ธรรมาภิบาล ในการบริหารเวชภัณฑ์ กระทรวงสาธารณสุข
วันที่ 18 เมษายน 2557 กระทรวงสาธารณสุข โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข และคณะได้เข้าหารือกับ ศาสตราจารย์พิเศษ วิชา มหาคุณ และ ศาสตราจารย์ ดร.ภักดี โพธิศิริ กรรมการ ปปช. เกี่ยวกับเรื่อง ประเด็นที่เป็นข่าวและขอคำแนะนำในการพัฒนาระบบธรรมาภิบาลที่กระทรวงสาธารณสุขมีแผนที่จะดำเนินการ “ระบบราชการถูกครอบงำโดยธุรกิจ บริษัทหากินฝังรากอยู่ในกระทรวงต่าง ๆ มาก ใช้การไขว้รับงานวนเวียนไปเรื่อย ๆ คนกลุ่มใหม่ที่จะมาแข่งขันแทบไม่มีเลย” คณะกรรมการ ปปช. แสดงความชื่นชมต่อบุคลากรสาธารณสุขที่กล้าหาญเป็นแนวหน้า แสดงจุดยืนที่ชัดเจนว่าทำงานเพื่อประชาชน กล้ายืนหยัดปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อความถูกต้อง เน้นคุณภาพบริการ เป็นแบบอย่างให้กับหน่วยงานอื่นต่อไป
ประเด็นที่ ปปช. ขอความร่วมมือจาก กสธ. เรื่องที่ 1 ให้มีการประสานและร่วมกันทำเรื่อง การป้องกันการทุจริตให้เข้มแข็ง ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุข และ ปปช. ที่ผ่านมาได้ มีการลงนาม MOU ร่วมกัน 2 ฉบับ คือ 1. เรื่องการสร้างเครือข่ายป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตเน้นที่บทบาท อสม. ลง นามเมื่อปี 2553 และ 2. เรื่องการรณรงค์ สร้างธรรมาภิบาลที่จะเป็นภูมิคุ้มกันการทุจริต ลงนามเมื่อต้นปี 2557
ประเด็นที่ ปปช. ขอความร่วมมือจาก กสธ. เรื่องที่ 2 ให้ กสธ.จัดทำศูนย์ข้อมูลเปิดเผยราคา กลางการจัดซื้อจัดจ้าง เพื่อเป็นตัวอย่างกับ หน่วยงานอื่น ตามมาตรา 103/7 พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ที่ให้ทุกหน่วยงานที่จะ จัดซื้อจัดจ้าง จัดทำรายละเอียดค่าใช้จ่ายและ ราคากลางและการคำนวณราคากลางและไว้ใน Website หลักการนี้จะช่วยให้เกิดความโปร่งใส หากเปิดเผยราคาที่ไม่สมเหตุผล จะสามารถมี การโต้แย้งได้
เรื่องที่ 3 การให้การฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีความรู้ในการป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่พัสดุ ด้านงบประมาณและด้านการคลัง และดำเนินการในด้านการบังคับใช้ประมวลจริยธรรมสำหรับผู้บริหารของกระทรวงสาธารณสุขให้มีความเข้มแข็งและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
เรื่องที่ 4 ให้สร้างหลักสูตรป้องกัน ปราบปรามการทุจริต โดยเฉพาะเรื่อง ผลประโยชน์ทับซ้อน เพราะสถาน การศึกษาภายใต้กระทรวงสาธารณสุขมี มาก ยังไม่ได้มีการดำเนินการอยากให้มา ทำ MOU ในการจัดทำหลักสูตรร่วมกัน เรื่องที่ 5 ให้มีการดำเนินการพัฒนา ประสิทธิภาพการจัดซื้อยาของกระทรวง สาธารณสุข ในเรื่องการจัดซื้อร่วมต่อเนื่อง
เรื่องที่ 6 ดำเนินการให้มีการสำรวจข้อมูลสารตั้งต้นยาเสพติดที่มีทั้งหมดเพื่อกำกับดูแลให้เกิดประสิทธิภาพ ที่เป็นข้อมูลของประเทศไทยเอง เรื่องที่ 7 ให้มีผู้ประสานงานที่ชัดเจนใน ศปท. เพื่อประสานเร่งรัดในเรื่องการติดตาม ข้อมูลพยานและหลักฐานเอกสารที่ เกี่ยวข้อง เพื่อให้การพิจารณาคดีของ กระทรวงสาธารณสุขที่คั่งค้างอยู่หลายคดี สามารถพิจารณาให้เสร็จสิ้นได้โดยเร็ว
เรื่องร้องเรียนของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องที่ 1 พบมีบางจุดที่ทำเป็นธรรมเนียมที่เป็นจุดเสี่ยง ยามีเรื่องของเปอร์เซ็นต์ค่ายา รายได้ที่รับเข้ามาทั้งเงินบริจาค ต้องดูให้ดีทำให้ถูกต้องตามระเบียบว่าด้วยการรับบริจาค และปฏิบัติให้เข้มงวด รวมถึงประโยชน์อื่นที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน เรื่องที่ 2 แพทย์ใส่ใจในเรื่องระเบียบและข้อบังคับน้อยและมอบหมาย บุคลากรพัสดุดำเนินการ สุดท้ายต้องมารับเพราะทุกอย่างจะมาลงที่ นพ.สสจ. และ ผอ.รพ. กรณีของจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นกรณีต้นแบบที่ น่าจะเป็นกรณีศึกษา เรื่องที่ 3 กรณีปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อน เช่น การเปิดคลินิก จะมี ปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนในเรื่องการสั่งซื้อยาและอุปกรณ์ต่าง ๆ บางกรณีไม่ได้เข้า รพ. แต่ไปอยู่คลินิก ประเด็นเรื่องการจ่ายค่าอยู่ เวร แต่ตัวไปอยู่ที่อื่น ต้องยอมรับเป็นประเด็นเชิงจริยธรรม หากสร้าง ระบบจริยธรรมแยกประโยชน์ส่วนตัวส่วนรวม จะสามารถเป็นตัวอย่าง ได้ บอกสาธารณชนได้ว่าไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
งานวิจัยโครงการสังเคราะห์ข้อเสนอ เพื่อเสริมสร้างการอภิบาลระบบยา โดย สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่ง ม.ธรรมศาสตร์ พบประเด็นปัญหาที่ส่งผลต่อความเสี่ยงใน กระบวนการจัดซื้อยาเข้าสู่สถานพยาบาล ดังนี้ การขาดเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินความคุ้มค่าที่จะ ใช้ตัดสินว่ายาตัวใดควรเข้าสู่สถานพยาบาล การขาดการควบคุมการส่งเสริมการขายของบริษัท ยา การควบคุมจริยธรรมต่อคณะกรรมการเภสัชกรรม และการบำบัดและบุคลากรทางการแพทย์ที่ขาด สภาพบังคับและขึ้นกับนโยบายของสถานพยาบาล
แผนการดำเนินการ เพื่อให้การจัดซื้อจัดหาของหน่วยงานต่าง ๆ เป็นไปอย่าง ถูกต้องและมีระบบธรรมาภิบาลที่ดี สอดคล้องกับทิศทางการปฏิรูป กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขเห็นควรดำเนินการใน เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ 1. ดำเนินการพัฒนา เรื่อง ธรรมาภิบาลในการจัดซื้อ จัดหาในภาพรวมทั้งกระทรวง ในพัสดุ 5 กลุ่ม คือ ยา วัสดุการแพทย์ วัสดุทันตกรรม วัสดุวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และวัสดุสำนักงาน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการ ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องจากรพ.ทุกระดับ กรมต่างๆ รวมทั้งตัวแทนจากองค์กรวิชาชีพและชมรมต่างๆ เพื่อ วางระบบการจัดซื้อจัดหา รวมทั้งกำหนดระบบการ ติดตามกำกับ ให้แล้วเสร็จใน 3 เดือน (พ.ค.- ก.ค.57) เพื่อดำเนินการในปีงบประมาณ 2558
แผนการดำเนินการ (ต่อ) 2. ประกาศเกณฑ์จริยธรรมเกี่ยวกับเรื่องการ ส่งเสริมการขาย การจัดซื้อจัดหา และการใช้ (พ.ค.57) 3. จัดทำเกณฑ์ และกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานของคณะกรรมการ ต่างๆ เช่น คณะกรรมการเภสัชกรรมและการ บำบัดของหน่วยงาน คณะกรรมการบริหาร เวชภัณฑ์ระดับจังหวัด/เขต/กรม เป็นต้น (จัดทำ เกณฑ์: พ.ค.- ก.ค. 57 กำกับติดตามประเมินผล ส่วนกลาง/เขต/จังหวัดในปีงบประมาณ 2558)
แผนการดำเนินการ (ต่อ) 4. กำหนดแนวทางปฏิบัติในเรื่องสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับ ผลประโยชน์ทั้งที่เป็นตัวเงิน และที่ไม่ใช่ตัวเงิน ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อ จัดหา รวมถึงเงินบริจาค ให้ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี/ ระเบียบเงินบำรุง (พ.ค.- ก.ค.57) 5. การกำหนดราคากลาง เพื่อเปิดเผยแก่สาธารณะสำหรับการจัดซื้อจัดหา (พ.ค. – ก.ค. 57)
แผนการดำเนินการ ระดับบุคคล : ระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการซื้อ ขาย จริยธรรมระดับบุคคล แปลงเป็นระเบียบ ระบบจัดซื้อและบริหารจัดการ : ใช้รูปแบบ PTC แต่ทำทั้ง 5 กลุ่ม ให้แต่ละแห่งดำเนินการใน รายละเอียด มีแผนที่ชัดเจน ระบบติดตามกำกับและประเมิน : สธน. การ เปิดเผยข้อมูล ทุกระดับ.
สวัสดี