การบูรณาการของนโยบายการคลัง (10-1-55) สรุปเนื้อหาการบรรยาย หลักสูตรนักการ คลังมืออาชีพ (นคอ.) รุ่นที่ 1
บูรณาการนโยบายการคลัง (1) หมายถึงการดำเนินนโยบายการคลังแบบเบ็ดเสร็จ ทั้งในด้านรายได รายจ่าย และหนี้ สาธารณะ รายได้จากทั้งรายได้ภาษีอากร รายได้จากรัฐวิสาหกิจ และรายได้อื่นๆ รายจ่าย ผ่านกระบวนการงบประมาณ โดยออกเป็น พรบ. งบประมาณประจำปี และ กรอบวงเงินงบประมาณรายได้ โดยยึดแผนบริหารราชการแผ่นดิน กรอบความยั่งยืน ทางการคลัง (หนี้สาธารณะต่อ GDP ภาระหนี้ต่องบประมาณรายจ่าย งบลงทุน) และ กรอบวินัยการคลัง (การขาดดุลงบประมาณ งบชำระคืนต้นเงินกู้) หนี้สาธารณะผ่านกรอบ พรบ. หนี้สาธารณะ ซึ่งครอบคลุมการกู้เงิน การค้ำประกันเงินกู้ การปรับโครงสร้างหนี้ และ การให้กู้ต่อ กฎหมายจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ กฎหมายของหน่วยงานที่ไม่เป็นส่วนราชการ และกฎหมายเฉพาะ กิจ (ปรับโครงสร้างหนี้ต่างประเทศ พื้นฟูเศรษฐกิจ และชดใช้ความเสียหาย FIDF)
บูรณาการนโยบายการคลัง (2) กรณีหนี้สาธารณะ ในประเด็นเพดานการกู้เงินและการค้ำประกัน กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ (ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย บวกด้วย ร้อยละ 80 ของงบชำระคืนเงินกู้) กู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (ไม่เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่าย) กู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ (Prepay, Refinance, Roll Over, Innovation) ไม่เกินยอด หนี้คงค้าง การค้ำประกันรัฐวิสาหกิจ (ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย) กรณีให้กู้ต่อในประเทศ (ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่าย) และกู้ต่างประเทศ (ไม่ เกินร้อยละ 10 ของงบประมาณรายจ่าย) แผนการบริหารหนี้สาธารณะ (แผนการบริหารราชการแผ่นดิน นโยบายรัฐ กรอบเพดาน เงินกู้ กรอบความยั่งยืนทางการคลัง กรอบวินัยการคลัง สถานการณ์เศรษฐกิจ และภาระ การคลัง )
กรณีตัวอย่างวิกฤติ 2540 (1) การกู้ต่างประเทศเพื่อหาประโยชน์จากส่วนต่างของดอกเบี้ย การโจมตีค่าเงินบาทและ การป้องกันค่าเงินบาทไม่ให้แข็งจนเกินไป (การไม่เปิดเผยตัวเลขเงินสำรองที่เหลืออยู่ ของธนาคารแห่งประเทศไทย) บวกกับการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของประเทศ ทำให้ ปัญหามีความรุนแรงขึ้น ทำให้ต้องเข้าอยู่ในการดูแลของ IMF ทำให้สามารถกู้เงินได้เพื่อ พื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ นโยบายในการดูแลค่าเงินที่ไม่ยืดหยุ่น รวมถึงนโยบายดอกเบี้ยที่สูงเกินไป ทำให้เกิด วิกฤติขึ้น กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพื่อให้สถาบันการเงินกู้ (มีหลักประกัน 100%) เพื่อปล่อยกู้ต่อ โดยอยู่ในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยต่อมาเมื่อเกิดความเสียหาย รัฐจึง ตัดสินใจเข้าช่วยเหลือ (ธนาคารแห่งประเทศไทยรับผิดชอบเงินต้น และ กระทรวงการคลังรับผิดชอบดอกเบี้ย) ภายหลังเมื่อธนาคารแห่งประเทศไทยขาดทุน เนื่องจากการบริหารอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้ไม่สามารถชำระเงินต้นได้ และ กระทรวงการคลังต่อเสียดอกเบี้ยกว่าปีละ 6 หมื่นล้านบาท
กรณีตัวอย่างวิกฤติ 2540 (2) หากรัฐบาลรับหนี้ FIDF มาเป็นของรัฐบาล ก็จะทำให้เกิดปัญหาความยั่งยืน ทางการคลัง เนื่องจากจะทำให้หนี้สาธารณะของประเทศสูงขึ้น อาจมีผลกระทบ ต่อการดำเนินนโยบายการคลังในอนาคตได้