บทที่ 2 ขอบเขตการใช้กฎหมาย
วันเริ่มต้นแห่งการใช้กฎหมาย ให้ใช้บังคับวันที่กำหนดไว้ในกฎหมาย ในกรณีรีบด่วน ให้ใช้กฎหมายตั้งแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในกรณีปกติ กฎหมายให้เริ่มใช้บังคับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดเวลานับแต่ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
การประกาศใช้เป็นกฎหมาย ประกาศกฎหมายให้ประชาชนทราบโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา วันสิ้นสุดแห่งการใช้กฎหมาย กฎหมายเมื่อประกาศใช้บังคับแล้ว ย่อมมีผลบังคับใช้ตลอดไปจนกว่าจะมีการยกเลิก
การยกเลิกกฏหมาย การยกเลิกกฏหมาย มี 4 กรณี ดังนี้ การยกเลิกโดยกฏหมายโดยตรง การยกเลิกโดยปริยาย การยกเลิกโดยศาลรัฐธรรมนูญ การยกเลิกโดยคำพิพากษาของศาล
ผู้ใช้กฎหมาย ตำรวจ อัยการ ผู้พิพากษา ทนายความ
ตำรวจ บทบาทของตำรวจในการบังคับใช้กฎหมาย 1. การจับกุม มี 2 กรณี คือ ตำรวจเป็นผู้จับกุมเอง และขอร้องให้ราษฎรช่วยจับกุม ตำรวจจะจับกุมผู้ใดโดยไม่มีหมายจับไม่ได้ 2. การสืบสวนสอบสวน
พนักงานอัยการ พนักงานอัยการ คือ เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล หน้าที่สำคัญของอัยการ คือ ตรวจตรากลั่นกรองการรวบรวมพยานหลักฐาน และการสอบสวนของพนักงานสอบสวน ซึ่งกฎหมายได้ให้อำนาจพนักงานอัยการไว้
ผู้พิพากษา ข้าราชการตุลาการศาลยุติธรรมที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยผู้พิพากษาย่อมมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย ศาลยุติธรรมอยู่ภายใต้การบริหารงานคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรม ซึ่งมี ประธานศาลฎีกาเป็นประธาน
ทนายความ ทนายความ คือ บุคคลที่คู่ความ (โจทก์หรือจำเลย) ตั้งขึ้นเพื่อให้ว่าความ หรือแก้คดีแทนในศาล แต่หากว่าคู่ความสามารถจะว่าความเองได้ ก็อาจดำเนินคดีของตนเองได้โดยไม่ต้องตั้งทนายความก็ได้ และในคดีอาญาที่จำเลยไม่สามารถจ้างทนายก็อาจขอศาลให้ตั้งทนายให้ก็ได
สถานที่ใช้กฎหมาย กฎหมายใช้บังคับใช้ในราชอาณาจักรไทย รวมถึง กฎหมายใช้บังคับใช้ในราชอาณาจักรไทย รวมถึง กระทำผิดในเรือไทยหรืออากาศยานไทย ไม่ว่าจะอยู่ที่ใด กระทำผิดนอกราชอาณาจักรไทย ต้องได้รับโทษในราชอาณาจักรไทย เช่น กระทำผิดเกี่ยวกับความมั่นคง การปลอมและแปลงเงินตรา ปล้นทรัพย์ในทะเลหลวง