Data Warehouse (คลังข้อมูล) แนวคิดเกี่ยวกับคลังข้อมูล สถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล
แนวคิดเกี่ยวกับคลังข้อมูล คลังข้อมูล คือ ที่เก็บข้อมูลขององค์กรที่ได้รับการออกแบบ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของฝ่ายบริหารโดยระบบข้อมูลเพื่อการบริหารจะแยกจากฐานข้อมูลงานประจำวัน ซึ่งอาจได้ข้อมูลจากฐานข้อมูลงานประจำวันหรือจากภายนอกองค์กร และเก็บข้อมูลในรูปแบบข้อมูลสรุป นอกจากนี้ในคลังข้อมูลยังเก็บเครื่องมือสำหรับดำเนินการกับข้อมูล กระบวนการทำงานกับข้อมูล และทรัพยากรอื่นๆ เป้าหมายในการสร้างคลังข้อมูล เพื่อแยกกลุ่มข้อมูลสารสนเทศที่ใช้ในการวิเคราะห์ทางธุรกิจออกจากฐานข้อมูลที่ใช้งานประจำวัน ให้เกิดประสิทธิภาพสูง และทำให้การเรียกใช้ข้อมูลชุดนี้ทำได้อย่างยืดหยุ่น รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ประโยชน์ของคลังข้อมูล ทำการรวบรวมข้อมูลที่มีความซับซ้อนให้ง่ายต่อการจัดเก็บ สามารถนำข้อมูลมาใช้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
Data Warehouse Architecture Diagram
สถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล คุณสมบัติของระบบฐานข้อมูลคลังข้อมูล Subject Oriented : ข้อมูลถูกสร้างจากหัวข้อที่สนใจ Integrated : ข้อมูลถูกรวบรวมจากแหล่งต่างๆ แต่นำมาสร้างเป็นฐานข้อมูลที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว Time-variant : ข้อมูลที่เก็บไว้ต้องมีอายุประมาณ 5-10 ปี เพื่อใช้เปรียบเทียบ หาแนวโน้มและทำนายผลลัพธ์ในอนาคต Non-volatile : ข้อมูลไม่ถูกเปลี่ยนแปลงจากผู้ใช้ โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เท่านั้น
สถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล ความแตกต่างของระบบฐานข้อมูลคลังข้อมูลกับระบบฐานข้อมูลงานประจำวัน (OLTP) Consistency : ความสอดคล้องกันของข้อมูล Transaction Time dimension : OLTP จะทำงานอย่างรวดเร็ว และข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่วนคลังข้อมูลตลอดวันไม่ค่อยมีการเปลี่ยนแปลง Normalization : คลังข้อมูลไม่ต้องการทำ normalization
สถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล ส่วนประกอบของคลังข้อมูล เครื่องมือสกัดแยกข้อมูล ข้อมูลที่สกัดและแยกออกมาแล้ว เมตาดาตาสำหรับแสดงเนื้อหาข้อมูล ฐานข้อมูลสำหรับคลังข้อมูล เครื่องมือจัดเก็บข้อมูลในคลังข้อมูล
สถาปัตยกรรมของคลังข้อมูล กระบวนการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์หารูปแบบข้อมูลในคลังข้อมูล ขั้นตอนที่ 1 เลือก business process ขั้นตอนที่ 2 เลือกข้อมูลพื้นฐานที่เก็บอยู่ในตารางหลักของ business process ขั้นตอนที่ 3 เลือก dimension ที่จะถูกนำมาใช้กับแต่ละแถวของตารางหลัก ขั้นตอนที่ 4 เลือก measured fact (ข้อมูลที่มีการวัด, การประมวลผล หรือการคำนวณไว้แล้ว)