ศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร/ สถาบันบริการสารสนเทศ

Slides:



Advertisements
งานนำเสนอที่คล้ายกัน
การติดตามและ ประเมินผลโครงการ
Advertisements

แบบประเมินความเข้มแข็ง ศอช.
สัมมนาทางการประกอบการธุรกิจ
บทที่ 3 การบริหารพนักงานขาย
ระบบสารสนเทศทางธุรกิจ (Business Information Systems)
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
ชุมชนนักปฏิบัติ CoP “ การปฏิบัติงานพัสดุไม่ ยากอย่างที่คิด ” เริ่มก่อตั้งแต่ปี
ขอบเขตของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
คำถามตามเกณฑ์ PMQA:105คำถาม หมวด1 12คำถาม.
วิชา หลักการตลาด บทที่ 3
แนวทางการสอน เพื่อพัฒนาทักษะเด็กตามรูปแบบการสอน
การจัดการศูนย์สารสนเทศ หน่วยที่ 10 “ ความร่วมมือในการบริการ สารสนเทศ ” อาจารย์ ดร. นฤมล รักษาสุข.
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดบุรีรัมย์
กระบวนการถ่ายทอดความรู้
กลุ่มบริหารงานทั่วไป
กลุ่ม 6 ผลการประชุมระดมความ คิดเห็น เพื่อกำหนดทิศทางก้าวใหม่ ในการให้บริการ : ฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ ห้องปฏิบัติการ.
อัตร า บรร จุ ข้าราชการ 44 พนักงาน ราชการ 33 ลูกจ้าง -- รวม 77 อัตราว่าง พนักงานราชการ 3 มาช่วย ราชการ ถูกยืมตัว ลาเรียน ผอ. สำนักงานวิเทศ สัมพันธ์ (1/1)
สำนักงานเลขานุการ สำนักวิทยบริการ. ยุทธศาสตร์ที่ 1 โครงการจัดหาวัสดุ ตำรา วารสาร ฐานข้อมูล เพื่อ ให้บริการในสำนักวิทยบริการ การพัฒนานำระบบ RFID มาใช้ในการจัดชั้น.
วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, วิทยาศาสตร์ทั่วไป, จิตวิทยา ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา การ ประถมศึกษา, ศิลปศึกษา,
แผนที่ยทธศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา พ. ศ แผนที่ยุทธศาสตร์ สถาบันวิจัยและพัฒนา พ. ศ วิสัยทัศน์ เป็นองค์กรที่มุ่งส่งเสริม สร้างเครือข่าย.
นางวราพันธ์ ลังกาวงศ์ ผู้อำนวยการกลุ่มนโยบายและแผน.
CSIT-URU อ. กฤษณ์ ชัยวัณณคุปต์ Mathematics and Computer Program, URU บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับ เทคโนโลยีสารสนเทศ Introduction to Information.
การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ วิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเฉลิมราชประชาอุทิศ.
ประวัติ ส่วนตัว ชื่อ นางสาวสุภาวรรณ อินสวัสดิ์ อายุ ๒๘ ปี ที่อยู่ บ้านเลขที่ ๑๙ / ๕ หมู่ที่ ๑ ตำบลแสงอรุณ อำเภอทับสะแก จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ การศึกษา.
ผลการดำเนินงาน ปีงบ ๒๕๕๘ ( ร่าง ) แผนปฏิบัติการฯ ปี งบ ๒๕๕๙ กลุ่มงานบริหารทั่วไป สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตราด.
รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา รายงานการ ดำเนินงาน ศูนย์แนะแนวต้นแบบประจำสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา.
บทที่ 3 นักวิเคราะห์ระบบและการ วิเคราะห์ระบบ. 1. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis) 1.1 ความหมายของนักวิเคราะห์ระบบ นักวิเคราะห์ระบบ (System Analysis:
องค์ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติราชการ แบบฟอร์มที่ 1 การจำแนกองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการผลักดันตามประเด็นยุทธศาสตร์ ของส่วนราชการ ชื่อส่วนราชการ : กรมทรัพยากรน้ำบาดาล.
กลุ่มนโยบายและแผนงาน ฝ่ายแผนและพัฒนา
บทที่ 3 องค์ประกอบของการสัมมนา
ระบบมาตรฐานการพัฒนาชุมชน ผอ.กลุ่มงานมาตรฐานการพัฒนาชุมชน
อาจารย์จุฑามาศ พรหมทอง สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์
หน่วยที่ 1 ข้อมูลทางการตลาด. สาระการเรียนรู้ 1. ความหมายของข้อมูลทางการตลาด 2. ความสำคัญของข้อมูลทางการตลาด 3. ประโยชน์ของข้อมูลทางการตลาด 4. ข้อจำกัดในการหาข้อมูลทาง.
ระบบ ISO 9001:2015 สำหรับธุรกิจบริหารจัดการเรือ
Presentation การจัดการข้อร้องเรียนในธุรกิจบริการ Customer Complaint Management for Service.
กรณีศึกษา : นักเรียน ระดับ ปวช.2 สาขาวิชาการบัญชี
วิธีการกรอกแบบเสนอโครงการในไฟล์ Power point นี้
ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ณ ห้องประชุม พธ.ทร.(๒) วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๕๘ เวลา ๐๙๓๐
วาระที่ 3.4 แนวทางการปฏิบัติงานโครงการตามนโยบาย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานบริหารและธุรการ คณะบริหารธุรกิจ
การบริหารงานประชาสัมพันธ์ของจังหวัด : การประชาสัมพันธ์และการจัดการสื่อ
แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ
การประเมินคุณภาพการศึกษา สำนักงานอธิการบดี
การบริหารโครงการซอฟต์แวร์
เครือข่ายความร่วมมือ เพื่อการพัฒนาห้องสมุดและ แหล่งเรียนรู้
การปฐมนิเทศและการบรรจุ
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
รายวิชา แหล่งสารสนเทศ การเข้าถึงแหล่งสารสนเทศ อาจารย์ ดร.นฤมล รักษาสุข
การโฆษณา การประชาสัมพันธ์
บทที่ 4 หลักทฤษฎีและปฏิบัติการธุรกิจ ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ
รายวิชา การบริหารการศึกษา
มุ่งเน้น การประเมินระดับการดำเนินงาน “หน่วยงานคุณธรรม”
การทำวิทยฐานะ แนวทางใหม่
การวิจัยทางการท่องเที่ยว
การบริหารจัดการ เชิงสถานการณ์ (Situaional Management)
การบริหารจัดการ เชิงสถานการณ์ (Situaional Management)
การจัดทำแผนการสอบบัญชีโดยรวม
การบริหารจัดการระบบสารสนเทศ (ระบบงานสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์)
รายงานการประเมินตนเองของสถานศึกษา Self – Assessment Report
ขอบเขตของงานการจัดซื้อ
มารู้จักและมีส่วนร่วมในกิจกรรม CSR ของ สศช. กันเถอะ
การประเมินผลโครงการ บทที่ 9 ผศ.ญาลดา พรประเสริฐ yalada.
บทบาทหน้าของฝ่าย HR ในงานพัฒนาบุคคลและฝึกอบรม
การจัดการภาครัฐ และภาคเอกชน Public and private management
แนวทางการดำเนินงานประเมินความเสี่ยงบุคลากรในโรงพยาบาล
MTRD 427 Radiation rotection - RSO
กระดาษทำการ (หลักการและภาคปฏิบัติ)
วิวัฒนาการทฤษฎีการจัดการ
เอกสาร/หลักฐาน/ ร่องรอย เพื่อ จัดเก็บใน 13 แฟ้ม
ใบสำเนางานนำเสนอ:

ศาสตร์การบริหารจัดการองค์กร/ สถาบันบริการสารสนเทศ แนวคิด.... การดำเนินงานให้สถาบันบริการสารสนเทศให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลมากที่สุด ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การวางแผน การจัดองค์กร การโน้มนํา การควบคุม การรายงานการประเมินผล รวมถึงการจัด คัดเลือกทรัพยากรสารสนเทศ การเงิน พัสดุครุภัณฑ์ต่างๆ เพื่อบริการแก่ผู้ใช้ และเป็นไปตามวัตถุประสงค์และนโยบายที่สถาบัน/องค์กรกำหนดไว้

สถาบันบริการ/องค์กรสารสนเทศ คือ แหล่งรวบรวมสารสนเทศต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่จัดเก็บสารสนเทศอย่างมี ระบบ ให้บริการและเผยแพร่ สารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประเภทขององค์กร/สถาบันบริการสารสนเทศ จำแนกตามขอบเขตหน้าที่และ วัตถุประสงค์ในการให้บริการ เป็น 9 ประเภท ได้แก่ ห้องสมุด (Library) ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ (Documentation Center / Information Center) ศูนย์ข้อมูล (Data Center) หน่วยงานสถิติ (Statistical Office)

ประเภทขององค์กร/สถาบันบริการสารสนเทศ ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (Information Analysis Center) ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (Information Clearing House) ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ (Referral Center) หอจดหมายเหตุ (Archive) สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Commercial Information Service Center)

ห้องสมุด เป็นสถาบันบริการสารสนเทศที่ เก่าแก่ที่สุดที่รวบรวมทรัพยากร สารสนเทศทุกสาขาวิชาและสื่อทุก ประเภท

ห้องสมุดแบ่งออกเป็น... ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย (Academic Library) ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) ห้องสมุดประชาชน (Public Library) หอสมุดแห่งชาติ (National Library)

ห้องสมุด ห้องสมุดโรงเรียน (School Library) : ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล โรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ทำหน้าที่ให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศ ทั้งสื่อการศึกษาค้นคว้าและสื่อการเรียน การสอนให้แก่ครูและนักเรียน

ห้องสมุด (ต่อ) ห้องสมุดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย : มีวัตถุประสงค์ในการ ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศ เช่นเดียวกับห้องสมุดโรงเรียน แต่การให้บริการจะกว้างขวางและมีระดับความรู้สูงมากขึ้น

ห้องสมุด (ต่อ) ห้องสมุดเฉพาะ (Special Library) : เป็นห้องสมุดที่ให้บริการ ทรัพยากรสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเท่านั้น สังกัด อยู่ในหน่วยงานวิชาการ องค์กรหรือสถาบันบริการเฉพาะด้าน

ห้องสมุด (ต่อ) ห้องสมุดประชาชน (Public Library) : จัดตั้งขึ้นเพื่อบริการ ประชาชนในชุมชนต่างๆ ทุกระดับความรู้ ทุกเพศ ทุกวัย และทุก อาชีพ ให้บริการส่งเสริมการอ่านและการค้นคว้าตลอดชีวิต เป็น เสมือนวิทยาลัยในชุมชน

ห้องสมุด (ต่อ) หอสมุดแห่งชาติ (National Library) : ทำหน้าที่เก็บรวบรวมสะสม และรักษาทรัพยากรสารสนเทศของชาติไว้

ศูนย์เอกสารหรือศูนย์สารสนเทศ เป็นแหล่งจัดเก็บรวบรวมสารสนเทศเฉพาะเรื่อง เฉพาะ สาขาวิชา เพื่อการค้นคว้าวิจัย และเพื่อการปฏิบัติงานของ หน่วยงานที่มีศูนย์สารสนเทศนั้นๆ โดยตรง ศูนย์เอกสารการพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) TIAC ศูนย์เอกสารกลาง กรมสรรพากร

ศูนย์ข้อมูล แหล่งรวบรวมข้อมูลและบริการข้อมูลตัวเลขสถิติต่างๆ งานวิจัยต่างๆ เช่น ศูนย์ข้อมูลอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ศูนย์ข้อมูลเศรษฐกิจอุตสาหกรรม ศูนย์ข้อมูลธุรกิจหลักทรัพย์ของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย ศูนย์ข้อมูลมติชน

หน่วยงานสถิติ ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูล เก็บสถิติและ เผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงานนั้นๆ เช่น ศูนย์สถิติการเกษตร ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศูนย์ข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ศูนย์สถิติการพาณิชย์ ของกระทรวงพาณิชย์

ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ Information Analysis Center ทำหน้าที่รวบรวมและให้บริการสารสนเทศ เฉพาะวิชา โดยการนำมาทำการวิเคราะห์ ประเมิน สรุปย่อ และจัดเก็บในลักษณะของ แฟ้มข้อมูล (sheet)  และปริทัศน์ (review)  เพื่อใช้ในการให้บริการตอบคำถาม และจัดส่งให้ผู้ที่สนใจในรูปของบริการข่าวสาร ทันสมัย และในรูปของสิ่งพิมพ์ เช่น สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย อาคารราชเทวีทาวเวอร์ ชั้น 17 ...

ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ Information Clearing House) ทำหน้าที่รวบรวมจัดเก็บและผลิตทรัพยากรสารสนเทศ ในรูปสื่อต่างๆ นอกจากนั้นยังทำหน้าที่ติดต่อขอ ทรัพยากรสารสนเทศในสาขาที่เกี่ยวข้องจากผู้ผลิต เพื่อรวบรวมให้เป็นระบบ สะดวกในการค้นคว้า และการแนะนำแหล่งข้อมูล เช่น หอสมุดแห่งชาติของไทย ห้องสมุดยูเนสโก

ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ Referral Center ทำหน้าที่รวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวกับแหล่งข้อมูลหรือ สถาบันสารสนเทศอย่างกว้างขวางในสาขาวิชาที่ศูนย์ รับผิดชอบ สามารถแนะนำแหล่งสารสนเทศที่เหมาะสมและ ตรงกับความต้องการได้ โดยจัดทำเป็นคู่มือ   หรือรายการ บรรณานุกรมและดัชนี  เพื่อให้คำแนะนำแหล่งข้อมูล สารสนเทศที่เหมาะสมตามที่ผู้ใช้ต้องการ  ส่วนใหญ่จะแนะ แหล่งสารสนเทศเฉพาะสาขาวิชา เช่น - ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หอสมุดรัฐสภาอเมริกัน (National Referral Center for Science and Technology at the Library of Congress) รวบรวมสารสนเทศที่สำคัญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - ศูนย์แนะแหล่งสารสนเทศสิ่งแวดล้อมนานาชาติ INFOTERRA (International Referral System for Sources of Environmental Information) ของโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ

หอจดหมายเหตุ ทำหน้าที่จัดเก็บเอกสารทางราชการและเอกสารทาง ประวัติศาสตร์ของรัฐบาล เช่น ระเบียบข้อบังคับ คำสั่ง หนังสือโต้ตอบ บันทึกรายงาน แบบพิมพ์ แผนที่ แผนผัง ภาพถ่าย เป็นต้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในการศึกษา ค้นคว้าและวิจัย มีหลายประเภท ของชาติ, วัด, บุคคล Hall of Fame, หน่วยงานราชการ บริษัท/สถาบันทาง ธุรกิจ...

สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Commercial Information Service Center) ห้องสมุดหรือศูนย์ข้อมูลที่จัดให้มีบริการ สารสนเทศเชิงพาณิชย์ เช่น การค้นคว้าทาง อินเทอร์เน็ต โดยเก็บค่าสมาชิกหรือเก็บตามราคา ที่ปรากฏบนจอคอมพิวเตอร์ ศูนย์ข้อมูลมติชน บริษัทยูไนเต็ด บรอดแบนด์ เทคโนโลยี จำกัด (ยูบีที)

หน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศ รวบรวมทรัพยากรสารสนเทศทุก รูปแบบ ที่มีคุณภาพ ทันสมัย และมี ประโยชน์ จัดเก็บข้อมูลอย่างมีระบบด้วย คอมพิวเตอร์ ผลิตทรัพยากรสารสนเทศ จัดทำศูนย์แลกเปลี่ยนและ เผยแพร่ข้อมูลและ ทรัพยากรสารนิเทศใหม่ ๆ จัดทำฐานข้อมูลและมีบริการ ค้นคว้าสารสนเทศ

หน้าที่ของสถาบันบริการสารสนเทศ จัดสถานที่อ่านที่เหมาะกับการศึกษา ค้นคว้าวิจัย จัดให้มีศูนย์แนะนำแหล่งสารสนเทศ จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน จัดบริการพิเศษต่างๆให้กับผู้ใช้ จัดบริการตอบคำถามและช่วยค้นคว้า ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต จัดบริการบรรยาย ปาฐกถา โต้วาที อภิปราย ฯลฯ

ลักษณะที่ดีขององค์กร/สถาบันบริการสารสนเทศ 1. เป็นแหล่งสะสมรวบรวมสื่อความรู้หลายหลาก ประเภท ไว้บริการแก่ผู้ที่ต้องการใช้เช่น สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อโสต ทัศน์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์..

ลักษณะที่ดีขององค์กร/สถาบันบริการสารสนเทศ 2. การจัดเก็บสื่อต้องจัดเป็นระบบเพื่อให้ง่ายต่อการสืบค้น จัดเป็นระเบียบเพื่อให้สวยงามเจริญหูเจริญตา นอกจากนั้นยังต้องทำเครื่องมือช่วยค้นเช่น ดัชนีวารสาร รายชื่อวารสาร และการสืบค้นสารสนเทศด้วยระบบออนไลน์ (OPAC)

ลักษณะที่ดีขององค์กร/สถาบันบริการสารสนเทศ 3. บุคลากรควรเป็นผู้มีวุฒิทางบรรณารักษศาสตร์หรือ วุฒิทางบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์หรือ ได้รับการอบรมทางค้านนี้มาโดยเฉพาะ เนื่องจาก เป็นวิชาการและเป็นศาสตร์ ที่ต้องเรียนรู้อบรม ต้องรู้จักวิเคราะห์เพื่อเลือกสรร สื่อความรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้ใช้

ลักษณะที่ดีขององค์กร/สถาบันบริการสารสนเทศ 4. มีบรรยากาศน่าเข้าใช้ จัดอย่างเป็นระบบ มีระเบียบ สวยงาม ดูโปร่งตาบรรยากาศสบาย และดึงดูดใจให้อยากเข้าใช้

ลักษณะที่ดีขององค์กร/สถาบันบริการสารสนเทศ 5. มีการจัดบริการแบบชั้นเปิด วัสดุส่วนใหญ่ในสถาบัน บริการสารสนเทศควรจัดบริการแบบชั้นเปิดเพื่อเปิด โอกาสให้ผู้ใช้เข้าถึงสื่อความรู้ได้ด้วยตนเอง เพื่อจะได้มี โอกาสเลือกหยิบจับได้อย่างสะดวกด้วยตนเอง

6. มีงบประมาณประจำ เพื่อให้กิจการของสถาบันบริการสารสนเทศ ดำรงอยู่ได้และกิจการเจริญก้าวหน้า สถาบันบริการสารสนเทศจำเป็นต้องใช้เงินดำเนินการ เงินที่ได้รับควรเป็นงบประมาณประจำที่แน่นอน หรืออาจหาเพิ่มเติมจากแหล่งทุนภายนอก...

7. มีการจัดบริการหลากหลายและจัดบริการ เชิงรุกและหรือจัดบริการออกไปยังชุมชนเพื่อ บริการแก่กลุ่มบุคคลที่ไม่สามารถเข้ามาใช้ บริการได้

8. มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสถาบันบริการสารสนเทศในการแลกเปลี่ยนความรู้และทรัพยากรสารสนเทศ และใช้ร่วมกัน

ทฤษฎีการบริหาร องค์กร/ สถาบันบริการสารสนเทศ ในการบริหารงานของสถาบันบริการ สารสนเทศ ให้ก้าวไปสู่การเป็นสถาบันบริการ สารสนเทศตามลักษณะที่ดี ผู้บริหาร ควรต้องศึกษาทฤษฎี ด้านการบริหาร......................

ทฤษฎีการบริหาร ที่สำคัญ ทฤษฎีที่ผู้บริหารนิยมนำมาใช้ในการบริหาร มีหลายทฤษฎีด้วยกัน เช่น ... ทฤษฎี 4Ms ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ทฤษฎี Z ทฤษฎีพอสคอบ ทฤษฎีระบบ และทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์

ทฤษฎี 4Ms 1 คน (Man) :: ธุรกิจจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดของ คน มีคนเป็นผู้ดำเนินการหรือจัดการทำให้เกิดกิจกรรมทาง ธุรกิจ เพื่อให้ประสบความสำเร็จในการประกอบธุรกิจนั้นๆ  2) เงิน (Money) ::  เป็นปัจจัยในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งแต่ ละธุรกิจจะใช้ปริมาณเงินที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่ว่าธุรกิจ นั้นมีขนาดเล็กหรือใหญ่  3) วัสดุหรือวัตถุดิบ (Material) ::  ผู้บริหารต้องรู้จัก บริหารวัตถุดิบให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ต้นทุนที่ต่ำ และทำให้ธุรกิจได้ผลกำไรสูงสุด 4) วิธีปฏิบัติงาน (Method) ::  การปฏิบัติงานในแต่ละ ขั้นตอน ควรมีการวางแผน และควบคุมให้การปฏิบัติงานนั้นมี ประสิทธิภาพ

ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslor’s Hierarchy of Needs Theory) บุคคลจะมีความต้องการที่เรียงลำดับจากระดับพื้นฐาน ต่ำสุด ไปยังระดับสูงสุด ดังนี้ 1 ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs) 2 ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) 3 ความต้องการทางสังคม ได้รับการยอมรับจากบุคคลอื่น (Social Needs) 4 ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ได้รับการยกย่องในสังคม (Esteem Needs) 5 ความต้องการความสมหวังของชีวิต ได้รับความสำเร็จ ดังที่คาดหวังไว้ (Self-Actualization Needs)

ทฤษฎี X Y ของ Douglas McGregor The Human Side of the Enterprise ทฤษฎี X & Y ของ Douglas McGregor (MIT) มนุษย์ X คือ คนที่มีลักษณะเกียจคร้าน หลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ จำเป็นต้องบังคับให้ทำงาน ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด มนุษย์ Y คือ คนที่มีลักษณะขยัน มีความรับผิดชอบ มีความคิดสร้างสรรค์ พร้อมจะทำงานให้ความร่วมมือ หากได้รับการจูงใจอย่างเหมาะสม

ทฤษฎี Z ของโอชิ (William G. Ouchi) ศ ทฤษฎี Z ของโอชิ (William G. Ouchi) ศ. ชาวญี่ปุ่น University of California at Los Angeles (UCLA) แนวความคิด องค์การต้องมีหลักเกณฑ์ในการควบคุมมนุษย์ แต่มนุษย์ก็รักความเป็นอิสระและมีความต้องการ หน้าที่ของผู้บริหารจึงต้องปรับเป้าหมายขององค์การให้สอดคล้องกับเป้าหมายของบุคลากรในองค์การ

องค์ประกอบสำคัญ 4 ประการ ของ ทฤษฏี Z คือ 1 การทำให้ปรัชญาที่กำหนดไว้บรรลุตามที่ตั้งไว้ 2. การพัฒนาผู้ใต้บังคับบัญชาให้ทำงานอย่างมี ประสิทธิภาพ 3. การให้ความไว้วางใจแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา 4. การให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีส่วนร่วมในการ ตัดสินใจ ทฤษฎีนี้ให้ข้อคิดที่สำคัญ 3 ประการ คือ การมีมนุษยสัมพันธ์ คือ 1) คนในองค์กรต้องซื่อสัตย์ต่อกัน 2) คนในองค์การต้องมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน 3) คนในองค์การต้องมีความใกล้ชิดเป็นกันเอง

หลักการและ แนวคิด เน้นการมองการบริหาร ใน เชิงปรัชญา ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ By Fred E.Fiedler. 1967 (Situational Management Theory) หลักการและ แนวคิด เน้นการมองการบริหาร ใน เชิงปรัชญา 1 สถานการณ์จะเป็นตัวกำหนดการตัดสินใจและ รูปแบบ การบริหารที่เหมาะสม 2 การบริหารจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้บริหารต้อง พยายามวิเคราะห์สถานการณ์ให้ดีที่สุด 3 เป็นการผสมผสานแนวคิดระหว่างระบบปิดกับระบบ เปิด และยอมรับหลักการของทฤษฎีที่ว่าทุกส่วนของ ระบบจะต้อง สัมพันธ์และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน

ทฤษฎีการบริหารเชิงสถานการณ์ 4 คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและความต้องการของบุคคลใน หน่วยงานเป็นหลักมากกว่าจะแสวงหาวิธีการอันดีเลิศมา ใช้ในการทำงาน โดยใช้ปัจจัยทางด้านจิตวิทยามา ประกอบการพิจารณาด้วย 5 เน้นให้ผู้บริหารรู้จักใช้การพิจารณาความแตกต่างที่มี อยู่ในหน่วยงาน เช่น ความแตกต่างระหว่างบุคคล ความแตกต่างระหว่างระเบียบกฎเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการ และการควบคุมงาน...

ทฤษฎีพอสคอบ Principles of Administration ลูเธอร์  กูลิค  และ ไลด์นอล เออร์วิค (Luther & Urwick ) ได้สร้างแนวคิด และทฤษฎีแบบการบริหาร คือ  “POSDCORB  MODELS”  ซึ่งประกอบด้วย ดังนี้                           P คือ Planning   การวางแผน O Organizing  การจัดองค์การ/โครงสร้าง S Staffing  การจัดคนเข้าทำงาน D Directing การสั่งการ Co Co-ordination การประสานงาน R Reporting    การรายงาน B Budgeting   การจัดทำ

What is POSDCORB? P= Planning O=Organizing S=Staffing D=Directing CO=Coordinating R=Reporting B=Budgeting

P=Planning การวางแผนงานที่จะทำให้สำเร็จ บรรลุล่วงวัตถุประสงค์ขององค์กร เป็นขั้นตอนแรกที่สำคัญต่อองค์กร สามารถนำมาปรับปรุงใช้เป็น ขั้นตอนของบุคคลที่จะทำสิ่งใดให้ ลุล่วงไปได้

O=Organizing การวางโครงสร้างขององค์กร ผังโครงสร้างองค์การ ( Organization Charts) การกำหนดอำนาจรายละเอียดของ แต่ละฝ่าย คำบรรยายงาน (Job Description) กำหนดรายละเอียดของแต่ละฝ่ายให้ ชัดเจนต้องตรงกับวัตถุประสงค์ของ องค์กร คู่มือองค์กร (Organization Manual)

การจัดการองค์กร “การจัดองค์การ” คือ การกำหนดโครงสร้างขององค์กรอย่างเป็นทางการ โดยการจัดแบ่งออกเป็นหน่วยงานย่อยต่าง ๆ กำหนดอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานไว้ให้ชัดเจนรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานย่อยเหล่านั้น ทั้งนี้ เพื่อให้เอื้อต่อการดำเนินงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ 27/01/63

ตัวอย่างโครงสร้างองค์กร สำนักหอสมุด งานธุรการ งานสารบรรณ งานติดต่อ ประสานงาน งานวิเคราะห์และจัดหาทรัพยากรสารสนเทศ งานจัดหาฯ งานวิเคราะห์ฯ งานบำรุงรักษา งานวารสาร สื่อโสตฯ งานบริการสารสนเทศ งานบริการยืม-คืน งานบริการตอบคำถาม งานส่งเสริมการอ่าน งานพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ งานระบบห้องสมุด งานฐานข้อมูล งานบริการสืบค้น ข้อมูล - งานอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ และเครือข่าย 45 27/01/63 45

D=Directing เป็นขั้นตอนการตัดสินใจของ ผู้บริหาร เป็นการนำทางของผู้บริหารไม่ว่าจะ เป็นเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ การนำองค์กรไปในทิศทางที่วาง วัตถุประสงค์ไว้

S=Staffing เป็นขั้นตอนที่เกี่ยวกิจกรรมทางแผนก บุคคล เป็นขั้นตอนที่ต้องได้ทั้งคุณภาพและ ประสิทธิภาพ ขั้นตอนนี้ต้องรักษาหรือทำให้สภาวะ การทำงานที่น่าอยู่ ตัวอย่างเช่น การฝึกฝนพนักงานให้ สามารถทำงานได้อย่างสบายใจ การฝึกอบรม ฯลฯ

Co=Coordinating การจัดระเบียบวิธีการทำงานหรือ การประสานงานในหน่วยงาน เพื่อ ไม่ให้การทำงานซ้ำซ้อนกัน มีทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็น ทางการ

R=Reporting การรายงานต่างๆของผู้บริหารหรือ รายงานที่รายงานต่อผู้บริหาร รายงานควรรอบคอบและสามารถ ตรวจสอบได้ ตัวอย่างรายงาน เช่น สถิติการ ยืม จำนวนผู้เข้าใช้ จำนวนทรัพยากรสารสนเทศ

B=Budgeting การบริหารองค์กร ผู้บริหารควรที่ จะมีความสามารถในการวาง แผนการด้านบัญชี เป็นการกำหนดการทางการเงินที่ เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย สามารถแสดงผลได้และเป็นจริง ทั้งยังควบคุมทางการเงินอีกด้วย

สรุป ผู้บริหารควรต้องศึกษาทฤษฎีด้านการบริหาร เช่น ทฤษฎี 4Ms ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ ทฤษฎี X ทฤษฎี Y ทฤษฎี Z ทฤษฎีพอสคอบ โดยนำเอาปัจจัยการบริหารอันได้แก่ 4 M / 5 M รวมถึง ตลาด ข้อมูลข่าวสาร และเวลามา ประสานทำงานร่วมกัน เพื่อให้การดำเนินงานของ สถาบันบริการสารสนเทศประสบผลสำเร็จด้วยการ ใช้เทคนิควิธีการต่าง ๆ ในแต่ละขั้นตอน

มาดูกันซิว่า ... พวกเราอยู๋ใน Generation ใดกันนะ

อ่านบทความที่แจกให้ แล้วแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ดูว่า 1 อ่านบทความที่แจกให้ แล้วแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ดูว่า 1. ภายใน 5 ปี ถ้านักศึกษาได้ทำงาน นักศึกษาจะได้ร่วมงานกับคนใน Gen ใดบ้าง? 2. นักศึกษาจะบริหารจัดการบุคคลgeneration ในองค์กรของเราได้อย่างไร โดยใช้ทฤษฏี การบริหารงาน

The END