" ประวัตินาฏศิลป์ไทย เป็นศิลปะการละครฟ้อนรำและดนตรีอันมีคุณสมบัติตามคัมภีร์นาฏะหรือนาฏยะ กำหนดว่า ต้องประกอบไปด้วยศิลปะ 3 ประการ คือ การฟ้อนรำ การดนตรี และการขับร้อง รวมเข้าด้วยกัน
นาฏศิลป์ของไทย แบ่งออกตามลักษณะของรูปแบบการแสดง เป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ 4 ประเภท คือ
การแต่งกายตัวละคร
การแต่งกายตัวพระ
การแต่งกายตัวนาง
การแต่งกายตัวยักษ์
การแต่งกายตัวลิง
ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ท่าแนะนำตัว เป็นอากัปกริยาที่บ่งบอกให้ทราบว่าเป็นการแนะนำตัวของตัวละครนั้นๆ ซึ่งตัวละครทั้งฝ่ายพระ นาง ยักษ์ ลิง มีทำปฏิบัติที่คล้ายคลึงกันจะแตกต่างก็เฉพาะลีลาในการปฏิบัติ ซึ่งขึ้นอยู่กับบุคลิกของตัวละครนั้นๆ ว่าเป็นตัวละครตัวใดมีบุคลิกลักษณะเช่นใด การปฏิบัติจะใช้เฉพาะมือซ้ายเท่านั้น ถ้าใช้มือขวาถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ผิดแบบแผน ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
ท่ายืน เป็นอากัปกิริยาที่แสดงความหมายในท่ายืนของตัวละครซึ่งอยู่ในลักษณะยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่ง ตัวละครแต่ละตัวจะมีบุคลิกลักษณะแตกต่างกันไปตามบทบาทที่แสดงอยู่
ท่าเดิน เป็นอากัปกิริยาที่แสดงความหมายเกี่ยวกับอิริยาบทในการเดินของตัวละครแต่ละตัวซึ่งมีความงดงามแตกต่างกันไป แต่ลักษณะการเดินของตัวละครเกือบทั้งหมด เลียนแบบมาจากอากัปกิริยาเด่นของมนุษย์ ยกเว้นเฉพาะตัวละครที่เป็นสัตว์ ก็จะเลียนแบบลักษณะอากัปกิริยาในการเดินของสัตว์ชนิดนั้นๆ
ท่ารัก เป็นอากัปกิริยาที่แสดงถึงอารมณ์รัก ความพิศวาส ความเสน่ห์หา ต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใด โดยปกติแล้วการแสดงท่ารักจะปฏิบัติในแบบเดียวกัน เพียงแต่แตกต่างกันในลีลา บุคลิกเฉพาะตัวของ พระ นาง ยักษ์ ลิง
นาฏยศัพท์ เป็นคำศัพท์เฉพาะ ใช้ในการฟ้อนรำ สามารถสื่อความหมายกันได้ แสดงลักษณะและการเคลื่อนไหวของร่างกายที่สัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่อง ว่าด้วย การจีบ / ตั้งวง / การใช้เท้า
"การไหว้ครู" คือ การแสดงถึงความเคารพกตเวทีแด่ท่านบูรพาจารย์ และครูบาอาจารย์ ผู้ซึ่งประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ เพื่อจะได้เป็นความรู้ติดตัวนำไปประกอบอาชีพ เพื่อสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่ตนเองในภายภาคหน้า
จัดทำโดย นางสาวสุชาดา เทศดี ศษ/ท 53 A