ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0)

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
โดย พัชรี ยันตรีสิงห์ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ สพป.นครปฐม เขต 2
Advertisements

GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)
Research and Development (R&D)
: วัตถุประสงค์การวิจัย : การนิยามศัพท์
การเสนอโครงการวิทยานิพนธ์
จุดมุ่งหมายทางการศึกษา และ จุดประสงค์การเรียนรู้
ความสำคัญของงานวิจัย เสนอ รศ.ดร.เผชิญ กิจระการ
จุดประสงค์ปลายทาง เพื่อให้นักเรียนได้ศึกษา ความรู้ในทาง วิทยาศาสตร์ว่ามีความสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมี หลักฐานและข้อมูลที่น่าเชื่อถือได้เท่านั้น.
GED 3801 การศึกษาและการมีส่วนร่วมในสถานศึกษา 1(60)
ER 2104 หลักการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ 3(3-0)
เทคนิคการอ่านรายงานการวิจัย
กระบวนการวิจัย(Research Process)
รศ. ดร. สมศักดิ์ คงเที่ยง
ขั้นตอนในการทำวิจัย.
การออกแบบการวิจัยการเขียนเค้าโครงการวิจัย
รายงานการวิจัย.
Research Problem ปัญหาการวิจัย
การวิจัยแบบกรณีศึกษา (Case Study Research) อ.สมพงษ์ พันธุรัตน์
การวิจัย RESEARCH.
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Thesis รุ่น 1.
การศึกษารายกรณี.
ระดับขั้นจุดประสงค์การเรียนรู้ของ Bloom
นายเกียงไกร แปลงไทยสง
การจัดการเรียนรู้โดยการใช้ชุดมินิคอร์ส
หลักการพัฒนา หลักสูตร
วิธีการแสวงหาความรู้
การพัฒนากิจกรรม การเรียนรู้ โดยโครงงาน
การวางแผนและการดำเนินงาน
แนะนำวิทยากร.
การวิจัยการศึกษา.
: หัวข้อและความสำคัญของปัญหา
: หัวข้อและประเด็นปัญหา
ระเบียบวิธีวิจัยพื้นฐานทาง การตลาด
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย
ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โครงร่างการวิจัย (Research Proposal)
การวางแผนและ การจัดทำ IT Audit
การวิจัยในชั้นเรียนด้านอาชีวศึกษา
การออกแบบการวิจัย (Research Design)
1 การอ่านตำรา การอ่านตำรา.
การวัดประเมินผลแบบดั้งเดิม
การพัฒนาระบบการเรียนการสอน
มโนทัศน์เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย
ปัญหาการวิจัย โดย ดร.วรรณะ บรรจง.
การเขียนเกณฑ์การประเมิน (Rubric)
ทักษะการคิดวิเคราะห์
การประเมินตามสภาพจริง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เรวดี กระโหมวงศ์
รศ. ดร. นิตยา เจรียงประเสริฐ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การวิจัยการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ ดร. สุจิตรา ธนานันท์
มศว 142 วิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม
แนวทางการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบ การสอนแบบโครงงาน/โครงการ
นายณัฐวุฒิ ปานแก้ว รหัส 039 คอม ปวช 1/2
นางสาวทัศนีย์ ศรีภุมมา
เครื่องมือที่ใช้ในการวัดผลการศึกษา
นายทศพิธ แป้นดวงเนตร วิทยาลัยเทคโนโลยีศรีธนาพณิชยการ เชียงใหม่
หลักการเขียนโครงการ.
ลักษณะโครงการวิจัยที่ดี
การเขียนรายงานผลการวิจัย
ฟิสิกส์คืออะไร ฟิสิกส์ เป็นวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการศึกษาเกี่ยวกับ พฤติกรรมธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต สสาร พลังงาน และการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ รวมไปถึง ปรากฏการณ์ที่เกิดตามธรรมชาติต่างๆ.
วิธีสอนแบบอุปนัย.
อบรมปฏิบัติการ จัดทำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551
3. หลักการวิจัย หลักการวิจัย : สำราญ สาราบรรณ์.
แนวทางพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย
ตัวอย่าง การเขียนโครงการ
เทคนิควิธีในการจัดการเรียนการสอน
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
การสอนแบบอภิปราย และการสอนแบบนิรนัย
วิทยาศาสตร์หมายถึงอะไร
1. การวิจัยคืออะไร 2. การวิจัยแบ่งเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0) ผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา การติดต่อผู้สอน อ.ไพรศิลป์ ปินทะนา ห้องพักอาจารย์ อาคาร 29 สาขาวิชาการประเมินและการวิจัย Email & MSN & facebook : phraisin@hotmail.com HomePage : www.er.cmru.ac.th โทรศัพท์ 086-1929046 (กรุณาใช้เบอร์โทรที่ให้ไว้กับผู้สอนโทรถึงผู้สอน)

คำอธิบายรายวิชา ER 3409 การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอน 3(3-0) Research for Teaching and Learning Development ความหมายและลักษณะของการวิจัย วิวัฒนาการของการแสวงหาความรู้ ประโยชน์ความสำคัญ และประเภทของการวิจัย ขั้นตอนการวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย ฝึกปฏิบัติ การวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน โดยมุ่งเน้นให้สามารถทำวิจัยในชั้นเรียน การเขียนรายงานการวิจัย การนำเสนอผลการวิจัย การประเมินผลงานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้พัฒนาการเรียนการสอน

แนวการสอน เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการวิจัย เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนการวิจัยและฝึกปฏิบัติการวิจัยทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงความคิดเห็น เพื่อวิจารณ์ผลงานวิจัยอย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาแนวทางการใช้ผลงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อการศึกษา

บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัย ความหมายของการวิจัย จุดมุ่งหมายของการวิจัย ประโยชน์ของการวิจัย พัฒนาการของวิธีแสวงหาความรู้ คุณสมบัติของนักวิจัย จรรยาบรรณของนักวิจัย ประเภทของการวิจัย ขั้นตอนของการวิจัย

ความหมายตามพจนานุกรมของคำว่า “วิจัย” หรือ “การวิจัย”หมายถึง การสะสม การรวบรวม การค้นคว้าเพื่อหาข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา ( พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2525, 2531 : 754 ) พจนานุกรมภาษาอังกฤษ (WebSter 1977 : 1538 - 1539 ) : การศึกษาค้นคว้าอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ อย่างมีระบบ และอย่างเพียรพยายามในแขนงวิชาความรู้แขนงใดแขนงหนึ่ง เพื่อค้นพบและสร้างสรรค์ความจริงหรือหลักการต่าง ๆ

พจน์ สะเพียรชัย ( 2528 : 17 ) กล่าวว่าการวิจัยเป็นการเสาะแสวงหาความรู้ความจริงเพื่อเสริมสร้างกฏเกณฑ์และทฤษฎี เพื่อประโยชน์ในการอธิบาย ทำนาย และควบคุมปรากฏการณ์ ประคองกรรณสูตร ( 2528 : 1 ) อธิบายว่าการวิจัยเป็นขบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้และข้อเท็จจริง โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิเคราะห์ปัญหาอย่างมีระบบยึคหลักการสรุปที่ใช้ข้อเท็จจริงและตรรกวิทยาเป็นแนวทางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความคิดที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากที่สุด นิภา ศรีไพโรจน์ (2531: 3 ) ให้ความหมายการวิจัยว่าเป็นกระบวนการแสวงหาความรู้อย่างมีระบบและมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน ภายในขอบเขตที่กำหนดไว้ โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ความจริงในสิงที่วิจัยนั้น

บุญชม ศรีสะอาด ( 2532 : 1 ) ให้ความหมายไว้ว่าการวิจัยคือกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่เชี่อถือได้ โดยมีลักษณะดังนี้ เป็นกระบวนการที่มีระบบแบบแผน มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนชัดเจน ดำเนินการศึกษาค้นคว้าอย่างรอบคอบ ไม่ลำเอียง มีหลักเหตุผล บันทึกและรายงานออกมาอย่างระมัดระวัง บุญเรียง ขจรศิลป์ ( 2533 : 5 ) ก็กล่าวในทำนองเดียวกันว่า ถ้าแปลตามตำราแล้วการวิจัยหมายถึงการค้นหาซ้ำแล้วซ้ำอีก แต่ความหมายทางวิชาการ การวิจัยหมายถึงกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ หรือกระบวนการเสาะแสวงหาความรู้เพื่อตอบปัญหาที่มีอยู่ อย่างมีระบบและมีวัตถุประสงค์ที่แน่นอน โดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พวงรัตน์ ทวีรัตน์ ( 2531:12 ) ให้นิยามของการวิจัยว่าเป็นการค้นคว้าหาความรู้ความจริงที่เชื่อถือไค้ โดยวิธีการที่มีระบบแบบแผนที่เชื่อถือได้ เพื่อนำความรู้ที่ไดันั้นไปสร้างกฎเกณฑ์ทฤษฎีต่างๆ เพื่อไว้ใช้ในการอ้างอิงอธิบายปรากฏการณ์เฉพาะเรื่อง และปรากฏการณ์ทั่วไป และเป็นการทำให้สามารถทำนายและควบคุมการเกิดปรากฎการณ์ต่างๆ ได้

เครือวัลย์ ลิ้มปิยะศรีสกุล ( 2530 : 18 ) อธิบายเกี่ยวกับการวิจัยว่าหมายถึงกระบวนการแสวงหาความจริงหรีอพิสูจน์ความจริง เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้กระบวนการแสวงหาความจริงจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้คือ น้องเป็นการแสวงหาหรือพิสูจน์ความจริงที่เป็นข้อเท็จจริง ต้องเป็นการกระทำโดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน แล้วต้องดำเนินไปอย่างมีระเบียบแบบแผนที่เเน่นอนตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ บญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์ ( 2532 : 96 ) ได้อธิบายไว้อย่างละเอียดในลักษณะเดียวกันว่าการวิจัย เป็นกระบวนการค้นคว้าหาข้อเท็จจริง หรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบระเบียบ แล้วมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนเพื่อให้ได้ความรู้ที่เชื่อถือได้ ตามความหมายนี้การวิจัยหรืองานที่เป็นการวิจัยจะค้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการเป็นกระบวนการค้นหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ เป็นกระบวนการหรือการกระทำที่มีระบบระเบียบ เป็นการกระทำที่มีจุดมุ่งหมายที่แน่นอน การศึกษาค้นคว้าใด ๆที่ขาดลักษณะ 3 ประการนี้ไม่ถืว่าเป็่นการวิจัย

ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา R = Recruitment & Relationships E = Education & Efficieancy S= Science & Simulation E = Evaluation & Environment A = Aim & Attitude R = Result C = Curiosity H = Horizin ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress ปี 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา Wiersma ( 1986 : 10 ) ได้สรุปลักษณะสำคัญูของการวิจัยไว้อย่างสั้นๆว่า เป็นกระบวนการเเสวงหาความรู้ที่เป็นระบบ ( Systematic ) และดำเนินการตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ ที่ประชุม Pan Pacific Scince Congress ปี 1961 ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา

ความหมายของการวิจัย กระบวนการเสาะแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องและเชื่อถือได้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้ใหม่และเพื่อนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์

จุดมุ่งหมายของการวิจัย จุดมุ่งหมายหลักของการวิจัย มี 2 ประการ เพื่อให้ใด้ความรู้ใหม่หรือเพื่อสร้างสรรค์ความรู้ใหม่ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในหลายๆ ด้าน

นำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ 2.1 ใช้สำหรับบรรยายสภาพของปัญหา หรืออธิบายสาเหตุของปัญหาของสถานการ์ณ หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้เราเข้าใจในสิ่งเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น 2.2 ใช้สำหรับพยากรณ์หรือทำนายเหตุการณ์ สถานการณ์หรือปรากฏการณ์ หรือ แนวโน้มของปัญหาทีอาจเกิดขึ้นในอนาคต ทำให้เราสามารถเตรียมป้องกันรับสถานการณ์นั้นๆ ได้ 2.3 ใช้สำหรับปรับปรุงและพัฒนาสภาพการ สถานการ์ณหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้ดให้ ดียิ่งขึ้น 2.4 ใช้สำหรับควบคุมปัญหา สถานการณ์หรือปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ช่วยในการวางแผนเตรียมการควบคุมได้อย่างรัดกุม 2.5 ใช้สำหรับแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุด ทำให้การแก้ปัญหาเป็นไปอย่างรวดเร็วและช่วยขจัดปัญหาให้หมดไปได้

ประโยชน์ของการวิจัย ประโยชน์ต่อสังคม ประโยชน์ต่อผู้วิจัย

พัฒนาการของวิธีแสวงหาความรู้ แบ่งเป็น 3 ระยะ การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบแผน การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์

การแสวงหาความรู้อย่างไม่มีระบบแบบแผน ใช้กันมาตั้งเเต่สมัยโบราณจนถึงราว 400 ปีก่อนคริสตศักราช ( 40O B.C. ) 1.1 การได้รับความรู้โดยบังเอิญ ( By chancc ) 1.2 การได้รับความรู้โดยการลองผิดลองถูก ( Trial and Error ) 1.3 การได้รับความรู้จากผู้รู้ ( Authority ) 1.4 การได้รับความรู้จากผู้เชี่ยวชาญูหรือนักปราชญ์ ( Expert or wiseman ) 1.5 การได้รับความรู้จากประเพณีและวัฒนธรรม (Tradition and culture ) 1.6 การได้รับความรู้จากประสบการณ์ของตนเอง ( personaI Experience)

การแสวงหาความรู้ด้วยระบบเหตุผล 2.1 วิธีอนุมานหรือนิรนัย ( Deductive Method หรือ syllogistic Resoning ) อริสโตเติล ( Aristotle ) นักปราชญ์ชาวกรีกผู้ได้ชื้อว่าเป็นบิดาของตรรกศาสตร์ ตัวอย่าง Major Premise พรีไมส์ ข้ออ้างหลัก : ทุกคนต้องตาย Minor Premise : นายสมชายเป็นคน Conclusion : นายสมชายต้องตาย

2.2 วิธีอุปมานหรืออุปนัย (Inductive Method) เป็นการแสวงหาความรู้ด้วยเหตุผลที่เริ่มขึ้นเมื่อประมาณคริสตศควรรษที่ 17 ผู้ริเริ่มคิดวิธีนี้คือ เซอร์ ฟรานซิส เบคอน(Sir Francis Bacon ) ตัวอย่างของ การตั้ง Major Premise ที่ไม่ใช่ความจริงแน่นอนซึ่งจะนำสู่การลงสรุปที่ผิดได้ด้วยวิธีอนุมาน เช่น Major Premise : นกบินได้ Minor Premise : นกกระจอกเทศเป็นนกชนิดหนึ่ง Conclusion : นกกระจอกเทศบินได้( แต่ความจริงนกกระจอกเทศบินไม่ได้)

วิธีการอุปมานแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน คือ 1. เก็บรวบรวมข้อมูลหรือข้อเท็จจริงย่อย ๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่เราต้องการทราบ( collecting Data ) 2. นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ ( Analyzing and synthesizing ) 3. สรุปเป็นข้อเท็จจริงใหญ่ หรือความรุ้ใหม่ ( Drawing conclusion )

ตัวอย่าง รวบรวมข้อมูล : จากการศึกษาสังเกตสิ่งที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติ พบว่า วัวกินหญ้าเป็นอาหาร ควายกินหญ้าเป็นอาหาร แพะกินหญ้าเป็นอาหาร แกะกินหญ้าเป็นอาหาร กวางกินหญ้าเป็น อาหาร เก้งกินหญ้าเป็นอาหาร ช้างกินหญ้าเป็นอาหาร ม้ากินหญู้าเป็นอาหาร ลากินหญ้าเป็นอาหาร วิเคราะห์/สังเคราะห์ : วัว ควาย แพะ แกะ กวาง เก้ง ช้าง ม้า และ ลาที่เป็นสัตว์กินหญ้าเป็นอาหารเหล่านี้มี 4 ขา สรุป : สัตว์สี่ขากินหญ้าเป็นอาหารหรือสัตว์ที่กินหญ้าเป็นอาหารมีสี่ขา

2.3 วิธีอนุมาน - อุปมาน ( Deductive - Inductive Method ) วิธีการนี้เริ่มใช้ตั้งแต่คริสตศตวรรษที่ 19 ผู้เริ่มคิดวิธีนี้คือนักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ชื่อชาร์ลส์ ดาร์วิน(charles Darwin ) การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีอนุมาน - อุปมาน มี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ใช้วิธีอนุมานในการตั้งเป็นสมมุติฐาน ( Hypothesis Stting ) 2.ใช้วิธีอุปมานในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์/สังเคราะห์และยืนยันหรือคัดค้านสมมุติฐานที่ตั้งไว้ (Data Collecting and Hypothesis Testing ) 3. สรุปเป็นความรู้ใหม่ ( Drawing conclusion )

ตัวอย่าง ตั้งสมมุติฐูาน : ผู้ชายมีความสามารถในการเเก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้หญิง รวบรวมข้อมูล : ใช้การสังเกตจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหาหลายๆสถานการณ์ และดูว่าผู้ชายหรือผู้หญิงจะแก้ปัญหาได้ดีกว่ากัน สรุป : ลงสรุปตามข้อมูลที่ได้จากการสังเกต เช่น ในสถานการณ์ปัญหา ถ้าผู้ชายแก้ปัญหาได้เร็วกว่า ใช้วิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า และแก้ปัญหาได้เป็นผลสำเร็จมากกว่าผู้หญิง ก็สามารถสรุปยืนยันได้ว่าผู้ชายมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้หญิง แต่ในทางกลับกัน ถ้าในสลานการณ์ปัญหาดังกล่าวผู้หญิงสามารถทำได้ดีกว่าผู้ชาย ก็สรุปว่าสมมุติฐานที่ตั้งไว้นั้นไม่จริง ที่จริงแล้วผู้หญิงมีความสามารถในการแก้ปัญหาได้ดีกว่าผู้ชาย เป็นต้น

การแสวงหาความรู้ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ จอห์น ดิวอี้ (John Dewey ) นักจิตวิทยาชาวอเมริกันซึ่งมีชีวิตอยู่ระหว่างปี คศ.1859 - 1952 ได้ดัดแปลงแนวคิดแบบอนุมาน-อุปมาน ของชาร์ลส์ ดาร์วิน มาเป็นกระบวนการคิดแบบ Reflective Thinking หรือแบบใคร่ครวญ คิดทบทวนกลับไปกลับมา 3.1 ขั้นระบุปัญหาหรือกำหนดปัญหา ( Identifying the problem )เป็นการตระหนักว่ามีปัญหา และมีความต้องการที่จะแก้ปัญหา เป็นการบอกให้ทราบอย่างชัดเจนว่าปัญหาหรือสิ่งที่คนสงสัย อยากทราบ อยากหาคำตอบหรือสิ่งที่ต้องการศึกษานั้นคืออะไร 3.2 ขั้นตั้งสมมุติฐาน ( Formulating Hypotheses ) เป็นการคาดคะเนความน่าจะเป็นหรือความเป็นได้ของคำคอบของปัญหาที่ศึกษา เป็นการเดาหรือคาดหมายคำตอบของปัญหาไว้ล่วงหน้า ส่วนมากการตั้งสมมุติฐานจะได้มาจากการใช้เหตุผล ประสบการณ์ แนวคิคหลักการ ทฤษฎี หรือผลงานวิจัยที่ได้มีผู้ทำไว้ มาเป็นข้อสนับสนุน 3.3 ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล ( Collecting Data ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อเท็จจริงทีเกียวข้องกับปัญหาทีศึกษาค้วยวิธีการต่างๆ เช่นนี้การสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตการทดลอง การทดสอบการศึกษาหรือดรวจสอบเอกสาร เป็นต้น 3.4 ขั้นวิเคราะห์และตีความข้อมูล ( Analyzing Data ) เป็นการแยกแยะและแปลผลข้อมูล นำข้อมูลมาพิจารณาตรวจสอบหรือทดสอบสมมุติฐานที่ตั้งไว้ว่าเป็นไปตามนั้นหรือไม่จะยอมรับหรือปฎิเสธสมมุติฐานนั้น 3.5 ขั้นสรุปผล ( Drawing conclusion ) เป็นการลงสรุปผลที่ได้จากการวิเคราะห์และการตีความข้อมูล ซึ่งจะทำให้ได้คำตอบของปัญหาที่ศึกษา อันถือเป็นความรู้หรือความจริงที่เชื่อถือได้ และเพื่อนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

ประเภทของการวิจัย 1. การจำเเนกประเภทตามลักษณะของข้อมูล ได้แก่ 1.1 การวิจัยเชิงคุณภาพ หรือการวิจัยเชิงคุณลักษณะ (Qualitative Research ) 1.2 การวิจัยเชิงปริมาณ ( Quantitive Research ) 2.การจำแนกประเภทตามจุดมุ่งหมายของการวิจัย ได้แก่ 2.1 การวิจัยพื้ฐานหรือการวิจัยบริสุทธิ์ (Basic Research or Pure Research ) 2.2 การวิจัยประยุกต์ ( Applied Research )

3. การจำแนกประเภทตามระเบียบวิธีวิจัย 3.1 การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ ( HistoricaI Research ) เป็นการวิจัยเพื่อบีบคั้นหรือสืบสวนปัญหาทางด้านประวัติความเป็นมา เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและผ่านพ้นมาแล้ว โดยอาศัยความสัมพันธ์หรือปรากฏการณ์ต่างๆที่เกี่ยข้องมาอธิบาบเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง 3.2 การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณา ( Dcscriptive Research )

การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา ( Dcscriptive Research ) การวิจัยเชิงบรรยายแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ( สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ 2527 : 138-140 ) คือ 1. การศึกษาสำรวจ ( Survay studies ) 2. การศึกษาสัมพันธภาพ ( Interrelationship studies ) 2.1 การศึกษาเฉพาะกรณี ( case studies ) 2.2 การติดตามผล ( Fol11ow-Up studies ) 2.3 การศึกษาเชิงเปรียบเทียบเหตุผล ( Causal - Comparative studies ) หรือการวิจัยย้อนรอย หรือการวิจัยย้อนหลัง ( Ex Post Facto Research ) 2.4 การศึกษาสหสัมพันธ์ ( Correlation studies ) 2.5 การวิเคราะห์เอกสาร ( Documentary Analysis )

การวิจัยเชิงบรรยายหรือเชิงพรรณนา ( Dcscriptive Research ) 3. การศึกษาพัฒนาการ (Development studies) 3.1 การศึกษาความเจริญเติบโต ( Growth studies ) 3.2 การศีกษาแนวโน้ม ( Trend studies ) 3.3 การวิจัยเชิงทดลอง ( ExperimentaI Research ) 1. การวิจัยเชิงทดลองแท้ ( True Experimental Research ) 2. การวิจัยกึ่งทดลอง ( Quasi ExperimentaI Research )

ขั้นตอนของการวิจัย ( wiersma.1986 : 7 - 12 ) 6.1 การเลือกและกำหนดปัญหา (Identifying the Problem) 6.2 การศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ( Reviewing Information ) 6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collecting Data) 6.4 การวิเคราะห์ข้อมล ( Analyzing Data ) 6.5 การสรุปผลการวิจัย (Drawing Conclusion)

กิจกรรมฝึกปฏิบัติที่ 1 การวิเคราะห์ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน กิจกรรมฝึกปฏิบัติที่ 1 การวิเคราะห์ขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน กรณีศึกษาที่...........เรื่อง............................................................................. จากกรณีศึกษาที่ได้ศึกษาให้สรุปสาระสำคัญตามขั้นตอนการวิจัยในชั้นเรียน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจและวิเคราะห์ปัญหา ขั้นตอนที่ 2 วางแผนแก้ไขปัญหา / พัฒนา ขั้นตอนที่ 3 พัฒนานวัตกรรม (สร้างและหาประสิทธิภาพ) ขั้นตอนที่ 4 นำนวัตกรรมไปใช้ ขั้นตอนที่ 5 สรุปผลการแก้ปัญหา/พัฒนา ขั้นตอนที่ 6 นำผลการวิจัยไปใช้ / เผยแพร่

คุณสมบัติของนักวิจัย ด้านความรู้หรือพุทธิพิสัย (C: Cognitive) ด้านเจตคติหรือจิตพิสัย (A: Affective) ด้านความสามารถหรือทักษะพิสัย (P: Psychomotor)

ใบงานที่ 1 การวิเคราะห์กระบวนการวิจัย ให้นักศึกษาเลือกรายงานการวิจัยทางการศึกษาคนละ 1 เรื่อง ที่ไม่ซ้ำกัน แล้วศึกษา สรุปกระบวนการวิจัย ลักษณะที่ดี และข้อบกพร่องของงานวิจัย ลงในแบบที่กำหนดให้ www.er.cmru.ac.th

ใบงานที่ 2 การนิยามปัญหา 1.ชื่อปัญหาการวิจัย (ควรตั้งชื่อให้กะทัดรัด ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ให้ความหมายที่ชัดเจนว่าจะทำอะไรกับใครที่ไหนโดยมุ่งหาคำตอบอะไร) การพัฒนา............................................................................................................... ของนักเรียนชั้น .....................ปีการศึกษา 2553 โรงเรียน...........................................................อำเภอ..........................จังหวัด..................... ผลการใช้...................................................เพื่อพัฒนา....................................................เรื่อง...........................................ของนักเรียนชั้น.................... ปีการศึกษา 2553 โรงเรียน.................................... อำเภอ..................จังหวัด................... 2.ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (เป็นความนำที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญและความจำเป็นที่ต้องทำวิจัยเรื่องนั้นๆ โดยกล่าวนำด้วยแนวคิด ทฤษฎีหรือหลักการที่น่าชื่อถือและมีเนื้อความที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะวิจัย(ย่อหน้าที่ 1) ตามด้วยปัญหาที่พบ(ย่อหน้าที่ 2) วิเคราะห์ปัญหาให้ผู้อ่านตระหนักในปัญหาร่วมกับผู้วิจัย (ย่อหน้าที่ 3) ประโยชน์และคุณค่าของงานวิจัย(ย่อหน้าสุดท้าย))

อ้างอิงในเนื้อความ/ท้ายเนื้อความ อ้างอิงต้นเนื้อความ ศักดิ์ศรี ขยันดี(2553:2) ได้อธิบายว่า........................................................... ...................................................................................................................................................... ....................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................... .......................................................................................................................................................... ............................................................................................(ศักดิ์ชาย มุ่งดี,2552:33) อ้างอิงในเนื้อความ/ท้ายเนื้อความ