บทร้อยกรอง
ความหมายของการประพันธ์ร้อยกรอง คำว่าร้อยกรอง เราสามารถแยกศัพท์ได้เป็น 2 คำ คือคำว่า "ร้อย" กับคำว่า "กรอง" ร้อยเป็นคำกริยาหมายถึงการเรียงร้อยหรือการเรียบเรียงถ้อยคำหรืออาจจะเป็นดอกไม้ก็ได้ เช่น ร้อยดอกไม้ คำว่ากรองเป็นคำกริยา หมายถึงการเรียงร้อยกรองเมื่อรวมกัน หมายถึง การกลั่นกรองหรือเรียบเรียงถ้อยคำ เช่นเดียวกับที่เรานำดอกไม้มาร้อยเป็นพวงมาลัย จะมีความงดงามแล้วก็อ่อนหวานไพเราะ ไม่ใช่ว่าเพียงแต่เอาถ้อยคำมาเรียงต่อกันเท่านั้น
ร้อยกรองหมายถึง โครง ฉันท์ กาพย์ กลอน มีถ้อยคำมาประกอบคำประพันธ์กัน
กลอน กลอน กลอนเป็นนิยมมาตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นต้นมา ในความหมายที่เราเข้าใจกันบางคนใช้คำว่ากลอนแทน ร้อยกรองทุกประเภท เช่น แต่งกลอน แต่งกาพย์ แต่งฉันท์ก็เรียกว่าแต่งกลอนฉะนั้นกลอนในที่นี้มีความหมาย 2 อย่าง ความหมาย หนึ่งคือ ความหมายรวมของร้อยกรองทุกประเภท ความหมายอีกอย่างหนึ่งคือเป็นคำประพันธ์ประเภทหนึ่ง เช่น กลอนหก กลอนเจ็ด กลอนแปด กลอนดอกสร้อย กลอนสักวา
กาพย์ กาพย์ กาพย์นั้นปรากฏในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ในหนังสือมหาชาติคำหลวง ปัจจุบันนี้กาพย์ที่เรานิยมแต่งกัน ก็คือกาพย์ยานี กาพย์ฉบัง และกาพย์สุรางค์นาง รวมทั้งหมดแล้ว กาพย์ประมาณ 20 ชนิด
โคลง โคลง เป็นคำประพันธ์ที่เก่าแก่มาก ปรากฏในวรรณคดีสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เช่นลลิตพระลอ โครงเป็นร้อยกรองที่กำหนดจำนวนคำสัมผัสแล้วก็พิเศษคือกำหนดคำเอกคำโท กำหนดวรรณยุกต์เอกโท จึงแต่งค่อนข้างยาก ส่วนในสมัยโบราณนิยมแต่โคลงคั่น ปัจจุบันนี้ไม่ค่อยมีแล้ว
ฉันท์ ฉันท์ เป็นรูปแบบคำประพันธ์ของอินเดียซึ่งไทยเรารับมาใช้ มีคำบังคับ ครุ ลหุ ฉันท์ของอินเดียนั้นไม่กำหนดสัมผัส แต่ว่า ไทยเราคำคล้องจองกันเราจึงเพิ่มสัมผัส ฉันท์นั้นมีประมาณ 100 กว่าชนิด แต่ไทยเรานิยมแต่งและก็ปรากฏในตำราฉันท์ของไทย นั้นมีประมาณ 108 ชนิด
โครงสร้างของคำประพันธ์
กาพย์ แผนผังคำประพันธ์ ๑. กาพย์ยานี ๑๑ ตัวอย่าง:
กาพย์ ๒. กาพย์ฉบัง ๑๖ ตัวอย่าง:
กาพย์ ๓.๑ กาพย์สุรางคนางค์ ๒๘ ตัวอย่าง:
โคลงแต่ละบาท มี ๒ วรรค คือวรรคหน้าและ วรรคหลัง วรรคหน้าซึ่งเป็นวรรคประธานมี๕ คำส่วนวรรคหลัง แต่ละบาทจำนวนคำจะไม่เท่ากันคือบาทที่ ๑ มี ๒ คำ สามารถเพิ่ม (สร้อยได้อีก ๒ คำ) บาทที่ ๒ มี คำบาทที่ ๓ มี ๒ คำ สามารถ(เพิ่มสร้อยได้อีก ๒ คำ)บาทที่ ๔ มี ๔ คำ เส้นโยงแต่ละจุด แสดงตำแหน่งบังคับสัมผัส โคลง ๑ บท มี ๔ บาท หรือ ๔ บรรทัด โดยปกติโคลง ไม่ต้องมีสัมผัสระหว่างบท ยกเว้น เวลาเข้าลิลิต โคลง ๔ สุภาพ แผน: ตัวอย่าง: ตัวอย่าง: โคลง
โคลง โคลงกระทู้ ๑. กระทู้เดี่ยว หรือกระทู้คำเดียว หมายความว่า กระทู้นั้น มีคำทั้งหมดอยู่ ๔ คำ แต่แยกเอาไปเขียนไว้ข้างหน้า บาทละคำ ตัวอย่าง:
ฉันท์ ๑. จิตรปทาฉันท์ ๘ ตัวอย่าง:
ฉันท์ ๒. วิชชุมาลาฉันท์ ๘ ตัวอย่าง:
กลอน บทที่ ๑ "พระดูเดือน เหมือนวง นลาฏน้อง สัมผัสผ่อง ชวนจิต พิสมัย รื่นรื่นกลิ่น ลำดวน รัญจวนใจ เหมือนเข้าใกล้ กลิ่นนาง เมื่อกลางวัน" บทที่ ๒ ซึ้งเอยซึ้ง กวีรัก สร้อยอักษร หวานมนต์กลอน พระอภัย เคลิ้มใจฝัน ดื่มด่ำถ้อย สร้อยคำ ที่จำนรรจ์ รักรำพัน เลื่องชื่อ ระบือนาม
กลอน บทที่ ๑ บุหลัน วันเพ็ญ เด่นฟ้า สิบห้า ค่ำเยือน เดือนสาม มาฆะ บูชา สง่างาม อาราม รุ่งรัตน์ ชัชวาลย์ บทที่ ๒ ระฆัง หงั่งเหง่ง เพลงพลิ้ว โพธิ์หวิว ไหวรับ ขับขาน สำเนียง เพียงมนต์ ดลมาน ซาบซ่าน สุขล้ำ อำไพ ...
ความงามของบทประพันธ์ การสัมผัสสระ การสัมผัสอักษร
ภาษาเพื่อการจรรโลงใจ สิ่งเหล่านี้แสดงถึง ภาษาเพื่อการจรรโลงใจ