การจัดทำจรรยาข้าราชการ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
ความหมาย คุณธรรม หมายถึง การตระหนักรู้ และจำแนกความถูกต้อง ดีงาม จริยธรรม หมายถึง แบบแผนการประพฤติปฏิบัติที่ถูกต้อง ดีงาม สำหรับการดำรงชีวิตในสังคม จรรยาบรรณ หมายถึง มาตรฐานความประพฤติหรือศีลธรรมแห่งวิชาชีพที่บุคคลใช้เป็นแนวทางในการคิด เข้าใจ พูด และปฏิบัติงาน (ติน ปรัชญพฤทธิ์, 2540) จรรยาในการปฏิบัติงาน (Work Ethics) หมายถึง คุณความดีที่บุคคลที่ทำงานยึดเป็นข้อปฏิบัติ
หน้าที่ของข้าราชการ ต้องปฏิบัติเพื่อให้ราชการแผ่นดินในส่วนที่ตนรับผิดชอบเกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคม การใช้อำนาจเพื่อให้หน้าที่ที่ตนรับผิดชอบลุล่วงข้าราชการจึงต้องมีคุณธรรมซึ่งเป็นการอันพึงทำ เพราะนำประโยชน์ให้เกิดแก่ส่วนรวมและตนเอง และศีลธรรมซึ่งเป็นการอันพึงเว้น เพราะเป็นโทษแก่ส่วนรวมและตนเอง ประกอบกันขึ้นเป็นจริยธรรมและจรรยาอันเป็นความประพฤติที่ดีงามสมกับความเป็นข้าราชการ
จุดประสงค์ จรรยาข้าราชการกำหนดขึ้นเพื่อให้ข้าราชการเกิดสำนึกลึกซึ้งและเที่ยงธรรมในหน้าที่ผดุงเกียรติ์และศักดิ์ศรีข้าราชการ ควรแก่ความไว้วางใจและเชื่อมั่นของปวงชน และดำรงตนตั้งมั่นเป็นแบบอย่างที่ดีงามสมกับความเป็นข้าราชการในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นตัวอย่างแห่งธรรมจรรยาอันสูงสุด
จรรยาข้าราชการ (วิชาชีพ) ครอบคลุม 4 มิติ คุณธรรม / ค่านิยมหลักที่ยึดถือเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรม คุณค่า / ผลลัพธ์ของคุณธรรมหลักต่อการดำรงอยู่ของสังคม ประชาชน พันธะสัญญา และความคาดหวัง การประยุกต์ใช้ในการตัดสินใจ
ปัจจัยผลักดัน รัฐธรรมนูญ : ประมวลจริยธรรมตามรัฐธรรมนูญ จรรยาข้าราชการ ตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ร.ฎ. หลักเกณฑ์และวิธีการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี พ.ร.บ. ข้อมูลข่าวสารราชการ ความคาดหวังของประชาชนและสังคม
ปรัชญา / ทฤษฎีทางจริยธรรม ปัจจัยเหตุ ปัจจัยแกน ปัจจัยผล ความเฉลียวฉลาดทางจริยธรรม กระบวนการพัฒนาจริยธรรม / จรรยาข้าราชการ ความเชื่อทางศาสนา
ปัจจัย อุปสรรคของสังคมไทย สถานการณ์ทุจริต ประพฤติมิชอบของสังคมไทย วัฒนธรรม / ค่านิยม / ทัศนคติ การอุปถัมภ์พวกพ้อง บุญคุณ นับถือคนรวย คนมีอำนาจ ทัศนคติต่อความดี / ความซื่อสัตย์ ค่านิยม “ธุระไม่ใช่” “โกงไม่เป็นไร” ฯลฯ
ปรัชญาของสังคมไทยที่ควรส่งเสริม ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การปฏิบัติตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ค่านิยม / คุณลักษณะทางจิตใจ ลักษณะชาตินิยม ประชาธิปไตย จิตสำนึกสาธารณะ การเคารพศักดิ์ศรีประชาชน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (ทรัพย์สินสาธารณะ)
ตัวชี้วัดที่ 5.4 ระดับ 1 จัดทำร่างจรรยาข้าราชการของส่วนราชการนำเสนอการพิจารณาของ อ.ก.พ. ของส่วนราชการ เพื่อให้ความเห็นชอบและให้การรับรองว่าจะให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถใช้จรรยาข้าราชการของส่วนราชการนี้อย่างมีประสิทธิผล และจึงนำมาประกาศใช้ จัดทำหรือปรับปรุงกลไกต่างๆ ทางด้านการบริหารและการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อรองรับการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ เช่น การจัดตั้งหรือมอบหมายให้มีหน่วยเฉพาะในการดูแลจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ การปรับระเบียบการบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องกับจรรยาข้าราชการ เป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 5.4 ระดับ 2 จัดทำสำเนาจรรยาข้าราชการของส่วนราชการทั้งที่เป็นเอกสารและสื่ออื่นๆแจกจ่ายให้กับข้าราชการในส่วนราชการทุกคน และจัดเก็บไว้ในสถานที่ต่างๆที่ข้าราชการสามารถค้นหามาอ่านได้ง่ายและสะดวก กำหนดช่วงระยะเวลาหนึ่งสำหรับการเผยแพร่และฝึกอบรมทำความเข้าใจในสาระและวิธีการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ ให้โอกาสข้าราชการทุกคนมีการตอบสนองต่อเนื้อหาของจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ และแนวทางปฏิบัติเมื่อพบกับเหตุการณ์ที่อาจทำผิดหรือไม่แน่ใจว่าควรจะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะถูกต้อง
ตัวชี้วัดที่ 5.4 ระดับ 3 ข้าราชการทุกคนจะต้องลงนามยืนยันว่าจะยึดมั่นปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ จะเข้าร่วมในการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้องและแสวงหาหนทางในการปฏิบัติที่เหมาะสมตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการและรายงานหรือจัดการกับกรณีที่มีการละเมิดจรรยานี้ กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับใช้จรรยาข้าราชการของส่วนราชการ เช่น การให้รางวัลและการลงโทษ วิธีการรายงานการกระทำผิดและการไต่สวนหาข้อเท็จจริงเป็นต้น
ตัวชี้วัดที่ 5.4 ระดับ 4 จัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ รวมทั้งนำเรื่องนี้บรรจุไว้ในหลักสูตรต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วย
ตัวชี้วัดที่ 5.4 ระดับ 5 กำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการจากทุกหน่วยงานในส่วนราชการ และสรุปผลรวมในรายงานประจำปีของส่วนราชการ เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ทราบสภาพการดำเนินงานด้านจริยธรรมของส่วนราชการ
การนำจรรยาข้าราชการของส่วนราชการไปใช้ นำร่างจรรยาข้าราชการของส่วนราชการเพื่อให้ อ.ก.พ. ของส่วนราชการ ความเห็นชอบและให้การรับรองว่าจะให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ เพื่อให้ส่วนราชการสามารถใช้จรรยาข้าราชการของส่วนราชการนี้ได้อย่างมีประสิทธิผล แล้วจึงนำไปประกาศใช้ จัดทำหรือปรับปรุงกลไกต่าง ๆ ทางด้านการบริหารและการบริหารทรัพยากรบุคคล จัดทำสำเนาจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ แจกจ่ายให้กับข้าราชการในส่วนราชการทุกคน เผยแพร่และฝึกอบรมทำความเข้าใจในสาระและวิธีการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ
การนำจรรยาข้าราชการของส่วนราชการไปใช้ ลงนามยืนว่าจะยึดมั่นปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ กำหนดหลักเกณฑ์ในการบังคับใช้จรรยาข้าราชการของส่วนราชการ จัดการฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ กำหนดให้มีการรายงานผลการดำเนินงานตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ ทบทวนจรรยาข้าราชการของส่วนราชการเป็นประจำ อย่างน้อย 2 ปีต่อครั้ง
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ผู้บริหารระดับสูง สร้างและรักษาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับนโยบาย กระบวนงาน ข้อตกลง และการ ฝึกอบรมต่างๆ ที่สอดคล้องและสนับสนุนต่อการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ สร้างกระบวนการดำเนินงานที่จะก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ แสดงภาวะความเป็นผู้นำที่มีจริยธรรมอย่างสูงและเป็นตัวแบบในการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ ควบคุม กำกับดูแลและส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ ส่งเสริมบรรยากาศการทำงานให้เอื้อต่อการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของ ส่วนราชการ ทำให้แน่ใจได้ว่าผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีได้เข้ารับการฝึกอบรมด้านจริยธรรมอย่างสม่ำเสมอ
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ หน่วยงานบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคล การกำหนดวิธีการที่จะทำให้แน่ใจว่าพนักงานได้รับทราบและเข้าใจจรรยาข้าราชการของส่วนราชการแล้ว ตรวจสอบและปรับปรุงกระบวนการทำงานด้านบริหารทรัพยากรบุคคลให้สอดคล้องและส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ วางแผนและดำเนินการจัดการฝึกอบรมด้านจริยธรรมและจรรยาข้าราชการของ ส่วนราชการเป็นไปอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ กำหนดให้มีการประเมินพฤติกรรมของข้าราชการในด้านที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการปฏิบัติราชการ เป็นตัวอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติด้วยการยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ผู้บังคับบัญชา/หัวหน้างาน กระตุ้นให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการฝึกอบรมด้านจริยธรรมและจรรยาข้าราชการของ ส่วนราชการอย่างทั่วถึง จัดให้มีเอกสารที่เกี่ยวข้องกับจรรยาข้าราชการของส่วนราชการในสถานที่ทำงาน ให้มีการสนทนาเกี่ยวกับหลักการ/ความถูกต้องในระหว่างการบังคับบัญชา/ให้คำแนะนำในการทำงาน อภิปรายประเด็นเกี่ยวกับจริยธรรมและจรรยาข้าราชการของส่วนราชการในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีด้วยการปฏิบัติที่ยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ตัวข้าราชการ อ่าน ทำความเข้าใจและยอมรับในจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม ปฏิบัติตามจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ ด้วยการยึดมั่นในหลักการที่ถูกต้อง สนับสนุนและเสริมสร้างพฤติกรรมและบรรยากาศการทำงานที่มีจริยธรรม เข้าร่วมการฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งแสวงหาความรู้ ความเข้าใจเพิ่มเติมตามโอกาสที่มี ปรึกษากับผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคล หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย ถ้าไม่แน่ใจว่าสิ่งที่จะปฏิบัติถูกต้องหรือไม่ ต้องแจ้งให้ผู้บังคับบัญชา หรือหน่วยงานบริหารทรัพยากรบุคคล หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ทราบถึงการฝ่าฝืนข้อบังคับจรรยาข้าราชการของส่วนราชการ
การพัฒนาโปรแกรมด้านจริยธรรมในองค์กร หา Champion การได้รับการรับรอง ค้นหาตัวปัญหา หยิบยกตัวอย่างที่ดี สร้างหลักเกณฑ์ ทดลองใช้ เผยแพร่ให้รู้จัก ใช้ให้เกิดผล
ขั้นตอนการนำไปใช้ การรับรอง การรวมเข้ากับการทำงาน การหมุนเวียน การตอบสนองของบุคคล การยืนยัน การผูกมัด การทบทวน การบังคับใช้ การฝึกอบรม การแปลภาษา การแจกจ่าย การรายงาน
การทำให้เกิดประสิทธิผลในการปฏิบัติ กฎเกณฑ์จะต้องมาจากคุณค่าทางจริยธรรมที่ยึดถือ ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนได้รับสำเนา หาวิธีการรายงานการละเมิดกฎในทางลับ ใส่ประเด็นเรื่องจริยธรรมลงในหลักสูตรการฝึกอบรม จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบประสิทธิผลของการดำเนินงาน รายงานผลการปฏิบัติตามกฎนี้ในรายงานประจำปี นำเรื่องนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้าง แปลให้ครบทุกภาษาของประเทศที่มีผู้ปฏิบัติงานอยู่ ทำสำเนาให้กับหุ้นส่วนธุรกิจและผู้จัดหาสินค้า ทบทวนกฎเมื่อธุรกิจกำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลง เจ้าหน้าที่ระดับสูงต้อง “walk the talk”
ร่างจรรยาข้าราชการ สมอ. ยึดมั่นและยืนหยัดในสิ่งที่ถูกต้อง มีความซื่อสัตย์สุจริตและรับผิดชอบ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่เลือกปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ปฏิบัติหน้าที่โดยมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน
ค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม การมีจิตสำนึกที่ดี ซื่อสัตย์ สุจริต และรับผิดชอบ การยึดถือประโยชน์ของประเทศชาติเหนือกว่าประโยชน์ส่วนตนและไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน การยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย การให้บริการแก่ประชาชนด้วยความรวดเร็วมีอัธยาศัย และไม่เลือกปฏิบัติ
ค่านิยมหลักของมาตรฐานจริยธรรม 6. การให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่าครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง 7. การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษามาตรฐาน มีคุณภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ 8. การยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข 9. การยึดมั่นในหลักจรรยาวิชาชีพขององค์กร
ประมวลจริยธรรม ต้องยึดมั่นในจริยธรรมและยืนหยัดกระทำในสิ่งที่ถูกต้องและเป็นธรรม ต้องมีจิตสำนึกที่ดีและความรับผิดชอบต่อหน้าที่ เสียสละ ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ ต้องแยกเรื่องส่วนตัวออกจากตำแหน่งหน้าที่ และยึดถือประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติเหนือประโยชน์ส่วนตน
ประมวลจริยธรรม ต้องละเว้นจากการแสวงหาประโยชน์ที่มิชอบโดยอาศัยตำแหน่งหน้าที่และไม่กระทำการอันเป็นการขัดกันระหว่างประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์ส่วนรวม ต้องเคารพและปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายอย่างตรงไปตรงมา ต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเที่ยงธรรม เป็นกลางทางการเมือง ให้บริการแก่ประชาชนด้วยอัธยาศัยที่ดีและไม่เลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม
ประมวลจริยธรรม ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการอย่างเคร่งครัดและรวดเร็ว ไม่ถ่วงเวลาให้เนิ่นช้าและใช้ข้อมูลข่าวสารที่ได้จากการดำเนินงานเพื่อการในหน้าที่ และให้ข้อมูลข่าวสารแประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง ทันการณ์ และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง ต้องมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน รักษาคุณภาพและมาตรฐานแห่งวิชาชีพโดยเคร่งครัด
ประมวลจริยธรรม ต้องยึดมั่นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการดำรงตน รักษาชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของข้าราชการโดยรวม