Liquid Crystal Display (LCD) * องค์ประกอบของจอภาพ * โครงสร้างของจอภาพ * การเลือกใช้ * ข้อแตกต่าง LCD and CRT
LCD LCD ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งเป็นจอแสดงผลแบบ (Digital ) โดยภาพที่ปรากฏขึ้นเกิดจากแสงที่ถูกปล่อยออกมาจากหลอดไฟด้านหลังของจอภาพ (Black Light) ผ่านชั้นกรองแสง (Polarized filter) แล้ววิ่งไปยัง คริสตัลเหลวที่เรียงตัวด้วยกัน 3 เซลล์คือ แสงสีแดง แสงสีเขียวและแสงสีนํ้าเงิน กลายเป็นพิกเซล (Pixel) ที่สว่างสดใสเกิดขึ้น จอผลึกเหลว LCD (Liquid Crystal Display) เป็นจอภาพที่ไม่มีหลอดภาพ หรือปืนอิเล็กตรอนสำหรับกวาดหน้าจอ
องค์ประกอบของจอภาพ องค์ประกอบของจอภาพ เริ่มจากแหล่งกำเนิดแสง back light บนแผ่นโพลารอยด์ด้านหลังชั้นของ Twisted-Nematic (TN) LCDจะมีการหุ้มด้วยแผ่นแก้วหรือกระจกทั้ง 2 ด้าน ใช้แผ่นโพลารอยด์ด้านหน้าผนวกกับชั้นนอกสุดเป็นแผ่นกันการสะท้อนแสง การทำงานจริงๆนั้นผลึกเหลวที่หยอดเอาไว้ระหว่างช่องกระจกจะถูกกระตุ้นด้วย ไฟฟ้า ทำให้โมเลกุลของลิควิดคริสตัลในส่วนของจุดภาพ พิกเซล (pixel) นั้นหมุนเป็นมุม 90 องศา เพื่อให้เกิดได้ทั้งจุดสว่าง และจุดมืด หากเรากล่าวว่าเทคนิคของLCD คือการบิดตัวโมเลกุล แล้วเอาเงาของมันมาใช้งานก็ถือว่าถูกต้องอย่างที่สุด ขนาดจอLCD มีตั้งแต่10นิ้วไปจนถึง60นิ้วนับว่ามีการใช้งานกว้างขวางมาก
โครงสร้างของจอภาพ โครงสร้างของจอภาพแบบ LCD ทั่วๆ จะมีประมาณ 7 ส่วนด้วยกัน ส่วนที่ 1 จะเป็นหลอดฟลูออเรสเซน เพื่อทำหน้าที่ให้แสงสว่างออกมา (ดังนั้นบางทีจึงเรียกกันว่าเป็นจอแบบ backlit คือให้แสงจากด้านหลัง ซึ่งต่างจากจอ LCD ที่เราพบในอุปกรณ์ขนาดเล็กทั่วไป ที่มักจะเป็นจอขาว-ดำที่ไม่มีแหล่งกำเนิดแสง แต่ใช้แสงที่ส่องจากด้านหน้าจอเข้าไปสะท้อนที่ฉากหลังออกมา ซึ่งไม่สว่างมากแต่ก็ประหยัดไฟกว่า เครื่องคิดเลขเล็ก ๆ นาฬิกา หรือแม้แต่คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กบางรุ่น เช่น palm ก็ยังใช้จอแบนี้) ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของ diffuser หรือกระจกฝ้าที่ทำให้แสงที่กระจายออกมามีความสว่างสม่ำเสมอ
โครงสร้างของจอภาพ (ต่อ) ส่วนที่ 3 จะเป็น polarizer ซึ่งก็คือฟิลเตอร์ชนิดหนึ่งที่ยอมให้คลื่นแสงในแนวใดแนวหนึ่งผ่านได้ แต่จะไม่ยอมให้คลื่นแสงในอีกแนวหนึ่งผ่านไปได้ ซึ่งส่วนมากนิยมจะวางให้คลื่นแสงในแนวนอนผ่านออกมาได้ ส่วนที่ 4 จะเป็นชั้นของแก้วหรือ glass substrate ซึ่งทำหน้าที่เป็นฐานสำหรับขั้ว electrode (ขั้วไฟฟ้า) ส่วนที่ 5 จะเป็นชั้นของ liquid crystal หรือชั้นของผลึกเหลว ส่วนที่ 6 จะเป็นแผ่นแก้วปิดเอาไว้เพื่อไม่ให้ผลึกเหลวไหลออกมาได้ ส่วนที่ 7 จะเป็น polarizer อีกชั้นหนึ่งซึ่งนิยมวางให้ทำมุม 90 องศากับ polarizer ตัวแรก ส่วนถ้าเป็นจอสีก็จะมีฟิลเตอร์สี (แดง เขียว และน้ำเงิน) คั่นอยู่ก่อนที่จะถึง polarizer ตัวนอกสุด
การเลือกใช้ การเลือกใช้จอ LCD Monitor สำหรับจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้น จากการทำงานของมันแล้วจะรู้ได้ว่าจอแบบ LCD Monitor นั้น สามารถที่จะช่วยในการลดอัตรา เสี่ยงที่สายตาเราจะรับรังสีที่แผ่ ออกมาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพราะจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นในหลักการในการใช้ความร้อนของขดลวดในการทำให้ผลึกเหลวแสดงภาพออกมา จึงทำให้จอ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นี้สามารถที่จะถนอมสายตาได้ อีกทั้งแสงสว่างที่ได้จะไม่สั่นไหวเหมือนจอแบบที่ใช้หลอดภาพ เพราะจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นไม่จำเป็นต้องทำการยิงแสง อิเล็กตรอน เหมือนจอแบบหลอดภาพ นั้นก็เป็นข้อดีของจอแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) และข้อดีอีกอย่าง คือขนาดที่เบาและบางทำให้มีเนื้อที่บนโต๊ะทำงานเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังใช้พลังงานไฟฟ้า น้อยกว่าทำให้สามารถประหยัดไฟฟ้าไปได้มาก
ข้อแตกต่างระหว่างจอแบบ LCD กับ จอแบบ CRT รูปร่าง และน้ำหนัก: จอภาพ แบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีความบาง และแบนกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) เป้นอย่างมากนั้นเป็นเพราะเทคโนโลยีในการแสดงภาพที่แตกต่างกัน พื้นที่ในการแสดงผล: จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นถึงแม้จะมีขนาดเท่ากับจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) มักจะมีพื้นที่ในการแสดงภาพมากกว่า อย่างเห็นได้ชัด ความคมชัดของภาพ:ถึงแม้ว่าจอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) นั้นจะมีระยะห่างของจุด (Dot Pitch) มากว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์) บางรุ่น แต่ความคมชัด และสีสันนั้น จอภาพแบบ LCD Monitor (แอลซีดี มอนิเตอร์) จะมีอยู่สูงกว่าจอภาพแบบ CRT Monitor (ซีอาร์ที มอนิเตอร์)
The End