องค์ประกอบของนาฏศิลป์ไทย ๑. การฟ้อนรำ ๒. จังหวะ ๓. เนื้อร้องและทำนองเพลง ๔.การแต่งกาย ๕. การแต่งหน้า ๖. เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอยการแสดง ๗. อุปกรณ์การแสดงละคร นางศุจินันท์ ฉลาด โรงเรียนโชคชัยสามัคคี นครราชสีมา
การฟ้อนรำ การฟ้อนรำหรือลีลาท่ารำ เป็นท่าทางของการเยื้องกรายฟ้อนรำที่สวยงามโดยมีมนุษย์เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำเหล่านั้นให้ถูกต้องตามแบบแผน รวมทั้งบทบาทและลักษณะของตัวละคร ประเภทของการแสดงและการสื่อความหมายที่ชัดเจน
จังหวะ จังหวะเป็นส่วนย่อยของบทเพลงที่ดำเนินไปเป็นระยะและสม่ำเสมอ การฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยจำเป็นต้องใช้จังหวะเป็นพื้นฐานในการฝึกหัด เพราะจังหวะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติละมีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน หากผู้เรียนมีทักษะทางการฟังจังหวะแล้ว ก็จะสามารถรำได้สวยงาม แต่ถ้าผู้เรียนไม่เข้าใจจังหวะก็จะทำให้รำๆไม่ถูกจังหวะหรือเรียกว่า “ บอดจังหวะ” การรำก็จะไม่สวยงามและไม่ถูกต้อง
เนื้อร้องและทำนองเพลง การแสดงท่ารำแต่ละครั้งจะต้องสอดคล้องตามเนื้อร้อง และทำนองเพลง ทั้งนี้เพื่อบอกความหมายของท่ารำ ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในการแสดงได้ตามเนื้อเรื่อง ตลอดจนสามารถสื่อความหมายให้กับผู้ชมเข้าใจตรงกันได้ เช่น การแสดงอารมณ์รัก ผู้รำจะประสานมือทาบไว้ที่หน้าอกใบหน้ายิ้มละไม สายตามองไปยังตัวละครที่รำคู่กัน เป็นต้น
การแต่งกาย การแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์ สามารถบ่งบอกถึงยศ ฐานะและบรรดาศักดิ์ของผู้แสดงตัวนั้นๆ โดยเฉพาะการแสดงโขน การแต่งกายจะเปรียบเทียบแทนสีกายของตัวละคร เช่น เมื่อแสดงเป็นหนุมานจะต้องแต่งกายด้วยชุดสีขาวมีลายปักแทนขนเป็นลายทักษิณาวัตร สวมหัวโขนสีขาว เป็นต้น พระรามมีกายสีเขียว ทศกัณฐ์ ก็คือยักษ์นนทุกกลับชาติมาเกิด มี 10 หน้า 20 มือ มีสีกายเป็นสีเขียว หนุมาน เป็นลิงเผือก (กายสีขาว)
การแต่งหน้า การแต่งหน้าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ทำให้ผู้แสดงสวยงามและอำพรางข้อบกพร่องของใบหน้าของผู้แสดงได้ และการแต่งหน้ายังสามารถบ่งบอกถึงวัย ลักษณะเฉพาะของตัวละครได้ เช่น แต่งหน้าคนหนุ่มให้เป็นคนแก่ หรือแต่งหน้าผู้แสดงให้เป็นตัวตลก เป็นต้น
เครื่องดนตรีที่บรรเลงประกอบการแสดง การแสดงนาฏศิลป์จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้เครื่องดนตรีบรรเลงประกอบการแสดง ดังนั้นผู้แสดงจะต้องรำให้สอดคล้องตามเนื้อร้องและทำนองเพลง ในขณะเดียวกัน ดนตรีเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในการช่วยเสริมให้การแสดงสมบูรณ์และสื่อความหมายได้ชัดเจนมากขึ้น อีกทั้งยังช่วยเสริมบรรยากาศในการแสดงให้สมจริงยิ่งขึ้นด้วย ภาคใต้ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน
อุปกรณ์การแสดงละคร การแสดงบางชุด อาจต้องมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงละครด้วย เช่นระบำพัด ระบำนกเขา ฟ้อนเทียน ฟ้อนเล็บ ฟ้อนร่ม เป็นต้น อุปกรณ์แต่ละชนิดที่ใช้ประกอบการแสดงจะต้องสมบูรณ์ สวยงาม และการแสดง เช่น ร่ม ผู้แสดงจะต้องมีทักษะในการใช้อุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่ว วางในระดับที่ถูกต้อง สวยงาม ฟ้อนดาบ ระบำร่ม(ฟ้อนจ้อง “ระบำพัดใบพ้อ”