ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ แมลงที่สำคัญทางการแพทย์ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ แมลงที่สำคัญทางการแพทย์ อนุพันธ์ สุวรรณพันธ์
แมลงมีมากกว่า 5 ล้านชนิด บางชนิดเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญทางสาธารณสุข โดยเฉพาะประเทศไทยที่อยู่ในเขตศูนย์สูตร
ริ้นฝอยทราย (Sand flies) เป็นแมลงขนาดเล็ก สีน้ำตาลและมีขนเต็มตัว มีปีกแคบ 1 คู่ เมื่อถูกรบกวนจะบินแบบกระโดด
ริ้นฝอยทราย (Sand flies) ชอบเกาะพักตามที่กำบัง มืด และชื้นแฉะ ปกติกินน้ำเลี้ยงต้นไม้ และน้ำหวาน เฉพาะตัวเมียที่มีปากแทงดูดเลือดจากสัตว์ด้วย ชอบหากินนอกบ้านเวลากลางคืน
ริ้นฝอยทราย (Sand flies) ออกไข่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ ครั้งละ 15-80 ฟอง ไข่รูปทรงรี สีดำ ฟักเป็นตัวอ่อนภายใน 6-17 วัน ตัวอ่อนมีสีขาว ตัวอ่อนมี 4 ระยะ ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์ ในระยะที่ 4 ใช้ใช้เวลา 10 วันจึงเป็นตัวเต็มวัย
ริ้นฝอยทราย (Sand flies) เป็นพาหะนำโรค ได้แก่ Leishmaniasis ที่เกิดจาดโปรโตซัว พบในอเมริกากลาง อเมริกาใต้ ยุโรปใต้ แอฟริกา ตะวันออกกลางและเอเชีย จำนวนผู้ป่วย 12 ล้านคน มีคนไข้ใหม่มากกว่า 400,000 คนต่อปี
ริ้นฝอยทราย (Sand flies) แบ่งได้ 3 ชนิด คือ ชนิดที่ไม่รุนแรง จะมีอาการที่ผิวหนัง มีตุ่มเล็กๆ ที่ผิวและแตกออกเป็นแผล อาจมีกว่า 100 แผลก็ได้ ชนิดรุนแรงที่ทำให้ติดเชื้อที่อวัยวะภายใน (Visceral Leishmaniasis) มีชื่อเรียกว่า โรคคาลา อาซา (Kala azar) ผู้ป่วยจะมีอาการไข้เรื้อรัง ซีด น้ำหนักลด ม้ามและตับโต หมดเรี่ยวแรง ชนิดที่เกิดขึ้นกับเยื่อเมือก (Mucocutaneous Leishmaniasis) ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายกับที่เกิดขึ้นที่ผิวหนัง แต่จะเกิดแผลลุกลามในอวัยวะที่มีเยื่อเมือก เช่น จมูก ปาก เป็นต้น
ริ้นฝอยทราย (Sand flies) Sand fly fever เป็นไข้ระยะสั้น จากเชื้อไวรัส พบในบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน จีนตอนใต้ อินเดีย ศรีลังกา เอเชียกลาง Bartonellosis เป็นโรคจากเชื้อแบคทีเรีย Bartonella bacilliformis พบบริเวณภูเขาในประเทศเปรู โคลัมเบีย เอกวาดอร์
ริ้นฝอยทราย (Sand flies) การควบคุม พ่นสารเคมีกำจัดแมลงที่มีฤทธิ์ตกค้างตามแหล่งเกาะพัก กำจัดขยะ ปะรอยแตกตามกำแพงและพื้นดิน ทาสารป้องกันยุงไม่ให้ริ้นกัด
เหาและโลน ที่สำคัญมี 3 ชนิด เหาหัว (Head louse) เหาตัว (Body louse) โลน (Pubic louse)
เหาหัวและเหาตัว
เหาหัวและเหาตัว
เรือด (Bed bugs) เพศผู้ เพศเมีย
อุปนิสัยของเรือด - ทั้งตัวผู้และตัวเมียดูดเลือดเป็นอาหาร - ออกหากินเวลากลางคืน (ส่วนมาก) - มักหลบตามขอบที่นอน หลังกรอบรูป ขอบประตู รอยแตกผนัง
การควบคุมเรือด 1. การกำจัดแหล่งอาศัย - ใช้ความร้อนหรือแสงแดดไล่ - ปิดรอยแตกบ้านหรือเฟอร์นิเจอร์ 2. การใช้สารเคมี - มาลาไธออน หรือ ลินเดน
ไร (Mites) ตัวอ่อน (Chigger , Scrubitch Mites) ตัวเต็มวัย
อุปนิสัยของไร วางไข่บนดิน เมื่อตัวอ่อน ออกจากไข่ จะอาศัยตามพื้นหญ้า พุ่มไม้ เมื่อสัตว์เลือดอุ่นผ่านมา จะเกาะ กินน้ำเหลืองเป็นอาหาร
ความสำคัญทางการแพทย์ 1. โรค Scrubitch 2. เป็นพาหะของไข้ Scrub typhus (Mite Typhus) เกิดจากเชื้อ Rickettsia tsutsugamushi
การควบคุมไร 1. การกำจัดแหล่งอาศัย เช่น พุ่มไม้ หญ้า 2. การใช้สารเคมี เช่น เบนซิล เบนโซเอท, ดีลดริน หรือ ซีวิน
เห็บ (Ticks) เห็บแข็ง เห็บอ่อน (Hard Tick) (Soft Tick)
อุปนิสัยของเห็บ กินเลือดสัตว์เลือดอุ่น มีโฮสต์เฉพาะตัว วงจรชีวิต
ความสำคัญทางการแพทย์ 1. ระคายเคือง 2. เห็บแข็งเป็นพาหะ - Encephalitis - Q Fever 3. เห็บอ่อนเป็นพาหะโรค Relapsing Fever
การควบคุมเห็บ 1. การกำจัดแหล่งอาศัย 2. การใช้สารเคมี
หมัด (Fleas) หมัดหนู Xenopsylla cheopis หมัดคน Pulex irritans หมัดสุนัข Ctenocephalides canis หมัดแมว Ctenocephalides filis
หมัด (Fleas) วงจรชีวิต
ความสำคัญทางการแพทย์ 1. ระคายเคือง 2. พาหะนำโรค - กาฬโรค (Plague) - Murine typhus 3. Intermediate Host ของพยาธิตืดหนู และตืดสุนัข
การควบคุมหมัด 1. การกำจัดแหล่งอาศัย 2. การใช้สารเคมี