บทที่ 3 แรงจูงใจและความต้องการ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
ชีววิทยา (Biology) มัธยมศึกษาตอนต้น.
Advertisements

สุดยอดเทคนิค (คำแนะนำ) ของฉัน
ผู้นำ การจูงใจ การจูงใจคืออะไร
การสังเกต อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์.
การสร้างแรงจูงใจในชีวิต ภาควิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
เรื่องไตรสิขาพัฒนาสุขภาพจิต
ทักษะและเทคนิคการสอน Teaching Skills and Techniques
จิตวิทยาการบริหารทีมงาน
หัวใจของแผน HRD หัวใจของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
การปรับตัวและการเลือกคู่ครอง
สัปดาห์ที่ 5 เรื่อง การจูงใจ.
สัปดาห์ที่ 3 เรื่อง พฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลง
พฤติกรรม เบี่ยงเบนทางเพศ.
การดูแลการเจริญ เติบโต ในวัยรุ่น
วิชา สุขศึกษาและพลศึกษา ป.1 เรื่อง การเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกาย
พัฒนาการทางสังคมของวัยรุ่น
อารมณ์และความต้องการของวัยรุ่น
เรื่อง อารมณ์ในวัยเด็ก
ความหมาย ประโยชน์ ลักษณะของทีม
อารมณ์ (Emotion) จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
บทที่ 3: แรงจูงใจ (อ.ชมพูนุท ศรีจันทร์นิล)
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ใช้
มนุษย์จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ ก็เพราะการรู้จักเลือกประกอบกิจกรรมนันทนาการ สรุปเนื้อหาสาระจาก นันทนาการและการจัดการ พีระพงศ์ บุญศิริ
การพัฒนาบุคลิกภาพภายใน
เพื่อเป็นการทำความเข้าใจตนเองและผู้อื่น พื้นฐานในการสร้างมนุษยสัมพันธ์
มนุษย์ มนุษย์เป็นสัตว์สังคม มนุษย์เป็นสัตว์โลก มนุษย์เป็นสัตว์ประเสริฐ
กระบวนในการชักจูงใจ.
มนุษย์สัมพันธ์ ในการทำงานเป็นทีม
คุณภาพชีวิต.
กลุ่มในองค์การ Group in Organization
การจูงใจ (Motivation)
สุขภาพจิต และการปรับตัว
บทที่ 3 แรงจูงใจในการทำงาน.
ขวัญในงานธุรกิจอุตสาหกรรม
การวัดและประเมินผลตามสภาพจริง
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา
คัชชาตา เจริญวงค์ นักจิตวิทยาคลินิก ศูนย์สุขภาพจิตที่ 4 กรมสุขภาพจิต
(Organizational Behaviors)
(Individual and Organizational)
บทที่ 12 การเปลี่ยนแปลง และการพัฒนาองค์การ.
ความขัดแย้งและการเจรจาต่อรอง (Conflict and Negotiation)
สิ่งที่จะเรียนรู้ในวันนี้
ความต้องการของวัยรุ่น และ การให้คำปรึกษาวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
เทคนิคการสร้างเสริมเด็กวัยเรียน
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
วัยรุ่นกับปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ GHUM 1103
บุคลิกภาพกับการเป็นผู้นำที่มีจิตสำนึก
บทที่ 4 การศึกษาตนเอง By chotika thamviset.
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
การจูงใจ(Motivation)
พลัง อึด ฮึด สู้ อึด...ทนต่อแรงกดดัน วิธีการ : คิดเชิงบวก ควบคุม อารมณ์ ลดความเครียด คลายอารมณ์ ฮึด...มีกำลังใจวิธีการ : self talk , ขอจากคนอื่น , แรงศรัทธา.
เทคนิคการให้คำปรึกษาวัยรุ่น
Cognitive of Depressive Disorder
นางนวธัญย์พร ศรีจันทร์ พยาบาลวิชาชีพ ชำนาญการ
หลักสตรูแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน 2551
การรักษาและดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะบกพร่องทางจิต
ธรรมชาติของเด็กวัยเรียน พัฒนาการเด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี)
เรื่อง การปฏิบัติตนในวัยรุ่น
ความแตกต่างระหว่างวัยรุ่นชายและวันรุ่นหญิง
จัดทำโดย ปฏิภาณ ไชยกุล อดิศร สุดดวง
การสื่อสารด้วยใจคลายวิกฤต
นางสาวนิตย์ติญา ดวงใจ พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์
ผลกระทบของปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนวัยอันควร
ทฤษฎีการให้คำปรึกษาเชิงจิตวิเคราะห์Psychoanalysis
อิทธิพลของฮอร์โมนเพศ
พฤติกรรมผู้ซื้อองค์การ
Theories of Innovation and Information Technology for Learning
วิชา หลักการตลาด บทที่ 5
ใบสำเนางานนำเสนอ:

บทที่ 3 แรงจูงใจและความต้องการ อาจารย์บรรพต พิจิตรกำเนิด

แรงจูงใจ : ต้นกำเนิดแห่งพฤติกรรม ความหมายของแรงจูงใจและการจูงใจ แรงจูงใจ (motive) หมายถึง แรงผลักดัน หรือสิ่งกระตุ้นให้บุคคล มุ่งแสดงพฤติกรรม อย่างใดอย่างหนึ่งออกมา เพื่อตอบสนอง ความต้องการหรือจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้

การจูงใจ (motivation) หมายถึง กระบวนการที่บุคคล ถูกกระตุ้นจากปัจจัยต่างๆ ทำให้ เกิดแรงผลักดันให้แสดงพฤติกรรม ออกมาเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ตามที่ผู้ทำการชักจูงใจกำหนด

* พฤติกรรมของมนุษย์ จะเกิดขึ้นเนื่องจากมีแรงจูงใจ บางอย่างเร้าให้บุคคลมุ่งไปสู่เป้าหมายนั้น (ยกเว้น พฤติกรรมที่เกิดจากปฏิกิริยาสะท้อน) และเมื่อถูกจูงใจ จะมีความกระตือรือร้น ขวนขวายที่จะทำกิจกรรมนั้นๆ เพื่อไปยังเป้าหมายที่คิดเอาไว้ * เป้าหมายบางทีเรียกว่ารางวัล (reward) * บางทีอาจเกิดเป้าหมายใหม่ขึ้นได้

* พฤติกรรมที่ถูกกระตุ้นหรือถูกเร้าให้แสดงออกมาเรียกว่าพฤติกรรมที่ถูกจูงใจ ซึ่งจะแสดงออกมา 3 ลักษณะ 1. มีพลัง แสดงออกด้วยกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่งในลักษณะที่เป็นการเพิ่มพลัง 2. มีทิศทาง ต้องมุ่งไปทางใดทางหนึ่ง 3. การดำรงไว้ เป็นการรักษาระดับของพฤติกรรมให้ดำรงอยู่

* สิ่งที่จะมาเร้าหรือผลักดันให้เกิดพฤติกรรมต่างๆขึ้นมาได้นั้นต้องเป็นสิ่งที่จะทำให้บุคคลเกิดความต้องการและเกิดความสนใจอาจเป็นสิ่งเร้าภายนอกที่มาล่อหรือสิ่งเร้าภายใน * การจูงใจเป็นกระบวนการที่ไม่อยู่นิ่ง เกิดต่อเนื่องเป็นวัฏจักร

ทฤษฎีแรงจูงใจ 1. พฤติกรรมนิยม 2. ปัญญานิยม 3. การเรียนรู้ทางสังคม

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (แรงขับ) มีความต้องการ ไม่พอใจ พอใจ แรงขับ (drives) แรงขับ (ลดลง) กำหนดเป้าหมาย ได้รับการตอบสนอง แสดงพฤติกรรม

มีความต้องการ หากขอพร ได้ 3 อย่าง จะขออะไร ??? 1. ........................................................ 2. ........................................................ 3. ........................................................ เกิดความต้องการ

ความต้องการ * กระบวนการจูงใจจะเกิดขึ้นตลอดเวลาเนื่องจาก ร่างกายมีความต้องการและแรงขับ * ความต้องการเกิดจากความขาดแคลนภายในร่างกาย ทำให้ร่างกายขาดความสมดุลย์

ความต้องการแบ่งเป็น 2 ประเภท ความต้องการแบ่งเป็น 2 ประเภท 1. ความต้องการทางด้านร่างกาย เป็นความต้องการที่มีพลังผลักดันทางร่างกาย ได้แก่ ความต้องการ เพื่อให้อวัยวะภายในร่างกายทำงานตามปกติ หรืออยู่ในภาวะ สมดุล์ เช่น ความต้องการอาหาร น้ำ อากาศ การพักผ่อนนอนหลับ การขับถ่าย การออกกำลังกาย ความต้องการทางเพศ ความต้องการการเคลื่อนไหว

2. ความต้องการทางด้านจิตใจและสังคม เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นภายในจิตใจและอารมณ์ ได้แก่ ความต้องการความปลอดภัย ความรักความอบอุ่น การ ยอมรับนับถือ ความสำเร็จ ความต้องการ ให้สังคมยอมรับ ความต้องการเกียรติยศ ชื่อเสียง

ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs Theory) การเข้าใจตนเอง (Self Actualization) ได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs) ความรักและความเป็นเจ้าของ (Belongingness and love needs) ความปลอดภัย (Safety needs) ทางด้านร่างกาย (Physiological needs)

สาระสำคัญของทฤษฎีลำดับขั้น ความต้องการของมาสโลว์ 1. ความต้องการของบุคคลจัดลำดับความสำคัญจากต่ำสุด ไปสู่ระดับสูงสุด 2. เมื่อความต้องการอย่างหนึ่งได้รับการตอบสนอง ความต้องการนั้นจะลดความสำคัญลง แต่จะเกิดความ ต้องการอย่างอื่นเข้ามาแทนที่

3. เมื่อความต้องการระดับต่ำได้รับ การตอบสนองแล้ว จะเกิดความต้องการในระดับที่สูงขึ้น 4. ความต้องการยิ่งอยู่ในระดับสูงความรีบด่วนที่จะตอบสนองเพื่อคงชีวิตอยู่จะยิ่งน้อยลง เลื่อนระยะเวลาออกไปได้มาก และมีโอกาสหายไปได้ง่าย 5. ความต้องการต่างๆในแต่ละระดับจะเกี่ยวเนื่อง และเหลื่อมล้ำกัน

มีความต้องการ หมายถึง สภาพเร้าอันเกิดจากความต้องการภายในตัวอินทรีย์ ทำให้เกิดกิจกรรมต่างๆ เช่น ความหิว แรงขับ (drives) * ความต้องการและแรงขับเกิดควบคู่กันเสมอ ถ้าความต้องการมีมาก แต่แรงขับไม่ได้สูงตามไปด้วย พฤติกรรมจะไม่เกิด

ประเภทของแรงขับ 1. แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) 2. แรงขับทุติยภูมิ 1. แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) 2. แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive)

(Physiological drive) 1. แรงขับปฐมภูมิ (Primary Drive) 1.1 แรงขับทางด้านสรีระ (Physiological drive) 1.2 แรงขับทั่วไป (General drive)

1.1 แรงขับทางด้านสรีระ (Physiological drive) * เกิดจากความต้องการของร่างกายหรือสภาวะภายในร่างกาย ถ้าร่างกายขาดแคลน เสียสมดุลย์ จะเกิดความต้องการและแรงขับขึ้นเพื่อกระตุ้นให้แสดงพฤติกรรมบางอย่าง เพื่อทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะสมดุลย์เรียกว่า “โฮมิโอสแตซิส” (Homiostasis)

แรงขับทางด้านสรีระ ได้แก่ แรงขับทางด้านสรีระ ได้แก่ (ก) ความอุ่น ความเย็นและความเจ็บปวดอวัยวะรับสัมผัส จะรับความอุ่น ความเย็นและความเจ็บปวด ส่งไปยังสมอง ส่วนไฮโปทาลามัส ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของ ร่างกายทั้งหมด และมีปฏิกิริยาโดยตรงกับอุณหภูมิของ เลือดที่ไหลผ่านไป ดังนั้นอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงสมองจะ สั่งให้ร่างกายแสดงพฤติกรรม

(ข) ความหิว เกิดจากการขาดสารเคมีบางอย่างในเลือด ทำให้กระเพาะอาหารหดตัว รู้สึกเจ็บแสบในกระเพาะอาหาร (ค) ความกระหาย เกิดจากปริมาณน้ำของเซลล์ในร่างกายลดลง โดยเฉพาะที่ไฮโปทาลามัสมีนิวโรนกลุ่มหนึ่ง ที่เร็วต่อการสูญเสียน้ำของร่างกายส่งกระแสความรู้สึกไปยังสมองทำให้รู้สึกกระหายน้ำ

(ง) การนอนหลับ เป็นแรงขับที่ต้องการให้อยู่เฉยๆ ให้ร่างกายซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และขจัดความเมื่อยล้า (จ) แรงขับทางเพศ มีองค์ประกอบ 2 ประการคือ 1) ฮอร์โมนเพศ ต่อมเพศ (Gonad gland) ในเพศชายอัณฑะจะสร้างฮอร์โมนเพศเรียกว่าแอนโดรเจน และรังไข่ ในเพศหญิงจะสร้างเอสโตรเจนฮอร์โมนทั้งสองทำหน้าที่พัฒนาลักษณะ ทุติยภูมิทางเพศ 2) การเรียนรู้

(ฉ) แรงขับในการเป็นแม่ ได้รับอิทธิพลจากฮอร์โมนโปรแลคตินที่ต่อมพิทูอิทารีหลั่งออกมาขณะตั้งครรภ์ และหลังจากคลอดแล้วทำให้แม่มีความต้องการปกปัก รักษาลูก หรือเตรียมตัวเพื่อที่จะเลี้ยงลูก

1.2 แรงขับทั่วไป เป็นแรงจูงใจทางจิตวิทยา หรือแรงจูงใจที่เกิดจากความต้องการพื้นฐานทางจิตใจ ได้แก่ (ก) การประกอบกิจกรรมธรรมชาติของสัตว์มีการเคลื่อนไหวและโต้ตอบต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา (ข) ความอยากรู้อยากเห็นความสนใจในสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ซึ่งความสนใจนั้นจะเร้าให้เกิดพฤติกรรม

(ค) การจับต้อง เป็นแรงขับที่จะหยิบฉวย จับต้องทำโน่นทำนี่กับวัตถุหรือสิ่งของ (ง) ความกลัว จะเร้าให้คนหรือสัตว์พยายามหลีกหนีจากสภาพการณ์หรือวัตถุที่ทำให้เกิดความกลัว ความกลัวส่วนใหญ่เกิดจากการเรียนรู้ (จ) ความรัก เป็นแรงขับที่มีพลังมากต่อพฤติกรรมของมนุษย์ เกิดขึ้นได้เองตามวุฒิภาวะหรือเกิดจากการเรียนรู้

2. แรงขับทุติยภูมิ (Secondary Drive) * เป็นแรงขับที่เกิดจากการเรียนรู้เรียกว่าแรงจูงใจทางสังคม ได้แก่ (ก) ความผูกพันกับบุคคลอื่น (ข) การเป็นที่ยอมรับของสังคม (ค) ฐานะตำแหน่ง (ง) ความรู้สึกมั่นคง (จ) ความสำเร็จ (ฉ) ความเป็นอิสระ

มีความต้องการ แรงขับ (drives) กำหนดเป้าหมาย โดยปกติจะเกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อเกิดความต้องการ สมองจะสั่งการกำหนดเป้าหมายขึ้นทันที แต่เป้าหมายอาจเป็นระยะสั้น หรือระยะยาว ต่างกัน

เป้าหมายที่ถูกกระตุ้น เรียกว่า พฤติกรรมถูกจูงใจ จะแสดงออกมาตามความต้องการ ด้วยวิธีการต่างๆ ขึ้นอยู่กับสภาวะแรงขับของแต่ละบุคคล (ไม่เหมือนกัน) มีความต้องการ แรงขับ (drives) กำหนดเป้าหมาย แสดงพฤติกรรม

เมื่อความต้องการได้รับการตอบสนอง แรงขับที่เคยมีก็จะลดลง (ซึ่งอาจเกิดความต้องการสิ่งใหม่ต่อไป) มีความต้องการ แรงขับ (drives) แต่หากความต้องการยังไม่ได้รับการตอบสนอง แรงขับก็จะไม่ลด (ซึ่งอาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมใหม่ๆ ที่จะทำให้ได้ตามความต้องการ) กำหนดเป้าหมาย แสดงพฤติกรรม แรงขับ (ลดลง)

ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (แรงขับ) แรงขับ (drives) มีความต้องการ กำหนดเป้าหมาย แรงขับ (ลดลง) ไม่พอใจ ได้รับการตอบสนอง แสดงพฤติกรรม พอใจ มีความต้องการ ไม่พอใจ พอใจ แรงขับ (drives) แรงขับ (ลดลง) กำหนดเป้าหมาย ได้รับการตอบสนอง แสดงพฤติกรรม

ทฤษฎีปัญญานิยม ของ Chomsky เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ เกิดขึ้นจากจิตใจ ความคิด และความรู้สึกที่มีความแตกต่างกัน พฤติกรรมที่แสดงออกนั้น มีความเชื่อมโยงกัน ความเข้าใจ การรับรู้ การระลึก ประสบการณ์ การคิดอย่างมีเหตุผล การตัดสินใจ การแก้ปัญหา การสร้างจิตนาการ การจัดกลุ่มสิ่งของ และการตีความ จึงควรต้องคำนึงถึงแตกต่างด้านความคิด ความรู้สึก และโครงสร้างการรับรู้ด้วย นักทฤษฎีกลุ่มปัญญานิยม มีแนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ว่าการเรียนเป็นการผสมผสานข้อมูลข่าวสารเดิมร่วมกับข้อมูลข่าวสารใหม่เข้าด้วยกัน

ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม ของ Bandara เชื่อว่าพฤติกรรมมนุษย์ นอกเหนือจากปฏิกิริยาสะท้อนเบื้องต้นแล้ว เกิดจากการเรียนรู้ทั้งสิ้น และการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่เหล่านั้นสามารถเรียนรู้ได้โดยประสบการณ์ตรงหรือไม่ก็โดยการสังเกต องค์ประกอบทางชีววิทยามีบทบาทสำคัญในกระบวนการเรียนรู้โดยพฤติกรรม กล่าวคือองค์ประกอบในตัวบุคคลมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้พฤติกรรมในการอธิบายกระบวนการเกิดพฤติกรรมของมนุษย์

องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม องค์ประกอบส่วนบุคคล องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม พฤติกรรม

การจูงใจ

องค์ประกอบของการจูงใจ 1. ภาวะที่กำลังถูกเร้า ได้แก่ ความต้องการ แรงขับหรือแรงจูงใจ 2. พฤติกรรมที่ถูกจูงใจ เกิดขึ้นเพราะถูกเร้า 3. ภาวะที่อินทรีย์ไปสู่เป้าหมายทำให้เกิดความพึงพอใจและสภาพการเร้าลดลง

ลักษณะของการจูงใจ 1. การจูงใจภายใน (intrinsic motivation) เป็นสภาวะที่บุคคลต้องการที่จะกระทำ หรือเรียนรู้บางสิ่งบางอย่างด้วยตนเองโดยไม่ต้องอาศัยการชักจูงจากสิ่งเร้าภายนอก ได้แก่ ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด ความสนใจ หรือเจตคติของแต่ละบุคคล

2. การจูงใจภายนอก (extrinsic motivation) เป็นสภาวะที่บุคคลรับการกระตุ้นจากสิ่งเร้าภายนอก เร้าให้เกิดความต้องการ และแสดงพฤติกรรมไปสู่เป้าหมายนั้น ได้แก่ การเสริมแรงด้วยสิ่งล่อใจ รางวัล

การจูงใจในมนุษย์ * แรงจูงใจที่สามารถเร้าให้แสดงพฤติกรรมออกมา เรียกว่าตัวเร้าแรงจูงใจ (motivational arousal) * แรงจูงใจที่ไม่สามารถเร้าให้แสดงพฤติกรรมออกมา เรียกว่า แรงจูงใจแฝง (motivational disposition)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับเรื่องแรงจูงใจ จากพฤติกรรมที่แสดงออกมา 1. การแสดงออกของแรงจูงใจแต่ละคนจะแตกต่างกันไปตามการเรียนรู้ ประสบการณ์ 2. แรงจูงใจอย่างเดียวกัน อาจทำให้แสดงพฤติกรรมต่างกัน

3. แรงจูงใจต่างกัน อาจทำให้บุคคลแสดงออกมาเหมือนกัน 4. แรงจูงใจหลายอย่างแสดงออกมาในรูปปลอมแปลงได้ ได้แก่ การแสดงออกมาในรูปความฝัน อาการทางประสาท 5. พฤติกรรมที่แสดงออกมาในขณะหนึ่งอาจเกิดจากแรงจูงใจหลายๆอย่าง

ทฤษฎีการจูงใจ ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hierarchy of Needs Theory) ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ ทฤษฎีพฤติกรรม ทฤษฎีการรู้การคิด ทฤษฎีแรงขับ

ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ * ซิกมันด์ ฟรอยด์ กล่าวว่า แรงจูงใจของคนเป็น แรงจูงใจไร้สำนึก (Unconscious motivation) * ฟรอยด์เชื่อว่าพฤติกรรมทั้งหมดที่บุคคลแสดงออก มาจากสัญชาตญาณ แรงขับ (instrinctual drive)

สัญชาตญาณแรงขับ (instinctual drive) มี 2 ประเภท 1. สัญชาตญาณแห่งการมีชีวิตอยู่ (life instinct) เป็นตัวกระตุ้นให้บุคคลได้พัฒนาและเจริญเติบโต 2. สัญชาตญาณแห่งความตาย (dead instinct) กระตุ้นให้บุคคลแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวนำไปสู่การทำลายตนเองหรือบุคคลอื่น

“ฟรอยด์” เชื่อว่ามนุษย์มีแรงขับ 2 ประการคือ “ฟรอยด์” เชื่อว่ามนุษย์มีแรงขับ 2 ประการคือ 1. ความต้องการทางเพศ เป็นแรงผลักดันขั้นมูลฐานของพฤติกรรมทุกอย่าง ทำให้คนเราทำกิจกรรมที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจ หรือบางครั้งเกิดความวิตกกังวล ซึ่งเกิดจากความพยายามที่จะระงับไว้ * แรงจูงใจทางเพศทำให้เกิดพฤติกรรมทางเพศที่ให้ความพอใจทางร่างกายและเป็นแรงจูงใจทางสังคมที่ทำให้เกิดความผูกพัน ความรักและการสืบพันธุ์มนุษย์

2. ความก้าวร้าว เป็นแรงจูงใจที่รุนแรงมาก เพื่อปกป้องสิ่งที่ไม่ถูกใจ * การได้เห็นคนอื่นบาดเจ็บแล้วเกิดความรู้สึกสุขใจ เรียกว่า ซาดิสม์ (sadism) * ตนเองถูกทำให้เจ็บช้ำ หรือชอบทำให้ตนเองทุกข์ทรมาน เรียกว่า มาโซคิสม์ (masochism)

* แรงจูงใจทางเพศและความก้าวร้าวเกิดมาตั้งแต่เด็ก ทางเพศจะจับต้องลูบคลำบริเวณที่อ่อนไหวของร่างกาย ความก้าวร้าวแสดงออกโดยการถีบและกัด เมื่อเติบโตพ่อแม่ห้ามปรามเด็กจะเก็บกดไว้ในจิตไร้สำนึก และ มักแสดงออกมาในรูปของการปลอมแปลงต่างๆ ได้แก่ 1. ความฝัน 2. การเคลื่อนไหวอิริยาบถที่ไม่รู้สึกตัว เช่น การละเมอ การพลั้งปาก 3. อาการของโรคประสาท 4. กลไกในการป้องกันตัวเอง

ตัวอย่างของกลไกป้องกันตนเอง การก้าวร้าว (Aggression) * เป็นการปรับตัวประเภทการต่อสู้ชนิดไม่คำนึงถึงอุปสรรคที่มาขวางกั้น ไม่คำนึงว่าสังคมจะยอมรับหรือไม่ ใช้พละกำลังทุ่มเทเพื่อเอาชนะ “ตีหัวหมาด่าแม่เจ๊ก”

การรับเอาเข้ามาไว้ในตัว (Introjection) การเลียนแบบ (Identification) การรับเอาเข้ามาไว้ในตัว (Introjection) การเพ้อฝันหรือการสร้างวิมาน ในอากาศ (Fantasy) การปฏิเสธไม่ยอมรับความจริง (Denial)

การหนีสังคม (Isolation) การถดถอย (Regression) การขัดขืน (Negativism) ปฏิกิริยาเปลี่ยนกลับหรือการหนี เข้าสู่ความเจ็บป่วย (Conversion) “Psychosomatic disorder”

การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง การซัดโทษ (Projective) “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง” (Rationalization) 1.1 แบบองุ่นเปรี้ยว (Sour Grape) 1.2 แบบมะนาวหวาน (Sweet lemon) การซัดโทษ (Projective) “รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง”

การย้ายที่ (Displacement) คือการเปลี่ยนพฤติกรรมต่อบุคคลหรือ สิ่งของหรือสถานการณ์จากจุดหนึ่ง ไปยังอีกจุดหนึ่ง การเก็บกด (Repression) พยายามลืมหรือกลบเกลื่อนหรือ เก็บกด ความรู้สึกไว้ในจิตใต้สำนึก (Unconsciousness mind)

ทฤษฎีพฤติกรรม * ทฤษฎีนี้เชื่อว่าสิ่งเร้าและการตอบสนอง เป็นรากฐานของการเรียนรู้ เป็นตัวสร้าง นิสัยและทำให้เกิดรูปแบบพฤติกรรม

* วิททิงค์และไชด์ อธิบายว่าพฤติกรรมแบ่งออกเป็น 5 ระบบ คือ 1. พฤติกรรมเกี่ยวกับการกินเป็นแรงจูงใจเพื่อสนองความต้องการทางปาก นอกจากเป็นแรงจูงใจเพื่อให้ได้อาหารแล้ว ยังแสดงออกมาในรูปแบบต่างๆ เช่น การผลิต การสงวนอาหาร การปรุงอาหาร วิธีการรับประทานอาหาร และพิธีการเกี่ยวกับอาหาร

2. พฤติกรรมเกี่ยวกับการขับถ่าย * เป็นแรงจูงใจด้านความสำราญของมนุษย์ แสวงหาความสนุกสนานตลอดเวลา 3. พฤติกรรมเกี่ยวกับการสืบพันธุ์ * เป็นแรงจูงใจทางเพศที่ผลักดันให้มนุษย์แสดงพฤติกรรมต่างๆ เช่น การแต่งงาน

4. พฤติกรรมพึ่งพา * เกิดจากความคับข้องใจในวัยทารกจากการเลี้ยงดูของแม่ เช่น การเลี้ยงดูที่ทะนุถนอมมากเกินไป ทำให้เด็กมีนิสัย ชอบพึ่งพาผู้อื่น 5. พฤติกรรมก้าวร้าว * เกิดจากความคับข้องใจเมื่อถูกลงโทษและเลียนแบบจาก ผู้ใหญ่ แสดงออกเช่น เยาะเย้ยถากถาง เสียดสี ไม่ร่วมมือ พูดให้อาย ทำหน้าบึ้ง เฉยเมย ลงโทษ

ทฤษฎีการรู้การคิด * แรงจูงใจเกี่ยวข้องกับความสำนึกและการมีธาตุรู้ * คนที่มีความสำนึก มีสติปัญญา จะสามารถตั้งเป้าหมาย วางแผน และคาดผลที่จะเกิดขึ้นในบั้นปลายได้ * แรงจูงใจที่เร้าให้เกิดพฤติกรรมขึ้นอยู่กับความคาดหวัง หรือผลของพฤติกรรมที่เคยกระทำมาก่อน

ทฤษฎีแรงขับ * แรงจูงใจเกิดมาจากความต้องการของร่างกายผลักดัน ให้เกิดแรงขับซึ่งจะเร้าให้เกิดพฤติกรรมใดๆ เพื่อไปสู่ เป้าหมาย 1. พลังแรงขับจะสูงขึ้นถ้าปรับปรุงสิ่งล่อใจให้ใหม่ขึ้น 2. ความพึงพอใจจะจำกัดอยู่เฉพาะแต่สิ่งล่อใจที่ เจ้าตัวเลือกแล้วเท่านั้น 3. ถ้าแรงขับสัมพันธ์กับสิ่งล่อใจหลายตัว แรงขับ ตัวหนึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งล่อใจตัวหนึ่งแล้วสิ่งล่อใจ ตัวอื่นๆ จะได้รับผลกระทบด้วย

การจูงใจในการทำงาน 1. การจูงใจในทางบวก (positive motivation) การใช้รางวัลเป็นสิ่งล่อใจ เช่น เพิ่มเงินเดือน ให้สองขั้น ให้สิทธิในการแสดงความคิดเห็น ให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อาจทำได้โดย

ก. เอาใจใส่ต่อคนงานเสมอในทุกเรื่อง ไม่มีการว่ากล่าว จะใช้วิธีชมเชย ข. เอาใจใส่และให้รางวัลเฉพาะการทำงานที่ได้ผลดีเท่านั้น 2. การจูงใจในทางลบ (negative motivation) เช่น การลงโทษถ้าใช้บ่อยๆจะทำลายขวัญและกำลังใจ

ชนิดของสิ่งล่อใจ 1. สิ่งล่อใจที่เป็นเงิน 2. สิ่งล่อใจที่ไม่ใช่เงิน ได้แก่ การยกย่องสรรเสริญ การแข่งขันการร่วมมือกัน รู้สึกว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของกลุ่ม เป็นต้น