Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School รหัสแทนข้อมูล Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School
Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School รหัส ASCII ASCII ย่อมาจาก American Standard Code for Information Interchange รหัสแอสกี เป็นรหัสที่นิยมใช้กันมาก จนสามมารถนับได้ว่าเป็นรหัสมาตรฐานที่ใช้ใน การสื่อสารข้อมูล ( Data Communications) ซึ่งจำเป็นต้องใช้รหัสการแทนข้อมูลเป็นระบบเดียวกัน เพื่อให้สามารถรับ - ส่งข้อมูลได้ในความหมายเดียวกัน รหัสแอสกีใช้เลขฐานสอง 8 หลักแทนข้อมูลหนึ่งตัว นั่นคือ 1 ไบต์มีความยาวเท่ากับ 8 บิต รวมทั้งมีการแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือโซนบิต (Zone bits) ซึ่งอยู่ทางด้านซ้ายมีจำนวน 4 บิตและนิวเมอริกบิต (Numeric bits)ในอีก 4 บิตที่เหลือ Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School
Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School รหัส ASCII ตารางรหัส ASCII วิธีอ่าน อ่านตาม column แล้วจึงอ่านตาม row ตัวอย่าง M = 4D16 = 010011012 w = 7716 = 011101112 i = 6916 t = 7416 Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School
Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School รหัส EBCDIC EBCDIC ย่อมาจาก Extended Binary Coded Decimal Interchange Code รหัส EBCDIC พัฒนาโดยบริษัทไอบีเอ็มใช้แทนข้อมูลที่แตกต่างกันได้ทั้งหมด 28 หรือ 256 ชนิด การเก็บข้อมูลโดยใช้รหัสเอบซีดิกจะแบ่งรหัสออกเป็นสองส่วน คือโซนบิต (Zone bits) และนิวเมอริกบิต (Numeric bits) เช่นเดียวกับ ASCII Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School
Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School รหัส UniCode เป็นรหัสแบบใหม่ล่าสุด ถูกสร้างขึ้นมาเนื่องจากรหัสขนาด 8 บิตซึ่งมีรูปแบบเพียง 256 รูปแบบ ไม่สามารถแทนภาษาเขียนแบบต่าง ๆ ในโลกได้ครบหมด โดยเฉพาะภาษาที่เป็นภาษาภาพ เช่น ภาษาจีนหรือภาษาญี่ปุ่นเพียงภาษาเดียวก็มีจำนวนรูปแบบเกินกว่า 256 ตัวแล้ว UniCode จะเป็นระบบรหัสที่เป็น 16 บิต จึงแทนตัวอักษรได้มากถึง 65,536 ตัว ซึ่งเพียงพอสำหรับตัวอักษรและสัญลักษณ์กราฟฟิกโดยทั่วไป รวมทั้งสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ต่าง ๆ ในปัจจุบันระบบ UniCode มีใช้ในระบบปฏิบัติการ Window NT ระบบปฏิบัติการ UNIX บางรุ่น รวมทั้งมีการสนับสนุนชนิดข้อมูลแบบ UniCode ในภาษา JAVA ด้วย Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School
Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School Parity bit ในระบบคอมพิวเตอร์บางระบบใช้เลขฐาน 2 จำนวน 9 บิต แทนหนึ่งอักษร บิตที่ 9 เพิ่มมานั้นเรียกว่า parity bit parity bit มีไว้สำหรับตรวจสอบความผิดพลาดจากสื่อสารหรือส่งข้อมูล ซึ่งอาจมีสาเหตุต่าง ๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผิดจาก 0 เป็น 1 ก็ได้ หากต้องการตรวจสอบว่าคอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลผิดพลาดหรือไม่ก็สามารถดูได้จากพาริตี้บิตนี้ มี 2 ระบบ Odd Parity Even Parity Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School
Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School Parity bit สมมติ ข้อมูล คือ A 01000001 ผลรวมของ bit 1 คือ 2 Even Parity Odd Parity 001000001 101000001 เติม 0 ในบิตที่ 9 เนื่องจากผลรวมของ bit 1 เป็นเลขคู่อยู่แล้ว เติม 1 ในบิตที่ 9 เนื่องจากผลรวมของ bit 1 เป็นเลขคู่ จึงต้องทำให้ผลรวมกลายเป็นเลขคี่ (Odd) Computer&Technology Mahidol Wittayanusorn School