิน 250 ลิตร รถที่ใช้ลากจูงรถที่บรรทุกวัตถุอันตรายตามประกาศนี้ ในกรณีที่รถบรรทุกวัตถุอันตรายนั้นไม่สามารถใช้งานได้ตามปกติหรือเมื่อเกิดอุบัติเหตุ รถขนส่งวัตถุอันตรายอื่นนอกจากที่กำหนดไว้ใน ข้อ 1และข้อ 2 ที่ได้รับการยกเว้นตามคำแนะนำของสหประชาชาติว่าด้วยการขนส่งสินค้าอันตราย ที่ได้รับความเห็นชอบจากกรมการขนส่งทางบก
จบการนำเสนอ