โครงงานเรื่อง “อุปรากจีน”ศิลปะการแสดงที่ล้ำค่า จัดทำโดย นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 30 มัธยมศึกษา จังหวัดชัยภูมิ
ที่มาของโครงงาน เนื่องจากการแสดงงิ้ว หรืออุปรากรจีน ถือเป็นศิลปะการแสดงที่ล้ำค่าทางวัฒนธรรม ที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ได้รับความ นิยมจากคนจีน คนไทยเชื้อสายจีน และ การแสดงงิ้วยังได้รับการยอมรับจากองค์กร ยูเนสโกและยกระดับการแสดงงิ้วให้เป็นมรดก ทางวัฒนธรรมของโลก แต่ปัจจุบันคนยุค ใหม่ไม่นิยมดูการแสดงงิ้ว เพื่อให้การแสดง งิ้วเป็นที่รู้จักมากขึ้นในหมู่คนไทย ทางกลุ่ม จึงได้จัดทำโครงงานเรื่องนี้ เพื่อนำเสนอ ข้อมูลความรู้ต่อผู้ที่สนใจ
ประวัติความเป็นมา การแสดงงิ้วเป็นการแสดงที่เกิดขึ้นครั้งแรกในช่วง ต้นราชวงศ์ซ้ง เป็นการแสดงที่เป็นโครงกลอน สลับการร้องประกอบเครื่องดนตรี ดีด สี ตี เป่า มักนำนิทานพื้นบ้านเรื่อง “คุนฉู” มาจัดทำ การแสดง และเป็นที่ชื่นชอบของขุนนางชั้นสูง ตลอดจนสามัญชนทั่วไป การแสดงงิ้วเฟื่องฟูมาก ในยุคของพระนางซูศีไทเฮา และในศตวรรษที่ 18 เกิดอุปรากรแบบใหม่ที่ปักกิ่ง ซึ่งเป็นรูปแบบ ของงิ้วในปัจจุบัน และเป็นที่ แพร่หลายและ เป็นที่รู้จักทั่วโลก
การแสดงงิ้วในประเทศไทย การแสดงงิ้วตามเอกสารเก่าที่สุดที่มีการพูดถึงการแสดงงิ้ว คือ จดหมายเหตุลาลูแบร์ซึ่งเป็นราชทูตจากฝรั่งเศสที่เข้า มาเจริญพระราชไมตรีกับสมเด็จพระนารายณ์เมื่อ พ.ศ. 2230 และมีบันทึกอีกช่วงครั้งสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช กรุงธนบุรี ครั้งมีการอัญเชิญพระแก้วมรกต ล่องน้ำมายังพระนคร นอกจากขบวนแห่จะมี โขน ละคร ดนตรีปี่พาทย์แล้ว ยังมีคณะงิ้วอีก 2 ลำเรือแสดง ล่องลงมาด้วยกันอีกด้วย การแสดงงิ้วในเมืองไทยได้รับความนิยมสูงสุดในสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมัยนั้นมี ทั้งคณะของทั้งไทยและจีน และยังมีการเปิดโรงเรียนสอน งิ้วและมีโรงงิ้วแสดงเป็นประจำมากมายบนถนนเยาวราช
ลักษณะและประเภทของการแต่งหน้างิ้ว ความโดดเด่นของการแสดงงิ้วนั้น นอกจากลีลาการ ร่ายรำการเคลื่อนไหวของผู้แสดงแล้ว เสื้อผ้าเครื่องแต่ง กายตลอดจนการแต่งหน้าก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้มี เอกลักษณ์เฉพาะตัว อย่างเช่นสีสันของการแต่งหน้าที่ แตกต่างกันไป ก็จะบ่งบอกถึงบุคลิกและอุปนิสัยของตัว ละครได้ อย่างเช่น การแต่งหน้า สีแดง จะมีความหมายไปในทางที่ดี เป็นสัญลักษณ์ของผู้ ซื่อสัตย์และกล้าหาญ สีดำ มีความหมาย เป็นกลาง เป็นสัญลักษณ์ของผู้ห้าวหาญ ไม่เห็นแก่ตัวและเฉลียวฉลาด สีน้ำเงิน/เขียว ก็จะมีความหมายเป็นกลางเช่นเดียวกันและยัง ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของวีรบุรุษชาวบ้านอีกด้วย สีขาวและสีเหลือง มักจะมีความหมายไปทางลบ เป็น สัญลักษณ์ของผู้เหี้ยมโหดและคดโกง
ตัวละครในการแสดงอุปรากรจีน ตัวละครแบ่งออกเป็น 4 ประเภท 1. ตัวละครชาย "เชิง (Sheng)" ตัวละครฝ่ายชายแบ่ง ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ "บู๊" ผู้แสดงต้องแสดงบทโลดโผน ส่วน "บุ๋น" เน้นการขับร้องและการแสดงอารมณ์ 2. ตัวละครหญิง "ตั้น (Dun)" 3. ตัวละครวาด "จิ้ง (Jing)" เป็นตัวละครที่แต่งหน้าด้วย ลวดลายสีสันต่างๆ ซึ่งบ่งบอกถึงนิสัยของตัวละคร ผู้ แสดงต้องมีหน้าผากที่กว้าง รูปร่างสูงใหญ่ น้ำเสียง กังวาน 4. ตัวละครตลก "โฉ่ว (Chou)" แบ่งออกเป็นตลกแบบบุ๋น เช่น ยาม คนรับใช้ คนตัดไม้ เป็นต้น ส่วนตัวตลก แบบบู๊ ต้องแสดงเกี่ยวกับกายกรรม เช่น พลทหาร
อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.wonder12.com/2011/06/chinese- opera.html http://th.wikipedia.org