ความรู้เรื่องการจับกุม ตาม ป.วิ อาญา โดย นายมนูญ ประสิทธิศาสตร์
มาตรา ๗/๑ ผู้ถูกจับ หรือผู้ต้องหาซึ่งถูกควบคุมหรือขังมีสิทธิแจ้งหรือขอให้เจ้าพนักงานแจ้งให้ญาติหรือผู้ซึ่งผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหาไว้วางใจทราบถึงการถูกจับกุมและสถานที่ที่ถูกควบคุมในโอกาสแรกและให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีสิทธิดังต่อไปนี้
การแจ้งสิทธิ (๑) พบและปรึกษาผู้ซึ่งจะเป็นทนายความเป็นการเฉพาะตัว (๒) ให้ทนายความหรือผู้ซึ่งตนไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำตนได้ในชั้นสอบสวน (๓) ได้รับการเยี่ยมหรือติดต่อกับญาติได้ตามสมควร (๔) ได้รับการรักษาพยาบาลโดยเร็วเมื่อเกิดการเจ็บป่วย
ผู้มีหน้าที่แจ้งสิทธิ (๑) พนักงานฝ่ายปกครอง (๒) หรือตำรวจ ซึ่งรับมอบตัวผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหามีหน้าที่แจ้งให้ผู้ถูกจับหรือผู้ต้องหานั้นทราบในโอกาสแรกถึงสิทธิตามวรรคหนึ่ง
ขั้นตอนการจับกุม (๑) แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกจับทราบ (๒) มีหมายจับแสดงหมายต่อผู้ถูกจับ พร้อมแจ้งสิทธิดังนี้ ๒.๑ ไม่ให้การหรือให้การก็ได้ ๒.๒ ถ้อยคำของผู้ถูกจับนั้นอาจใช้เป็นพยานหลักฐานในการพิจารณาคดีได้ ๒.๓ มีสิทธิพบและปรึกษาทนาย ๒.๔ ถ้าผู้ถูกจับประสงค์จะแจ้งญาติ/ผู้ซึ่งตนไว้ใจ จพง.ดำเนินการตามสมควร (จพง.บันทึกไว้ด้วย) ๒.๕ ถ้าผู้ถูกจับขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับกุม ให้ป้องกันเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์
ถ้าผู้จะถูกจับมีพฤติกรรมดังต่อไปนี้ (๑) ขัดขวางหรือจะขัดขวางการจับ (๒) หลบหนีหรือพยายามจะหลบหนี ผู้ทำการจับมีอำนาจใช้วิธีหรือการป้องกันทั้งหลายเท่าที่เหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งเรื่องในการจับกุมนั้น
การดำเนินการหลังการจับกุม เจ้าพนักงานหรือราษฎรผู้ทำการจับกุมต้องดำเนินการดังต่อไปนี้ (๑) เอาตัวผู้ต้องหาไปยังที่ทำการของพนักงานสอบสวนตามมาตรา ๘๓ โดยทันที (๒) เมื่อถึงที่นั้นแล้ว ให้ส่งตัวผู้ถูกจับแก่พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจของที่ทำการของพนักงานสอบสวนดังกล่าวเพื่อดำเนินการต่อไปนี้