อุทธรณ์
อุทธรณ์ การอุทธรณ์ หมายถึง การที่ผู้ถูกลงโทษทาง วินัยและถูกสั่งให้ออกจากราชการร้องขอให้ผู้ที่มี อำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ได้ยกเรื่อง ขึ้นพิจารณาใหม่เพื่อให้เป็นไปในทางที่เป็นคุณ แก่ตนเอง
กรณีใดบ้างที่มีสิทธิอุทธรณ์ ผู้ที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ได้มี ๒ กรณี คือ ๑. กรณีที่ถูกสั่งลงโทษทางวินัย ๒. กรณีถูกสั่งให้ออกจากราชการ ตามมาตรา ๑๑๐
ผู้มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ ๑. ผู้ที่ถูกสั่งลงโทษทางวินัย ๒. ผู้ที่ถูกสั่งให้ออกจากราชการตามมาตร ๑๑๐ ๓. ทายาทของผู้มีสิทธิได้รับบำเหน็จตกทอดตามข้อ ๑ และข้อ ๒ ในกรณีที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่ความตาย ก่อนที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ ๔. ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลตามข้อ ๑ , ๒ และ ๓
หนังสืออุทธรณ์ต้องทำอย่างไร ๑. ต้องทำเป็นหนังสือ ๒. ชี้แจงข้อเท็จจริงหรือ ข้อกฎหมายที่ยกขึ้นเป็นข้อคัดค้าน ๓. คำขอของผู้อุทธรณ์ ๔. ลงลายมือชื่อผู้อุทธรณ์
กำหนดเวลาในการยื่นอุทธรณ์ ๓๐ วันนับแต่วันที่ทราบหรือถือว่า ทราบคำสั่ง (ม. ๑๒๑)
อุทธรณ์ต่อใคร ๑. คำสั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการให้ยื่นต่อ ก.ค.ศ. ๑. คำสั่งปลดออกหรือไล่ออกจากราชการให้ยื่นต่อ ก.ค.ศ. ๒. คำสั่งลงโทษวินัยไม่ร้ายแรงของ เลขา สพฐ. หรือ คำสั่ง ของ ผู้บังคับบัญชาซึ่งตามมติ ของ อ.ก.ค.ศ. ให้อุทธรณ์ต่อ ก.ค.ศ. ๓. คำสั่งลงโทษวินัยไม่ร้ายแรงของ ผู้อำนวยการสำนักงานเขต พื้นที่หรือผู้อำนวยการสถานศึกษา ให้อุทธรณ์ต่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่
ผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ กรณีอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัย ๑. ถ้าเห็นว่าการลงโทษเหมาะสมกับ ความผิด ให้ยกอุทธรณ์ ๒. ถ้าเห็นว่าการลงโทษเหมาะสมกับความผิดสามารถ เพิ่มโทษหรือลดโทษได้ ๓. ถ้าเห็นว่าผู้อุทธรณ์ไม่ได้กระทำความผิด หรือการกระทำไม่เป็นความผิดให้ยกโทษ
ผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ (ต่อ) ผลการวินิจฉัยอุทธรณ์ (ต่อ) ผลการวินิจฉัยของ อ.ก.ค.ศ. หรือ ก.ค.ศ. ถือเป็นที่สุดจะอุทธรณ์หรือ ร้องทุกข์ต่อไปไม่ได้ แต่ สามารถนำคดีไปฟ้องต่อ ศาลปกครองได้