เทคโนโลยีชีวภาพ แก๊สชีวภาพ นำเสนอโดย 1. นายทรงศักดิ์ ศรีสันติสุข 2 เทคโนโลยีชีวภาพ แก๊สชีวภาพ นำเสนอโดย 1.นายทรงศักดิ์ ศรีสันติสุข 2. นางสาวกาญจนา เลพล คณะบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
แก๊สชีวภาพคืออะไร แก๊สชีวภาพ คือกลุ่มแก๊สที่เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุ เช่นคน สัตว์ พืชและสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆ ที่ตายลงแล้วถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์(สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมาก)กลุ่มหนึ่ง โดยจุลินทรีย์กลุ่มนี้มีชีวิตอยู่ได้โดยไม่ต้องอาศัยออกซิเจน
อะไรบ้างที่นำมาผลิตเป็นแก๊สชีวภาพได้ อินทรีย์วัตถุทุกชนิดที่เน่าเปื่อยได้สามารถนำมาผลิตเป็นแก๊สชีวภาพได้ทั้งสิ้นแต่จะได้จำนวนแก๊สมากหรือน้อยและจะเกิดแก๊สยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับอินทรีย์วัตถุชนิดนั้นว่าเป็นอะไร พืชสด มูลสัตว์ น้ำเสีย
ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการผลิตแก๊ส 1. ชนิดและขนาดของอินทรีย์วัตถุหรือวัตถุดิบที่เราใช้ ถ้าผ่านการย่อยมาก่อนแล้วเช่นมูลสัตว์จะทำให้เกิดแก๊สได้ง่ายและมีปริมาณแก๊สมากกว่า 2. อุณหภูมิเป็นตัวช่วยเร่งให้เกิดแก๊สเร็วขึ้นถ้าอุณหภูมิต่ำจุลินทรีย์จะเจริญเติบโตช้าหรือหยุดการเจริญเติบโตทำให้เกิดแก๊สน้อยหรือไม่เกิดแก๊สเลยดังนั้นบ่อแก๊สที่ดีจะต้องมีแสงแดดส่องถึง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลในการผลิตแก๊ส 3. ความเป็นกรดเป็นด่างภายในบ่อแก๊สถ้าเกิดความเป็นด่างมากจุลินทรีย์จะตายค่าของความเป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมคือ 6.6-7.6 ph 4 . แบบและชนิดของบ่อแก๊ส 5 . สารเคมีบางอย่าง เช่น ผงซักฟอก ยาฆ่าแมลง จะยับยั้งการเติบโตของจุลินทรีย์
สรุป แก๊สชีวภาพคือแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของ อินทรียวัตถุในสภาพไร้ออกซิเจน ตารางกลุ่มแก๊สที่เกิดจากการย่อยสลายของอินทรีย์วัตถุ
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแก๊สชีวภาพ 1. มูลสัตว์ ต้องมีปริมาณเพียงพอ การเติมต้องมีความสม่ำเสมอ 2. อาหารที่สัตว์กิน ถ้าเป็นอาหารสำเร็จรูปจะทำให้เกิดแก๊สดีกว่า อาหารจำพวกพืชผักเพียงอย่างเดียว 3. เวลา ระยะเวลาการหมักและย่อยของมูลสัตว์ที่เหมาะสม จะอยู่ระหว่าง 20 -30 วัน
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดแก๊สชีวภาพ 4. การกวน ควรจะทำเป็นครั้งคราวเพื่อช่วยให้มูลสัตว์ผสมกันให้ดีขึ้นและสม่ำเสมอ จะทำให้การเกิดแก๊สมากขึ้น หรือการตกตะกอนในบ่อหมัก 5. สารเคมี อาจเป็นพิษต่อแบคทีเรียทีย่อยสลายมูลสัตว์ 6. อุณหภูมิ ต้องพอเหมาะ แบคทีเรียจะเจริญเติบโตได้ดีทีอุณหภูมิ 37 องศา 7. ความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 6.6-7.6 ถ้าต่ำกว่านี้แบคทีเรียจะหยุดทำงาน ทำให้ไม่เกิดแก๊ส
ขั้นตอนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ( ขั้นตอนการเกิดก๊าซชีวภาพ ) ขั้นตอนการย่อยสลายสารอินทรีย์ ( ขั้นตอนการเกิดก๊าซชีวภาพ )
แบบและชนิดของบ่อแก๊สชีวภาพ 1. แบบโดมคงที่ ( fixed dome digester ) ลักษณะโดยทั่วไปจะมีลักษณะเป็นทรงกลมฝังอยู่ใต้ดิน ส่วนที่กักเก็บแก๊สมีลักษณะเป็นโดม แบบนี้เหมาะสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ขนาดเล็ก
แบบและชนิดของบ่อแก๊สชีวภาพ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมูฝังในดิน ส่วนที่ใช้เก็บแก๊สจะใช้ผ้าพลาสติกที่เรียกว่า red-mud-plastic คลุมส่วนบนของบ่อหมักไว้
แบบและชนิดของบ่อแก๊สชีวภาพ 3. แบบไฮฟี (HIPHI) ระบบการกำจัดของเสียแบบไฮฟี (HYPHI) ระบบนี้ออกแบบขึ้นมาเพื่อกำจัดของเสียจากฟาร์มสุกรระดับกลางถึงระดับใหญ่หรือฟาร์มขนาด ประมาณ 1,500 ตัว โดย
การบำรุงดูแลรักษา หมั่นตรวจสอบเครื่องยนต์โดยการตรวจเช็คน้ำมันเครื่อง หัวเทียน ท่อนำแก๊ส และพยายามทำความสะอาดที่เก็บแก๊สอยู่เสมอ ถ้าหากพบว่าปริมาณแก๊สน้อยลงในขณะที่เติมมูลสัตว์ทุกวัน แสดงว่า มีกากที่เหลือจากการหมักอยู่ก้นบ่อ ให้ทำการรื้อบ่อเอากากส่วนนี้ออก
ประโยชน์ของแก๊สชีวภาพ 1. ประโยชน์ด้านสิ่งแวดล้อม 2. ประโยชน์ด้านพลังงาน 3.ประโยชน์ด้านการเกษตร 3.1 การทำปุ๋ย 3.2 การทำเป็นอาหารสัตว์
ผลเสียเมื่อปล่อยก๊าซชีวภาพทิ้งสู่บรรยากาศ เนื่องจากก๊าซชีวภาพมีส่วนประกอบหลักเป็นก๊าซมีเทนซึ่งเป็นก๊าซที่ร่วม ก่อภาวะเรือนกระจกที่ให้ผลรุนแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ประมาณ 25 เท่า ดังนั้น หากปล่อยก๊าซชีวภาพทิ้งสู่บรรยากาศจะเป็นการเพิ่มอัตราการเกิดภาวะเรือนกระจกหรือเร่งให้โลก มีอุณหภูมิสูงมากขึ้น
แนวโน้มในอนาคต ในสภาวะโลกปัจจุบันปัญหาของการขาดแคลนพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันรุนแรงมากขึ้นทุกขณะหลายประเทศมองหาเทคโนโลยีใหม่ๆในการผลิตพลังงานเพื่อมาทดแทนน้ำมัน พลังงาน ชีวมวลเป็นพลังงานชนิดหนึ่งที่หลายประเทศให้ความสนใจค้นคว้าวิจัยและพัฒนา โดยเฉพาะแก๊สชีวภาพปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจวิเคราะห์วิจัยกันอย่างแพร่หลายทั้งนี้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อมนุษย์นั่นเอง