8.2.1 ไอออนในสารละลายกรด สารละลายกรดทุกชนิดมีไอออนที่เหมือนกันคือ H3O+ 8.2.1 ไอออนในสารละลายกรด สารละลายกรดทุกชนิดมีไอออนที่เหมือนกันคือ H3O+ ซึ่งเป็นไอออนที่แสดงสมบัติของกรด ทำให้สารละลายกรด เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีน้ำเงินเป็นสีแดง
8.2.2 ไอออนในสารละลายเบส สารละลายเบสทุกชนิดมีไอออนที่เหมือนกันคือ OH- ซึ่ง เป็นไอออนที่แสดงสมบัติของเบส ทำให้สารละลายเบส เปลี่ยนสีกระดาษลิตมัสสีแดงเป็นสีน้ำเงิน
8.3 ทฤษฏีกรด-เบส ทฤษฏีกรด – เบสอาร์เรเนียส กล่าวว่า กรดคือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮโดรเจนไอออน และเบสคือสารที่ละลายน้ำแล้วแตกตัวให้ไฮดรอกไซด์ไอออน ทฤษฏีกรด - เบสเบรินสเตด-ลาวรี กล่าวว่า กรดคือสารที่ให้โปรตอนแก่สารอื่น และเบสคือสารที่รับโปรตอนจากสารอื่น
ทฤษฏีกรด – เบสลิวอิส กล่าวว่า กรดคือสารที่รับคู่อิเล็กตรอนจากสารอื่น และเบสคือสารที่ให้คู่อิเล็กตรอนแก่สารอื่น ทฤษฏีกรด – เบสเบรินสเตด – ลาวรีใช้อธิบายสมบัติของกรด – เบสได้กว้างกว่าทฤษฏีกรด – เบสอาร์เรเนียส เพราะพิจารณาความเป็นกรด – เบสของสารจากการถ่ายโอนโปรตอน รวมทั้งไม่จำเป็นต้องอยู่ในสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย
ในปฏิกิริยาระหว่าง NH4Cl กับ H2O และ CH3COONa กับ H2O ตามทฤษฏีกรด – เบสเบรินสเตด-ลาวรี ทำให้ทราบว่า H2O สามารถให้และรับโปรตอนได้ จึงแสดงสมบัติเป็นได้ทั้งกรดและเบส การพิจารณาว่าสารใดจะเป็นกรดเป็นเบสต้องพิจารณาจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น นอกจาก H2O แล้วยังมีสารอื่นอีกที่ทำหน้าที่เป็นได้ทั้งกรดและเบส
8.4 คู่กรด - เบส