การแทรกสอดของคลื่น การแทรกสอดของคลื่นเกิดขึ้นจากคลื่นตั้งแต่สองขบวน ขึ้นไปเคลื่อนที่มาพบกัน ทำให้เกิดการรวมกันของคลื่นได้ 2 แบบ คือ แบบหักล้างกันและแบบเสริมกัน
แหล่งกำเนิดอาพันธ์ คือ แหล่งกำเนิด 2 แหล่งที่ปล่อย คลื่นออกมามีความถี่ ความยาวคลื่น อัตราเร็ว และแอมพลิจูด เท่ากัน และมีเฟสตรงกันและต่างกันคงที่
ถ้าแหล่งกำเนิด S1 และ S2 เป็นแหล่งกำเนิดคลื่น อาพันธ์มีเฟสตรงกัน แนวตรงกลางจะเป็นคลื่นรวมแบบเสริม กัน เรียกว่า แนวปฏิบัพกลาง (A0) ถ้าแหล่งกำเนิด S1 และ S2 เป็นแหล่งกำเนิดคลื่น อาพันธ์มีเฟสตรงกันข้าม แนวตรงกลางจะเป็นแนวคลื่นรวม แบบหักล้างกัน เรียกว่าแนวบัพกลาง (N0)
การแทรกสอดแบบเสริมกัน เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นทั้งสองมารวมกันหรือ ท้องคลื่นมารวมกัน (เฟสตรงกันมาพบกัน) คลื่นลัพธ์ที่เกิดขึ้น จะมีสันสูงกว่าเดิม หรือท้องคลื่นลึกกว่าเดิม เรียกตำแหน่งนั้น ว่า ปฏิบัพ (Antinode , A)
การแทรกสอดแบบหักล้างกัน เป็นการแทรกสอดซึ่งสันคลื่นกับท้องคลื่นมารวมกัน (เฟส ตรงกันข้ามมาพบกัน) คลื่นลัพธ์จะมีสันคลื่นต่ำกว่าเดิม หรือท้อง คลื่นตื้นกว่าเดิม เรียกตำแหน่งนั้นว่า บัพ (Node , N)
เมื่อแหล่งกำเนิดมีเฟสตรงกัน แนวเสริมกัน (Antinode) แนวหักล้างกัน (Node) l S1P - S2P l = n l S1P - S2P l = (n - 𝟏 𝟐 ) d 𝐬𝐢𝐧 𝜽 = n d 𝒔𝒊𝒏 𝜽 = (n - 𝟏 𝟐 ) 𝒅𝒙 𝑫 = n เมื่อ n = 0,1,2,… 𝒅𝒙 𝑫 = (n - 𝟏 𝟐 ) เมื่อ n = 1,2,3,…
การเลี้ยวเบน (Diffraction of Wave) การเลี้ยวเบนเกิดขึ้นเมื่อคลื่นเคลื่อนที่ผ่านสิ่งกีดขวาง คลื่น บางส่วนจะสะท้อนกลับ อีกบางส่วนที่สามารถผ่านไปได้จะสามารถ แผ่จากขอบสิ่งกีดขวางเข้าไปที่ด้านหลังของสิ่งกีดขวาง คล้ายกับคลื่น เคลื่อนที่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางนั้นได้ เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า การ เลี้ยวเบน (คลื่นยังคงมีความยาวคลื่น ความถี่ และอัตราเร็วของคลื่น เท่าเดิม)
หลักการเลี้ยวเบน 1. ในการเลี้ยวเบนของคลื่น ความยาวคลื่น ความถี่ และอัตราเร็วยังคง เท่าเดิม 2. ถ้าเพิ่มความยาวคลื่นของคลื่นตกกระทบ จะเกิดการเลี้ยวเบนมาก ขึ้น 3. การเคลื่อนที่ของคลื่นผ่านช่องเปิด จะเกิดการเลี้ยวเบนมากยิ่งขึ้น ถ้าขนาดช่องเปิด (d) น้อยกว่าความยาวคลื่น ()
การอธิบายการเลี้ยวเบนโดยใช้ หลักการของฮอยเกนส์ ซึ่งกล่าวว่าแต่ละจุดบนหน้าคลื่นถือว่าเป็นแหล่งกำเนิดของ คลื่นใหม่ซึ่งทำให้เกิดคลื่น ซึ่งเคลื่อนที่ไปในทุกทิศทุกทางด้วย อัตราเร็วเท่ากับอัตราเร็วคลื่นเดิม