การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing)
ความหมายของสมมติฐาน สมมติฐาน คือ คำตอบที่ผู้วิจัยคาดคะเนไว้ล่วงหน้าอย่างมีเหตุผล หรือ ข้อความที่อยู่ในรูปของการคาดคะเนความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว หรือมากกว่า 2 ตัวเพื่อใช้ตอบปัญหาหรือข้อสงสัยที่ต้องการศึกษา สมมติฐานที่ตั้งอาจเป็นสมมติฐานที่ถูกหรือผิดก็ได้ จึงต้องมีกระบวนการในการทดสอบสมมติฐานว่าสมมติฐานที่ตั้งขึ้นนั้นถูกหรือผิด
ประเภทของสมมติฐาน สมมติฐานแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ 1. สมมติฐานทางการวิจัย (Research Hypothesis) 2. สมมติฐานทางสถิติ (Statistical Hypothesis)
ประเภทของสมมติฐาน 1. สมมติฐานทางการวิจัย เป็นคำตอบที่ผู้วิจัยคาดการณ์ไว้ล่วงหน้า และเป็นข้อความที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวขึ้นไป เพื่อชี้ให้เห็นว่าผู้วิจัยสงสัย หรือคาดการณ์ว่าจะได้ผลอย่างไร เช่น - ผู้บริหารเพศชายมีประสิทธิภาพในการบริหารงานมากกว่าผู้บริหารเพศหญิง - เจตคติต่อวิชาสถิติมีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสถิติ 2. สมมติฐานทางสถิติ เป็นสมมติฐานที่ตั้งขึ้นเพื่อใช้ทดสอบว่า สมมติฐานทางการวิจัยที่ผู้วิจัยตั้งไว้เป็นจริงหรือไม่ โดยเขียนอยู่ในรูปของสัญลักษณ์ทางสถิติ โดยสัญลักษณ์ที่ใช้ จะใช้แทนพารามิเตอร์
การตั้งสมมติฐานทางสถิติ สมมติฐานเพื่อการทดสอบ หรือสมมติฐานว่าง (Null Hypothesis: H0) เป็นสมมติฐานที่ระบุค่าพารามิเตอร์ที่สงสัยว่าจะมีค่าเป็นค่าใดค่าหนึ่งที่สนใจ บางครั้งเรียกว่า “สมมติฐานหลัก” ในการตั้งสมมติฐานว่าง เครื่องหมายที่ใช้ทดสอบได้แก่ และ เท่านั้น 2. สมมติฐานแย้ง หรือสมมติฐานทางเลือก (Alternative Hypothesis: H1) เป็นสมมติฐานที่ตรงกันข้ามกับสมมติฐานที่ต้องการทดสอบ บางครั้งเรียกว่า “สมมติฐานรอง” ในการตั้งสมมติฐานแย้ง จะต้องตรงข้ามกับสมมติฐานว่าง
ถ้าให้ เป็นพารามิเตอร์ เป็นค่าคงที่ที่ทราบค่า โดยทั่วไปการตั้งสมมติฐานเป็นดังนี้
เกิดความคลาดเคลื่อน แบบที่ 2 เกิดความคลาดเคลื่อน แบบที่ 1 ความผิดพลาดในการทดสอบสมมุติฐาน การตัดสินใจ ข้อเท็จจริงของ H0 H0 เป็นจริง H0 เป็นเท็จ ยอมรับ H0 ตัดสินใจถูกต้อง ตัดสินใจผิดพลาด เกิดความคลาดเคลื่อน แบบที่ 2 ปฏิเสธ H0 เกิดความคลาดเคลื่อน แบบที่ 1
การทดสอบสมมติฐานทางเดียว (Single – Sided Alternative Hypothesis Test) ด้านซ้าย 2) การทดสอบสมมติฐานทางเดียว ด้านขวา
การทดสอบสมมติฐานสองทาง (Two – Sided Alternative Hypothesis Test)
ตารางสรุปเครื่องหมายของการทดสอบแบบต่างๆ
ขั้นตอนในการทดสอบสมมติฐาน กำหนดสมมติฐาน ทั้งสมมติฐานหลัก (H0) และสมมติฐานทางเลือก (H1) 2) กำหนดระดับนัยสำคัญ ( ) 3) เลือกสถิติเพื่อใช้ในการทดสอบให้เหมาะสม 4) คำนวณค่าสถิติทดสอบ 5) หาค่าวิกฤต อาณาเขตวิกฤต 6) สรุปผลและแปลความหมาย