วิชากระบวนการนโยบายสาธารณะ PPA1104 รพีพัฒน์ จันทนินทร มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา
(Policy Impimentation) วงจรนโยบายสาธารณะ การก่อตัวนโยบาย (Policy Formation การกำหนดนโยบาย การตัดสินใจนโยบาย (Policy Decision) การนำนโยบาย ไปปฏิบัติ (Policy Impimentation) การประเมินผลนโยบาย (Policy Eavaluation)
การก่อตัวของนโยบาย ขั้นตอนการก่อตัวนโยบาย 1. การเริ่มต้นจากสิ่งที่ทำให้เกิดนโยบาย 2.สำรวจ การกลั่นกรอง ตระหนัก และระบุปัญหาสาธารณะ 3.การจัดระเบียบวาระนโยบาย 4.การกำหนดวัตถุประสงค์นโยบาย
1.การเริ่มต้นจากสิ่งที่ทำให้เกิดนโยบาย การก่อตัวของนโยบาย 1.การเริ่มต้นจากสิ่งที่ทำให้เกิดนโยบาย
การก่อตัวของนโยบาย สถานการณ์ที่ทำให้เกิดนโยบาย เริ่มต้นจากการพิจารณาลักษณะของปัญหาสาธารณะ ซึ่งมักจะเริ่มจากปัญหาของปัจเจกชนก่อนในรูปแบบของประเด็นสาธารณะ เมื่อปัจเจกชนประสบปัญหาเหมือนๆกัน ก็จะกลายเป็นปัญหาของคนส่วนใหญ่ ซึ่งเรียกว่า ปัญหาสาธารณะ และเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ
การก่อตัวของนโยบาย บุคคลจะรับรู้สภาพปัญหานโยบายเมื่อต้องเผชิญกับ เงื่อนไข 2 ประการคือ 1. เมื่อเกิดความตึงเครียดหรือความขัดแย้งขึ้นระหว่างแบบแผนของพฤติกรรมที่คุ้นเคยกับความคาดหมายและสิ่งแวดล้อมของบุคคล 2. ข้อมูลเกี่ยวกับความขัดแย้งถูกนำมาสู่ความสนใจของสาธารณชน
การก่อตัวของนโยบาย 1.ประเด็นสาธารณะ (Public Issue) คือ สิ่งที่เป็นประเด็นข้อถกเถียงกันของสังคม แต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นปัญหาของสังคม เช่น ประเด็นด้านสังคม ประเด็นด้านศาสนา ประเด็นด้านสุขภาพ ประเด็นด้านวัฒนธรรม ฯลฯ
การก่อตัวของนโยบาย 2.ปัญหาสาธารณะ ( Public Problem) เป็นสิ่งที่พัฒนามาจากประเด็นทางสังคมจนถูกมองว่า เป็นปัญหาของสังคม... โดยมีการจำแนกปัญหาออกเป็น 3 ปัญหา 2.1ปัญหาขัดข้อง เป็นปัญหาที่เกิดในอดีต ซึ่งปัจจุบันยังปรากฏอยู่และจะสืบเนื่องไปในอนาคต เป็นปัญหาของความแตกต่างระหว่างสิ่งที่พอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้น....
การก่อตัวของนโยบาย 2.2 ปัญหาป้องกัน เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและเป็นปัญหาที่มีสิ่งบอกเหตุว่า จะเกิดขึ้นในอนาคตอีก หากไม่รีบกระทำการป้องกัน เป็นปัญหาของความแตกต่างระหว่าง “สิ่งที่ต้องการ”กับ “สิ่งที่เกิดขึ้น” 2.3 ปัญหาพัฒนา ปัจจุบันไม่เป็นปัญหา แต่ในอนาคตอาจเป็นปัญหาได้ถ้ายังไม่ได้รับการแก้ไข เป็นปัญหาที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้น แต่ก็เกิดขึ้นเป็นปกติ เป็นปัญหาของความแตกต่างระหว่าง “ความต้องการ”หรือ “ความพึงพอใจเดิมกับสิ่งที่ต้องการให้เกิดหรือเกิดความพอใจใหม่ในปัจจุบัน
การก่อตัวของนโยบาย 3.ปัญหาสาธารณะจะกลายเป็นประเด็นเชิง นโยบายหรือเข้าสู่วาระและได้รับความสนใจจากผู้ กำหนดนโยบายสาธารณะ มักจะต้องมีคุณลักษณะ ของปัญหา คือ “เป็นวิกฤติ” มีการแตกตัวขยายวง กว้าง สะเทือนความรู้สึก กระทบสภาพแวดล้อม และร่วมสมัย
2.สำรวจ ตระหนัก และระบุปัญหาสาธารณะ การก่อตัวของนโยบาย 2.สำรวจ ตระหนัก และระบุปัญหาสาธารณะ
การก่อตัวของนโยบาย รัฐบาลจะต้องรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดเป็นระบบเพื่อ เสนอให้สังคมส่วนรวมทราบ และกำหนดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้รับผิดชอบในการเสนอทางเลือกเพื่อการแก้ไขปัญหาให้บรรลุเป้าประสงค์ที่ต้องการ (Institutional Agenda) ซึ่งในที่สุดจะปรากฏแนวทางแก้ไขออกมาในรูปของกฎหมายโดย ฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะมีผลต่อการนาไปปฏิบัติต่อไป
การก่อตัวของนโยบาย การรวบรวมปัญหาของรัฐบาลโดยพิจารณาจาก 1) ลักษณะและความสำคัญของปัญหานโยบาย การพิจารณาลักษณะและความสำคัญของปัญหานโยบาย พิจารณาได้จากความสัมพันธ์ 2 ระดับ คือ 1. ระดับปัจเจกบุคคล ได้แก่ ชนชั้นนำในสังคมหรือ สมาชิกสำคัญขององค์การต่างๆซึ่งมีบทบาทในการระบุปัญหานโยบายของสังคม 2. ระดับสถาบัน
การก่อตัวของนโยบาย การนำปัญหาเข้าสู่การพิจารณาของสถาบันขึ้นกับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 1. บุคลิกภาพของผู้เสนอปัญหา 2. ตำแหน่งในองค์การของผู้เสนอปัญหา 3. คุณลักษณะขององค์การ - เปิดกว้างรับรู้ปัญหา
การก่อตัวของนโยบาย การพิจารณาลักษณะและความสำคัญของปัญหานโยบาย พิจารณาได้ดังนี้ 1.ความสำคัญของปัญหานโยบาย 2. ความแปลกใหม่ของปัญหา 3. การพิจารณาต้นทุนและผลประโยชน์ของการแก้ไขปัญหา 4. ความซับซ้อนของปัญหานโยบายทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง 5. ภาพลักษณ์ของผู้ได้รับผลกระทบ 6. ค่านิยมของรัฐบาลในการพิจารณาปัญหา
การก่อตัวของนโยบาย ลำดับความสำคัญของปัญหานโยบาย จำแนกเป็น 1. ความสำคัญระดับท้องถิ่น 2. ความสำคัญระดับภูมิภาค 3. ความสำคัญระดับชาติ
3.การจัดระเบียบวาระนโยบาย การก่อตัวของนโยบาย 3.การจัดระเบียบวาระนโยบาย
การก่อตัวของนโยบาย ปัญหาและความต้องการของประชาชนเป็นเรื่องที่ยาก ต่อการทำความเข้าใจและมีความสลับซับซ้อนสูง ดังนั้นในการดำเนินการแก้ไขปัญหาสาธารณะให้ประสบ ความสำเร็จ จึงต้องอาศัยการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ซึ่งวิธีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณะที่น่าสนใจ ประการหนึ่ง คือ วิธีการของหน่วยงานด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ของ United Nations โดยมีเกณฑ์ที่สำคัญ รวม 5 เกณฑ์ ดังนี้ (ปกรณ์ ปรียากร) 1. กลุ่มคนทีได้รับผลกระทบ 2. ความร้ายแรงและเร่งด่วน 3. ความเสียหายในอนาคต 4. การยอมรับร่วมกันของชุมชน 5. ความเป็นไปได้ในการแก้ไข
การก่อตัวของนโยบาย กรรมวิธีการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา การกำหนดน้ำหนักของเกณฑ์แต่ละเกณฑ์จาก สำคัญมากที่สุด = 5 สำคัญมาก = 4 สำคัญ = 3 สำคัญน้อย = 2 สำคัญน้อยที่สุด = 1 โดยอาจจะให้น้าหนักเท่ากันในแต่ละเกณฑ์ก็ได้ •จากนั้นให้นาปัญหาที่ค้นพบมาสัมพันธ์กับเกณฑ์ โดยให้คะแนนความสัมพันธ์ดังนี้มากที่สุด = 5 มาก = 4 ปานกลาง = 3 น้อย = 2 และ น้อยที่สุด = 1
การก่อตัวของนโยบาย ตัวอย่างการจัดลำดับความสำคัญของปัญหา สมมติว่า จากการสำรวจปัญหาของหมู่บ้านในชนบทแห่งหนึ่งพบว่ามีปัญหาที่สำคัญๆ รวม 5 ปัญหา ที่หน่วยงานของรัฐต้องดำเนินการแก้ไข ได้แก่ (ปกรณ์ ปรียากร) 1. ขาดแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรที่เพียงพอ 2. ขาดถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้านกับทางหลวง 3. ขาดความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 4. มลภาวะจากภาคอุตสาหกรรมมีผลกระทบต่อชาวบ้าน 5. การตลาดภาคเกษตรกรรมไม่ดี
4.การกำหนดวัตถุประสงค์นโยบาย การก่อตัวของนโยบาย 4.การกำหนดวัตถุประสงค์นโยบาย
การก่อตัวของนโยบาย การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบาย 1.การกำหนดวัตถุประสงค์ของนโยบายทำให้ทราบถึงลำดับความสำคัญของนโยบายที่ต้องจัดทำ และการเลือกใช้นโยบาย ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ 2.วัตถุประสงค์ของนโยบายมีความสำคัญในฐานะที่เป็นปัจจัยกำหนดทิศทางของทางเลือกนโยบายที่จะนำไปปฏิบัติให้ประสบผลสำเร็จ 3.วัตถุประสงค์เป็นเกณฑ์ในการประเมินผลสำเร็จของนโยบายที่ จะนำไปปฏิบัติว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้มากน้อยเพียงใด
การก่อตัวของนโยบาย คุณลักษณะของวัตถุประสงค์ของนโยบาย 1. ความครอบคลุมประเด็นปัญหานโยบาย 2. ความสอดคล้องกับค่านิยมของสังคม 3. ความชัดเจนและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 4. ความสมเหตุสมผล 5. มีความสอดคล้องกับทรัพยากรที่จำเป็นต้องใช้ 6. มีความสอดคล้องทางการเมือง 7. การกำหนดกรอบเวลาที่เหมาะสม
การก่อตัวของนโยบาย
การก่อตัวของนโยบาย
การก่อตัวของนโยบาย
ขั้นการกำหนดนโยบาย
การกำหนดนโยบาย ตัวแบบในการกำหนดนโยบาย 1. ตัวแบบเชิงสถาบัน (Institutionalism Model) 2. ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) 3. ตัวแบบชนชั้นนา (Elite Model) 4. ตัวแบบเชิงระบบ (System Model) 5. ตัวส่วนเพิ่ม (Incremental Model)
การกำหนดนโยบาย 1.ตัวแบบเชิงสถาบัน (Institutionalism Model) นโยบายสาธารณะและรัฐบาลเป็นสิ่งที่มีความสัมพันธ์กันมาก เพราะนโยบายสาธารณะเป็นสิ่งที่กำหนดขึ้น ลงมือปฏิบัติ และบังคับใช้โดยสถาบันที่มีอำนาจ ซึ่งก็คือ รัฐบาล นโยบายสาธารณะ จึงเป็นผลผลิตของสถาบันทางการเมือง และ กิจกรรมทางการเมืองล้วนมี ศูนย์กลางอยู่ที่สถาบันทางการเมืองทั้งสิ้น
การกำหนดนโยบาย
การกำหนดนโยบาย 2. ตัวแบบกลุ่ม (Group Model) ประชาชนที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน จะรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อกดดันและเรียกร้องรัฐบาลทั้งอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ เป็นการต่อสู้แข่งขันระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคม เพื่อที่จะมีอิทธิพลเหนือการกำหนดนโยบายสาธารณะ นโยบายสาธารณะส่วนใหญ่ จะมีลักษณะที่เป็นไปตามทิศทางของกลุ่มที่มีอิทธิพลมากในขณะนั้น จุดที่กลุ่มผลประโยชน์ตกลงกันได้จึงกำหนดเป็นนโยบายสาธารณะ เรียกว่า จุดดุลยภาพ (Equilibrium point)
การกำหนดนโยบาย
การกำหนดนโยบาย 3. ตัวแบบชนชั้นนำ (Elite Model) ตัวแบบนี้มีพื้นฐานความเชื่อที่ว่า นโยบายสาธารณะคือ ผลสะท้อนจากความต้องการหรือค่านิยมของชนชั้นผู้นาที่เป็น ผู้ปกครองคุณลักษณะของตัวแบบชนชั้นนำ เป็นคนส่วนน้อย ของสังคม เป็นผู้มีอำนาจในสังคม มีอิทธิพลเหนือบุคคล ส่วนใหญ่ในสังคม เป็นผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้มีฐานะสูง ในสังคม แทนที่จะเป็นผลจากการสะท้อนความต้องการของ ประชาชน
การกำหนดนโยบาย
การกำหนดนโยบาย 4 . ตัวแบบเชิงระบบ (System Model) เป็นตัวแบบระบบมีความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญ คือ นโยบายสาธารณะเป็นการตอบสนองระบบการเมือง ที่มีต่อแรงกดดันต่าง ๆ ที่มาจากสภาพแวดล้อมที่ล้อมรอบระบบการเมืองนั้น
การกำหนดนโยบาย
การกำหนดนโยบาย 5. ตัวแบบส่วนเพิ่ม (Incremental Model) ส่วนเพิ่ม มีลักษณะของการกระทำกิจกรรมของรัฐบาลที่ต่อเนื่องมาจากอดีตโดยมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเพียงบางส่วน หรือเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีปัจจัยในการดำเนินนโยบายแบบเพิ่มเติมและต่อเนื่องดังนี้ 1.ฐานคติ 2.ความเหมาะสมการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน 3. คุณลักษณะด้อยของตัวแบบการเปลี่ยนแปลงจากเดิมบางส่วน
การกำหนดนโยบาย 1. ฐานคติที่สำคัญ 1.1 ลักษณะแบบอนุรักษ์นิยม 1.2 ผู้กำหนดนโยบายยอมรับความชอบธรรมของนโยบายสาธารณะที่มีมาก่อน 1.3 กรณีมีการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่และเงินลงทุนที่มีจำนวนสูงมาก ผู้กำหนดนโยบายอาจจะปฏิเสธโครงการใหม่ได้
การกำหนดนโยบาย (ต่อ) 1.4 แนวความคิดการเปลี่ยนแปลงเพียงบางส่วนนี้เหมาะสมทางการเมืองเป็นอย่างยิ่ง เพราะไม่ถูกต่อต้านจากประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ 1.5 กรณีที่ไม่มีข้อตกลงเกี่ยวกับเป้าประสงค์ของสังคม จะเป็นการง่ายสำหรับรัฐบาลในสังคมแบบพหุนิยม ที่จะดำเนินโครงการที่มีอยู่เดิมมากกว่าการเข้าไปเกี่ยวข้องกับแผนงานใหม่ๆ
การกำหนดนโยบาย 2. ความเหมาะสมของตัวแบบขึ้นอยู่กับเงื่อนไข ดังนี้ 2.1 ผลของนโยบายที่มีอยู่เป็นที่พอใจของผู้กำหนดนโยบายและประชาชน จึงจะทำให้การเปลี่ยนแปลงบางส่วนเป็นที่ยอมรับขอประชาชน 2.2 ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูงและสอดคล้องกับธรรมชาติของปัญหานโยบายที่ปรากฏอยู่ 2.3 ลักษณะของนโยบายต้องมีความต่อเนื่องสูงในการจัดการกับปัญหาที่ปรากฏอยู่
การกำหนดนโยบาย 3. คุณลักษณะด้อยของตัวแบบ คือ 3.1 การส่งเสริมให้เกิดความเฉื่อยชาในการกำหนดนโยบายสาธารณะ 3.2 การต่อต้านนวัตกรรม ไม่ยอมรับแนวคิดใหม่ๆหรือเทคนิคและเครื่องมือทางการบริหารที่นำมาประยุกต์ใช้ในการกำหนดนโยบายสาธารณะ
ขั้นการตัดสินใจนโยบาย
การตัดสินนโยบาย คือ การตัดสินใจนโยบาย การเลือกแนวทางหรือแนวนโยบายที่เหมาะสมที่สุด ที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของนโยบายได้ตามต้องการ หรืออาจรวมถึงการใช้เทคนิคและกลยุทธ์ต่างๆ ที่สามารถ แก้ไขปัญหาได้เป็นอย่างดี การใช้หลักจริยธรรม หรือ คุณธรรมมีความสำคัญต่อค่านิยมที่เป็นรากฐานสำคัญ การพิจารณาตัดสินทางเลือกนโยบาย หรือการตัดสินการดำเนินนโยบาย โดยยึดหลักการ ดังนี้
การตัดสินใจนโยบาย 1) การกำหนดทางเลือกนโยบาย การพัฒนาและการกำหนดทางเลือกนโยบาย จะกระทำควบคู่ไปกับการพยากรณ์เกี่ยวกับผลลัพธ์และคุณค่าของทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกให้ชัดเจน
การตัดสินใจนโยบาย การศึกษาการพัฒนาและการกำหนดทางเลือกนโยบาย พิจารณาได้จากปัจจัยต่อไปนี้ 1. คุณลักษณะสำคัญของทางเลือก 2. การแสวงหาทางเลือกนโยบาย 3. การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย 4. การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย
การตัดสินใจนโยบาย (1) คุณลักษณะสำคัญของทางเลือก 1.1 การสร้างสรรค์ (Creativity) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ไปปรากฏให้เป็นจริง 1.2 นวัตกรรม (Innovation) หมายถึง การนำสิ่งใหม่ไปสู่การใช้ประโยชน์
การตัดสินใจนโยบาย (2) การแสวงหาทางเลือกนโยบาย จำแนกได้ดังนี้ 1. การพิจารณาระหว่างทางเลือกที่ควรกระทำ และไม่ควรกระทำ 2. การพิจารณาทางเลือกที่เหมาะสม ทางเลือกนโยบายไม่จำเป็นต้องบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยวิธีการเดียวกัน ดังนั้น การค้นหาทางเลือกนโยบาย จึงอาจเกี่ยวข้องกับแนวทางพิจารณา 2 ประการคือ 1. การจำแนกลาดับชั้นของแนวทางแก้ไข 2. การตรวจสอบแนวทางแก้ไขตามที่ได้จัดลำดับชั้นไว้
การตัดสินใจนโยบาย (3) การกลั่นกรองทางเลือกนโยบาย มักเป็นกระบวนการที่มีการกระทำซ้าๆเพื่อให้มั่นใจว่าทางเลือกนโยบายแต่ละทางเลือกมีคุณสมบัติตรงตามที่ต้องการ กระบวนการในการกลั่นกรองนโยบายที่ใช้กันทั่วไป คือ กระบวนการประเมินผล เพื่อหาจุดแข็งและจุดอ่อนของนโยบาย
การตัดสินใจนโยบาย (4) การตรวจสอบทางเลือกนโยบาย ต้องตรวจสอบ -ความเป็นไปได้ทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง -ด้านต้นทุนและผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อมที่เกิดจากการนาทางเลือกนโยบายไปปฏิบัติ -ใครคือผู้รับผลประโยชน์และผู้เสียประโยชน์จากทางเลือกนโยบายนั้น -การกระจายของผลกระทบที่ไม่คาดหมาย
การตัดสินใจนโยบาย ประสิทธิผล คือ ความสามารถในการบรรลุเป้าหมายของทางเลือก ประสิทธิภาพ คือ ความสามารถในผลิตผลผลิตโดยเปรียบเทียบจากต้นทุน ความพอเพียง คือ ความสามารถของการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายภายใต้เงื่อนไขของทรัพยากรที่มีอยู่ ความเป็นธรรม คือ การกระจายตัวของผลการดำเนินการตามทางเลือก การตอบสนอง คือ ความสามารถในการเติมเต็มความต้องการของประชากรกลุ่มต่างๆ ความเหมาะสม คือ การพิจารณาเชิงคุณค่าและความเป็นไปได้ ในทางปฏิบัติ
การตัดสินใจนโยบาย ทฤษฎีความเป็นธรรมในนโยบายสาธารณะ Jeremy Bent ham (1748-1832) หลักอรรถประโยชน์ (Utilitarianism) อธิบายว่า คนชอบความสุข ความสุขเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด ทั้งในเชิงจิตวิทยาและจริยธรรม ในเชิงจิตวิทยา สิ่งจูงใจที่สำคัญของมนุษย์ คือ 1. ความต้องการที่จะได้รับความสุข 2. ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความทุกข์ ในเชิงจริยธรรม อธิบายว่า การกระทำใดก็ตามที่เป็นสิ่งจำเป็นในเชิงคุณธรรม การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ควรกระทำ โดยให้เลือก “ทางเลือกที่ก่อให้เกิดหน่วยของความสุขมากที่สุด” ดังนั้นผู้กำหนดนโยบาย ต้องเลือก ทางเลือกที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมมากที่สุด โดยไม่คำนึงว่าใครจะเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์
การตัดสินใจนโยบาย ทฤษฎีความเป็นธรรมในนโยบายสาธารณะ Vilfredo Pareto (1848-1923) คือ “ทางเลือกใดที่ทำให้คนอย่างน้อยที่สุดหนึ่งคนรู้สึกดีขึ้นกว่าเดิม โดยไม่ทำให้ใครรู้สึกแย่ลงกว่าเดิม ทางเลือกนั้นเป็นทางเลือกที่ควรเลือก” การประเมินความสุขของคนจากความรู้สึกพึงพอใจ Pareto วัดคุณค่าของนโยบายหนึ่ง โดยดูจากความรู้สึกพึงพอใจของคนตามหลักของ Pareto รัฐบาลจะต้องเปิดโอกาสให้คนที่รู้สึกแย่ลงกว่าเดิม สามารถคัดค้าน (Veto) ได้ เมื่อมีการคัดค้าน อาจทำให้ 1.ทางเลือกนั้นถูกยกเลิกไปเลย หรือ 2.ทางเลือกนั้นถูกเลือก แต่มี การชดเชย ให้แก่คนที่รู้สึกว่าตนได้รับผลเสียหายจากทางเลือกนั้น
การตัดสินใจนโยบาย ทฤษฎีความเป็นธรรมในนโยบายสาธารณะ John Raw บิดาแห่งทฤษฏีความยุติธรรม คือ “สิ่งที่มีคุณค่าทั้งหลายในสังคมควรถูกแบ่ง หรือจัดสรรให้ทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน” แต่ถ้าไม่สามารถจัดสรรให้เท่าเทียมกัน การจัดสรรที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ต้องให้ทุกคนได้ประโยชน์ และความแตกต่างที่ไม่เท่าเทียมกันนั้น ควรจะมีช่องว่าง หรือความแตกต่างกันให้น้อยที่สุด เพื่อความยุติธรรม