การศึกษารายกรณี
การศึกษารายกรณี เป็นวิธีการที่ใช้ในการศึกษาเด็กเป็นรายบุคคล โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างต่อเนื่อง และเป็นระบบในช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการใช้เครื่องมือหรือวิธีการต่างๆ เช่น การสังเกต การสัมภาษณ์ การเขียนอัตชีวประวัติ การเขียนบันทึกประจำวัน การใช้แบบสอบถาม แบบทดสอบ การทดลอง สังคมมิติ เป็นต้น จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา สาเหตุ ของปัญหาและทำการช่วยเหลือแก้ไขป้องกันและส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีการถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
จุดมุ่งหมายของการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี 1. เพื่อให้ทราบเป็นสาเหตุของปัญหาซึ่งจะนำไปสู่การ วินิจฉัยแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อให้เด็กได้รู้จักและเข้าใจตัวเองมากขึ้น 3. เพื่อให้ครูผู้ปกครองได้รู้จักและเข้าใจเด็กมากขึ้น 4. เพื่อนำผลที่ได้จากการศึกษาเด็กไปใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
กระบวนการศึกษาเด็กเป็นรายกรณี 1. ขั้นการเลือกเด็กที่จะทำการศึกษารายกรณี ไม่จำเป็นต้องเลือกศึกษาเฉพาะเด็กที่มีปัญหาหรือเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมเท่านั้น แต่สามารถทำได้กับเด็กทั่วไปตามความสนใจของผู้ศึกษา
2. ขั้นรวบรวมข้อมูล 2.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวเด็กเอง โดยใช้วิธีการ - การสังเกต - การสัมภาษณ์ - การใช้แบบสอบถามและแบบทดสอบต่างๆ - การเขียนอัตชีวประวัติ บันทึกประจำวันและ อนุทินส่วยตัว
2.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเพื่อนเด็ก โดยวิธีการดังนี้ - การสัมภาษณ์ - การทำสังคมมิติ - การทำแบบสอบถามใครเอ่ย 2.3 การเก็บรวบรวมข้อมูลจากครูผู้ปกครอง บุคคลที่เกี่ยวข้อง - การใช้แบบสอบถาม - การเยี่ยมบ้าน
3. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อมูลที่รวบรวมได้ นำมาวิเคราะห์และแยกเป็นด้านๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกและง่ายต่อการแปลความหมาย 4.ขั้นตรวจสอบวินิจฉัย นำผลของข้อมูลของการวิเคราะห์มาพิจารณาและวินิจฉัยถึงสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น
5.ขั้นสังเคราะห์ข้อมูล หรือขั้นรวบรวมข้อมูลเพิ่มเติม 6. ขั้นให้การช่วยเหลือ ป้องกันและแก้ไขปัญหา เป็นการคิดหาวิธีการที่จะนำมาช่วยเหลือ ต่อจากจึงลงมือดำเนินการตามวิธีที่คิดไว้ 7. ขั้นติดตามผล เป็นขั้นสุดท้ายที่มีความสำคัญ การติดตามผลจะทำให้ทราบว่าการศึกษารายกรณีประสบความสำเร็จมากน้อยเพียงใด
หลักการเขียนรายงานผลการศึกษารายกรณี ต้องมีลักษณะที่ชัดเจน ถูกต้อง ตามความเป็นจริง ปราศจากอคติ การเขียนต้องให้ข้อความที่สั้น กะทัดรัด อ่านเข้าใจง่าย ควรหลีกเลี่ยงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การเขียนรายงาน อาจจะเขียนตามแบบฟอร์มหรือไม่ก็ได้ การเสนอความเห็นและการสรุปเกี่ยวกับปัญหา ควรสั้นกะทัดรัด
แหล่งที่ใช้เก็บข้อมูล - ตัวเด็ก - พ่อแม่ผู้ปกครองหรือญาติ ที่มีความเกี่ยวข้องกับเด็ก - เพื่อนเด็ก - ครูประจำชั้นหรือครูผู้สอน - แหล่งอื่นๆ เช่นโรงเรียนเดิม โรงพยาบาล สถานีตำรวจ ฯลฯ