กระบวนการฝึกวิธีคิด แบบโยนิโสมนสิการ การคิดตามแนวพุทธวิธี กระบวนการฝึกวิธีคิด แบบโยนิโสมนสิการ
โยนิโสมนสิการ หมายถึง การคิด พิจารณาโดยถูกต้องแยบคาย ได้แก่ คิดถูกวิธี คิดมีระเบียบ คิดมีเหตุผล คิดเร้ากุศล พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต) อธิบายว่า โยนิโสมนสิการ เป็นการคิดนึกอยู่ในแนวทางของศีลธรรม หลักความดีงาม ความจริง คิดแยกแยะองค์ประกอบและสืบสาวเหตุปัจจัย ใช้ปัญญา และมีศรัทธาสนับสนุน
พันเอกปิ่น มุทุกันต์ (2515) ได้อธิบายหน้าที่ของจิตว่า ...จิต มีงานหลักอยู่ 4 อย่าง คือ 1. รับ (เวทนา) 2. จำ (สัญญา) 3. คิด (สังขาร) 4. รู้ (วิญญาณ) แสดงเป็นแผนภาพต่อไปนี้ รับ จิต รู้ จำ คิด
โยนิโสมนสิการ ฐานคุณธรรมโดยเฉพาะ สัมมาทิฏฐิ การคิดของมนุษย์จึงเป็นกระบวนการที่ซับซ้อนเกี่ยวข้องกับหลายปัจจัย รวมทั้งสมรรถนะการทำงานของจิต คุณภาพของสมองซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของร่างกาย การรับรู้จากผัสสะ ทั้งหมดปฏิกิริยาต่อสิ่งเร้า แรงกระตุ้นทั้งจากภายในและจากสิ่งแวดล้อม การคิดที่ถูกต้อง แยบคายที่เกิดประโยชน์จึงต้องมี ฐานคุณธรรมโดยเฉพาะ สัมมาทิฏฐิ จึงจะสามารถแปลความคิดออกมาเป็นการกระทำที่ถูกต้องด้วยเช่นกัน การพัฒนามนุษย์ตามนัยแห่งพระพุทธศาสนาเป็นกระบวนการที่สร้างศรัทธา สิ่งแวดล้อม ปฏิสัมพันธ์ฉันกัลยาณมิตร กับการสร้างวิธีคิดที่ถูกต้องที่ใช้ศัพท์ว่า โยนิโสมนสิการ
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธี มีดังนี้ 1. วิธีคิดแบบสืบสวนเหตุปัจจัย 2. วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ 3. วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทัน ความเป็นไปของธรรมชาติ และความเป็นปกติธรรมดาของสภาวะทั้งหลาย 4. วิธีคิดแบบอริยสัจ หรือ คิดแก้ปัญหา 5. วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ คือ การพิจารณาให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่าง ธรรม (หลักการ) กับ อรรถ (ความมุ่งหมาย)
วิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ 10 วิธีมีดังนี้ 6. วิธีคิดแบบคุณโทษ และ ทางออก 7. วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ - คุณค่าเทียม 8. วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม 9. วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน (มีปัจจุบันเป็นอารมณ์) 10. วิธีคิดแบบวิภัชชวาท (พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตโต) : พุทธธรรม , 2529)
ขยายความวิธีคิด คิดสืบค้นค้นเค้า คิดสืบสาวตลอดสาย คิดสืบค้นค้นเค้า คิดสืบสาวตลอดสาย คิดทบทวนต้นปลาย คิดโยงสายสัมพันธ์ คิดจำแนกหมวดหมู่ คิดรู้เหตุผลมั่น คิดประจักษ์ลักษณ์สามัญ คิดเท่าทันความจริง คิดแบบแก้ปัญหา คิดค้นคว้าทุกสิ่ง คิดจุดหมายอ้างอิง คิดไม่ทั้งหลักการ คิดทั้งคุณและโทษ คิดประโยชน์แก่นสาร คิดทางออกเหตุการณ์ คิดประมาณผลกรรม
ขยายความวิธีคิด (ต่อ) คิดคุณค่าที่แท้ คิดมุ่งแก้จิตต่ำ คิดปลุกเร้าคุณธรรม คิดมุ่งนำปัจจุบัน คิดความจริงถี่ถ้วน คิดแยกส่วนสิ่งสรรพ์ คิดลำดับสำคัญ คิดสัมพันธ์ปัจจัย คิดจำแนกคำถาม คิดตอบตามเงื่อนไข คิดเพื่อรู้แจ้งใจ คิดสร้างนิสัยใฝ่ดี (สุมน อมรวิวัฒน์ : 2530)
หัวใจการฝึกคิด แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง 1. บรรยากาศในการเรียน 2. ความเป็นกัลยาณมิตรของครูกับศิษย์ 3. สร้างฐานความรู้และแรงจูงใจ 4. การเสนอสิ่งเร้าและแรงจูงใจ 5. กิจกรรมต่างเพื่อฝึกคิด สรุปผล 6. ทบทวนและประเมิน
ความรู้ ประสบการณ์ สมอง ศรัทธา กัลยาณมิตร คุณธรรม จิตที่ฝึกดีแล้ว ผล ผล ผล ผล ผล ผล วิธีคิด - ปฏิบัติ ความรู้ ประสบการณ์ สมอง ศรัทธา กัลยาณมิตร คุณธรรม จิตที่ฝึกดีแล้ว