คำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์ คือ คำที่ใช้ประกอบคำอื่นเพื่อให้มีความหมายชัดเจนหรือต่างกันออกไปอาจใช้ประกอบคำนาม คำสรรพนาม คำกริยา หรือคำวิเศษณ์ด้วยก็ได้
คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น ๑๐ ชนิด ๑)ลักษณะวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่บอกลักษณะของคำนั้นได้ชัดเจน ซึ่งแยกได้เป็น ๙ ลักษณะ - ลักษณะบอกชนิด เช่น ชั่ว ดี แก่ หนุ่ม สาว ฯลฯ - ลักษณะบอกสัณฐาน เช่น กลม รี แบน ฯลฯ - ลักษณะบอกขนาด เช่น เล็ก ใหญ่ กว้าง ยาว ฯลฯ - ลักษณะบอกสี เช่น ขาว ดำ ชมพู ส้ม ฯลฯ - ลักษณะบอกเสียง เช่น ดัง เบา สูง ต่ำ ฯลฯ
- ลักษณะบอกกลิ่น เช่น หอม ฉุน เหม็น ฯลฯ - ลักษณะบอกรส เช่น หวาน มัน เค็ม เปรี้ยว ขม ฯลฯ - ลักษณะบอกสัมผัส เช่น นิ่ม นุ่ม ฯลฯ - ลักษณะบอกอาการ เช่น ช้า เร็ว ฯลฯ ๒) กาลวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์บอกเวลา เพื่อประกอบให้คำนั้นมีความหมายชัดเจนยิ่งขึ้น จะมีคำว่า เช้า สาย บ่าย เย็น ก่อน หลัง ตัวอย่างเช่น วันนี้อ๊าทมาโรงเรียนแต่เช้า แม็กตื่นสายเลยมาโรงเรียนไม่ทัน
๓) สถานวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์บอกสถานที่ มักจะมีคำว่า ไกล ใกล้ ห่าง ชิด ริม ขอบ เหนือ ล่าง ใต้ บน ดังตัวอย่างเช่น บ้านของพิมพ์ขวัญใกล้กับบ้านของจิรพนธ์ บ้านของสุพลอยู่ทางทิศเหนือ ๔) ประมาณวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่บอกจำนวนนับ หรือจำนวนประมาณ เช่น ๑ ๒ ๓ ที่๑ ที่๒ ที่๓ ฯลฯ ดังตัวอย่าง นรีลักษณ์สอบได้ที่๑ ส่วน พิชชาพรสอบได้ที่๓ กิติพลซื้อกางเกงยีนส์ ๓ ตัว
๕) ประติเสธวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์แสดงปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับ มักจะมีว่า ไม่ ไม่ใช่ มิ มิใช่ ไม่ได้ หามิได้ เช่น เขามิได้มาคนเดียว เขาพาพรรคพวกมาด้วย เขาไม่ทำก็ไม่เป็นไร เพราะเขาไม่ใช่ลูกของฉัน ๖) ประติชญาวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่ใช้แสดงการขานรับหรือโต้ตอบ มักจะมีคำว่า ครับ ขอรับ ค่ะ เช่น คุณครูคะหนูส่งงานค่ะ ใต้เท้าขอรับ รถมาแล้วขอรับ
๗) นิยมวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์บอกความชี้เฉพาะ มักจะมีคำว่า นี้ นั่น โน่น ทั้งนี้ ทั้งนั้น เฉพาะ แน่นอน จริง เป็นต้น เช่น วิชาเฉพาะอย่างเป็นวิชาชีพ ฉันจะมาหาเธอแน่ๆ ๘) อนิยมวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ที่บอกความไม่ชี้เฉพาะ มักจะมีคำว่า ใด ไหน อื่น อะไร ใคร ฉันใด เช่น เธอพูดอย่างไร คนอื่นๆก็เชื่อเธอ เธออ่านหนังสืออะไรก็ได้
๙) ปฤจฉาวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์แสดงคำถาม หรือแสดงความสงสัย มักจะมีคำว่า ใด ไร ไหน อะไร สิ่งใด ทำไม เช่น เธอจะทำอย่างไร อะไรอยู่บนชั้น ๑๐) ประพันธวิเศษณ์ ได้แก่คำวิเศษณ์ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์เพื่อเชื่อมประโยคให้มีความเกี่ยวข้องกัน มักจะมีคำว่า ที่ ซึ่ง อัน อย่างที่ ชนิดที่ ที่ว่า เพื่อว่า ให้ เช่น เด็กคนนี้เป็นเด็กฉลาดอย่างที่ไม่ค่อยได้พบ เขาทำงานหนักเพื่อว่าเขาจะได้เงินมาก
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ ๑) ทำหน้าที่ขยายคำนาม เช่น คนอ้วนกินจุ ( อ้วน เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม คน ) ตำรวจหลายคนจับโจรผู้ร้าย ( หลาย เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำนาม ตำรวจ )
(๒) ทำหน้าที่ขยายคำสรรพนาม เช่น เราทั้งหลายจงช่วยกันทำงานให้เรียบร้อย ( ทั้งหลาย เป็นคำวิเศษณ์ขยายคำสรรพนาม เรา ) ฉันเองเป็นคนพูด ( เอง เป็นคำวิเศษณ์ขยายสรรพนาม ฉัน )
(๓) ทำหน้าที่ขยายกริยา เช่น คนแก่เดินช้า ( ช้า เป็นคำวิเศษณ์ขยายกริยา เดิน ) นักกีฬาว่ายน้ำเก่ง ( เก่ง เป็นคำวิเศษณ์ขยายกริยา ว่ายน้ำ )
จัดทำโดย เด็กชาย กิติพล นิ่มวรรณ์ เลขที่ ๑ เด็กชาย กิตติวัฒน์ กล่อมสุภาพ เลขที่ ๒ เด็กชาย จิรพนธ์ รุ่งเรืองศรี เลขที่ ๔ เด็กชาย วัชรพล มุ่งมาตร์ เลขที่ ๑๑ เด็กชาย สมโภชน์ โสภา เลขที่ ๑๓ เด็กชาย สุพล สัญญาใย เลขที่ ๑๔ ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๒/๒