วงจรชีวิตของผีเสื้อ
วงจรชีวิตของผีเสื้อ ระยะที่ 1 ผสมพันธุ์ ระยะที่ 2 วางไข่ ระยะที่ 1 ผสมพันธุ์ ระยะที่ 2 วางไข่ ระยะที่ 5 โตเต็มวัย ระยะที่ 4 ดักแด้ ระยะที่ 3 ตัวหนอน
ผีเสื้อ ผีเสื้อ เป็นแมลงที่สวยงาม ผีเสื้อ มีหลากหลายพันธุ์มากกว่า 150,000 ชนิด และเป็นแมลงที่มีมากเป็นอันดับสองในบรรดาแมลงทั้งปวง ผีเสื้อที่เราพบเห็นทั่วไป มักมีสีสันและลวดลาย สวยงาม ภาษาอังกฤษเรียกว่า butterfly
ระยะที่ 1 ผสมพันธุ์ เมื่อผีเสื้อโตเต็มวัย จะมีการผสมพันธุ์เพื่อ ขยายพันธุ์ต่อไป
ระยะที่ 2 วางไข่ ผีเสื้อตัวเมียจะมองหาแหล่งวางไข่ อาจเป็นบนกิ่งไม้ ใบไม้ ใบหญ้า หรือพืชพรรณอื่นๆ ผีเสื้อ บางชนิดมักวางไข่บนพืชชนิดใดเพียงชนิดเดียว ในแต่ละปี
ระยะที่ 3 ตัวหนอน เพียงไม่กี่วัน ไข่จะค่อยๆ กลายเป็นตัวอ่อน มีลักษณะคล้ายหนอน ส่วนใหญ่สีเขียวหรือสีน้ำตาล ตัวอ่อน กินใบไม้ เป็นอาหาร เป็นช่วงวัยที่กินเก่งมาก เพื่อเก็บพลังงาน ไว้ในช่วงวัยถัดไป และลอกคราบหลายครั้งในระหว่างที่ โตวันโตคืน
ระยะที่ 4 ดักแด้ หนังหุ้มตัวอ่อนของผีเสื้อจะ แข็งขึ้นๆ จนกลายเป็นดักแด้ และ กลายเป็นผีเสื้ออยู่ภายในเกราะหุ้มแข็งๆ นั้นซึ่งเรียกว่าด้วงผีเสื้อ หรือเรียกรวมๆ ว่าดักแด้
ระยะที่ 5 โตเต็มวัย ตัวอ่อนของผีเสื้อ จะค่อยๆ คืบคลานออกจากด้วงและดักแด้ ขยับปีกช้าๆ เป็นประกายระยับ เมื่อปีกกางเต็มที่ ผีเสื้อจะบินและเริ่มแสวงหาดอกไม้ที่ตนจะดูดกินน้ำหวานจากเกสรดอกไม้นั้น