โครงสร้างภาษีประเทศไทย
ความท้าทายที่มีต่อโครงภาษีของประเทศไทย กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก กระแสและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของประเทศไทย แนวคิดในการปฏิรูประบบภาษีอากรของประเทศไทย
ประเทศไทยได้เติบโตพ้นความเป็นประเทศที่ยากจนและล้าหลังแล้ว ภาคอุตสาหกรรมมีขนาดใหญ่กว่าภาคเกษตรโดยเด็ดขาด 3. ความเปิดประเทศมีมากขึ้น 4. เศรษฐกิจภาคทันสมัยกำลังเติบใหญ่และเศรษฐกิจภาคดังเดิมกำลังหดลง 5. โครงสร้างอายุของประชากรกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างขนานใหญ่สังคมไทยกำลังย่างเข้าสู่วัยชรา ความตื่นตัวในเรื่องสิทธิเสรีภาพของประชาชนกำลังเพิ่มมากขึ้นอย่างกว้างขวาง รัฐธรรมนูญได้บัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน 7. นโยบายประชานิยมของฝ่ายการเมือง และบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญกำลังทำให้ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการมากขึ้น 8. การกระจายอำนาจรัฐสู่องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่งผลกระทบถึงโครงสร้างอำนาจรัฐและระบบราชการไทย 9. กระแสในเรื่องธรรมาภิบาล ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 รายได้ของรัฐบาลไทยส่วนใหญ่มาจากรายได้จากภาษีอากรคือประมาณร้อยละ 90 ของรายได้ทั้งหมด รายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากรมีสัดส่วนค่อนข้างน้อยคือประมาณร้อยละ 10 ของรายได้ทั้งหมด
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 รายได้จากภาษีอากรจำแนกเป็น 2 ประเภทหลัก: ภาษีทางตรง (Direct Taxes) ซึ่งเป็นภาษีที่จัดเก็บจากฐานรายได้หรือทรัพย์สิน ภาษีทางอ้อม (Indirect Taxes) ซึ่งเป็นการจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่แล้วผู้ผลิตมักจะผลักภาระภาษีไปสู่ผู้บริโภค หากเป็นไปได้
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2533-2552 รายได้ของรัฐบาลในช่วงปี 2533-2552 เพิ่มขึ้นหกเท่าตัว คือเพิ่มขึ้นจาก 404,939 ล้านบาท เป็น 1,684,297 ล้านบาท นอกจากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของรัฐบาลแล้ว โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลยังมีการเปลี่ยนแปลงในหลายด้านในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2533-2552 1. สัดส่วนของรายได้ จากรายได้ที่มาจากภาษีอากรต่อรายได้ที่ไม่ใช่ภาษีอากร ไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก 2. ภาษีทางตรงมีความสำคัญในฐานะเป็นแหล่งรายได้เพิ่มขึ้นตามลำดับจากสัดส่วนร้อยละ 28 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 45.1 ในปี 2552 โดยที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากคือจากร้อยละ 11 ในปี 2533 เป็นร้อยละ 24 ในปี 2548 ซึ่งเป็นการขยายตัวตามการขยายตัวทางเศรษฐกิจ โดยลดต่ำลงในช่วงปี 2551-2552 แต่โดยเฉลี่ยเพิ่มร้อยละ 12 ต่อปีในช่วง 2533-2552
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 3. ภาษีทางอ้อม มีบทบาทลดลงตามลำดับ จากสัดส่วนร้อยละ 70 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 52 ในปี 2552 4. ภาษีการขายทั่วไป มีการยกเลิกภาษีการค้าในปี 2535 และมีการนำภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีธุรกิจเฉพาะมาจัดเก็บแทน 5. ภาษีสรรพสามิต สัดส่วนรายได้จากภาษียาสูบ ภาษีน้ำมัน และภาษีสุราลดลง ในขณะที่สัดส่วนรายได้จากภาษีเบียร์เพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภคของประชากร
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 6. มีการอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ได้โดยเสรี ตามนโยบายภาษีของรัฐบาลอานันท์ แต่ได้มีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตจากรถยนต์นั่ง และจากสินค้าบริโภคที่มีราคาแพง 7. รายได้จากภาษีสรรพสามิตอีกแหล่งหนึ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในปัจจุบัน ซึ่งมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 1 คือภาษีการโทรคมนาคม 8. สัดส่วนรายได้ที่มาจากอากรนำเข้าและส่งออกลดลงเป็นลำดับจากร้อยละ 23 ในปี 2531 เป็นร้อยละ 5.2 ในปี 2552 เนื่องจากมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาษีการนำเข้าและส่งออก
โครงสร้างรายได้ของรัฐบาลในปี 2531-2552 9. ภาษีจากทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบันได้จัดสรรไปให้เป็นรายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแทนการเป็นรายได้ของรัฐบาล โดยรัฐบาลกำลังเสนอภาษีใหม่ที่จัดเก็บจากทรัพย์สินให้แก่ อปท. แทนภาษีเดิม