รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน 3 ตุลาคม 2556 ข้อมูล ณ เวลา 11.00 น. รายงานสถานการณ์น้ำประจำวัน 3 ตุลาคม 2556 ข้อมูล ณ เวลา 11.00 น.
สรุปสถานการณ์ปัจจุบัน ร่องมรสุมที่พาดผ่านภาคกลางตอนล่าง ภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออกเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนกลาง โดยจะยังคงพาดผ่านบริเวณดังกล่าวจนถึงวันที่ 5 ต.ค. 56 ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ทำให้ภาคกลางตอนล่างรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง พายุโซนร้อน “ฟิโทว์” (FITOW) บริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกกำลังเคลื่อนตัวทางเหนือ ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทย ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมง มีฝนหนาแน่นในภาคเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลางตอนล่าง มีฝนตกหนักเป็นแห่งๆ บริเวณ จ.ลพบุรี พะเยาและเพชรบูรณ์ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ณ วันที่ 3 ต.ค. 56 ส่วนใหญ่ปริมาณ น้ำอยู่ในเกณฑ์ปานกลาง โดยเขื่อนที่มีปริมาณน้ำมาก ได้แก่ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (97%) เขื่อนหนองปลาไหล (92%) เขื่อนขุนด่านฯ (89%) เขื่อนสิรินธร (89%) เขื่อนลำ นางรอง (89%) เขื่อนศรีนครินทร์ (85%) เขื่อนวชิราลงกรณ (83%) เขื่อนแควน้อย (89%) เขื่อนกระเสียว (83%) เขื่อน กิ่วคอหมา (82%) เขื่อนน้ำอูน (81%)
สรุปสถานการณ์ระดับน้ำล้นตลิ่ง แม่น้ำชี อ.บ้านเขว้า และ อ.เมือง จ.ชัยภูมิ แนวโน้มทรงตัว แม่น้ำมูล ลำปลายมาศ อ.ชุมพวง จ.นครราชสีมา แนวโน้มทรงตัว ลำชี อ.เมืองสุรินทร์ จ.สุรินทร์ แนวโน้มลดลง ห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ แนวโน้มทรงตัว และ อ.ประโคนชัย จ.บุรีรัมย์ แนวโน้มลดลง แม่น้ำมูลสายหลัก M.5 อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ แนวโน้มทรงตัว และ M.7 อ.เมือง จ.อุบลราชธานี แนวโน้มเพิ่มขึ้น แม่น้ำเจ้าพระยา คลองโผงเผง อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา แนวโน้มเพิ่มขึ้น และ คลองบางบาล อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา แนวโน้มเพิ่มขึ้น แม่น้ำป่าสัก อ.เมือง และ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์ แนวโน้มทรงตัว อ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ แนวโน้มลดลง อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี แนวโน้มเพิ่มขึ้น แม่น้ำบางปะกง อ.องครักษ์ จ.นครนายก แนวโน้มทรงตัว แม่น้ำปราจีนบุรี คลองพระปรง อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว แนวโน้มทรงตัว แม่น้ำปราจีนบุรีสายหลัก อ.กบินทร์บุรี และ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี แนวโน้มลดลง
การคาดการณ์ คาดการณ์ฝน ช่วงวันที่ 3 - 5 ต.ค. 56 ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้นในภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และอาจมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในบริเวณดังกล่าวได้ คาดการณ์ฝน ช่วงวันที่ 6 - 9 ต.ค. 56 ร่องมรสุมจะเลื่อนต่ำลงไปพาดผ่านภาคใต้และอ่าวไทยจะทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ในช่วงวันที่ 8 - 9 ต.ค. ร่องมรสุมที่บริเวณปลายแหลมญวน อาจทวีกำลังแรงเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำได้ โดยต้องเฝ้าติดตามการคาดการณ์ในระยะต่อไป คาดการณ์ปริมาณน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยาล่วงหน้า 7 วัน แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน ปริมาณน้ำมีแนวโน้มลดลง แม่น้ำเจ้าพระยา ที่สถานี C.2 ปริมาณน้ำมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอยู่ในช่วง 2,000 ลบ.ม.ต่อวินาที จากนั้นจะลดต่ำลง
เส้นทางพายุและภาพถ่ายจากดาวเทียม MTSAT-2 วันที่ 3 ต.ค. 56 เวลา 10.00 น. 5
แผนที่อากาศของกรมอุตุนิยมวิทยา 3 ต.ค. 56 เวลา 7.00 น. ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา
ปริมาณฝนสะสม 24 ชั่วโมงย้อนหลังสูงสุด วันที่ 3 ต.ค. 56 เวลา 11.00 น.
ปริมาณฝนสะสม ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วันที่ 2 ต.ค. 56 เวลา 07.00 น. ถึง วันที่ 3 ต.ค. 56 เวลา 07.00 น.
สถานการณ์ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ วันที่ 3 ต.ค. 56 เวลา 11.00 น. ระดับน้ำในแม่น้ำสายสำคัญ มีน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำปราจีนบุรี แม่น้ำบางปะกง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำชี แม่น้ำมูล ที่ลำปลายมาศ ลำชี ห้วยทับทัน ลำเซบาย และแม่น้ำมูลสายหลัก น้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำที่ คลองโผงเผง และคลองบางบาล
สถานการณ์น้ำ – แม่น้ำมูล MUN013 ห้วยทับทัน อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ ระดับน้ำห้วยทับทัน ที่ อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ แนวโน้มทรงตัว 10 ที่มา : สสนก
สถานการณ์น้ำ – แม่น้ำมูล ระดับน้ำ ณ วันที่ 3 ก.ย. 56 เวลา 7.00 น. แม่น้ำมูล ลำน้ำห้วยสำราญ ที่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ แนวโน้มลดลง 11 ที่มา : กรมชลประทาน
สถานการณ์น้ำ – แม่น้ำมูล ระดับน้ำ ณ วันที่ 3 ก.ย. 56 เวลา 7.00 น. แม่น้ำมูล ที่ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี แนวโน้มเพิ่มขึ้น 12 ที่มา : กรมชลประทาน
สถานการณ์น้ำ – แม่น้ำปราจีนบุรี SKE001 ต.ศาลาลำดวน อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว ระดับน้ำ ณ วันที่ 3 ต.ค. 56 เวลา 11.00 น. ต้นแม่น้ำปราจีนบุรี ที่คลองพระปรง ต.ศาลาลำดวน อ.เมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว แนวโน้มทรงตัว 13 ที่มา : สสนก
สถานการณ์น้ำ – แม่น้ำปราจีนบุรี PRC001 ต.กบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี PRC002 ต.หน้าเมือง อ.เมืองปราจีนบุรี จ.ปราจีนบุรี ระดับน้ำ ณ วันที่ 3 ต.ค. 56 เวลา 11.00 น. แม่น้ำปราจีนบุรี ที่ อ.กบินทร์บุรี และ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี แนวโน้มลดลง 14 ที่มา : สสนก
ปริมาณน้ำกักเก็บในอ่างขนาดใหญ่ (3 ต.ค. 56) น้ำในอ่างฯ ทั้งหมด 49,380 ล้าน ลบ.ม. (70%) น้อยกว่าปีที่แล้ว 1,290 ล้าน ลบ.ม. (2%) ภาคเหนือ ปริมาตรน้ำในอ่าง 13,104 ล้าน ลบ.ม. (53%) น้ำไหลลงอ่างฯ ภูมิพล สิริกิติ์ 62, 23 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ระบาย 1, 2 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปริมาตรน้ำในอ่าง 5,867 ล้าน ลบ.ม. (70%) น้ำไหลลงอ่างฯ สิรินธร 8 ล้านลบ.ม. ระบาย 10 ล้านลบ.ม. ภาคกลาง-ตะวันตก ปริมาตรน้ำในอ่าง 23,715 ล้าน ลบ.ม. (88%) น้ำไหลลงอ่างฯ เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 57, 44, 72 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ระบาย 14, 15, 43 ล้านลบ.ม. ตามลำดับ ภาคตะวันออก ปริมาตรน้ำในอ่าง 890 ล้าน ลบ.ม. (76%) น้ำไหลลงอ่างฯ ขุนด่านปราการชล 2 ล้านลบ.ม. ระบาย 1 ล้านลบ.ม
สถานการณ์น้ำในรอบ 10 ปี - เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กักเก็บ ไหลเข้าสะสม 932 mcm. (97%) 3 ต.ค. 56 1,233 mcm. 3 ต.ค. 56 ที่มา : กรมชลประทาน, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, http://www.thaiwater.net/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
การคาดการณ์ปริมาณฝนจากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF (ความละเอียด 3x3 กม H 11.5 3 ต.ค. 56 4 ต.ค. 56 5 ต.ค. 56 รายละเอียดเพิ่มเติม www.thaiwater.net 17
การคาดการณ์ปริมาณฝนจากแบบจำลองสภาพอากาศ WRF (ความละเอียด 9x9 กม 6 ต.ค. 56 7 ต.ค. 56 H 7 8 ต.ค. 56 9 ต.ค. 56 รายละเอียดเพิ่มเติม www.thaiwater.net 18
คาดการณ์ปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 ค่ายจิรประวัติ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ หมายเหตุ HAII : คาดการณ์ ณ วันที่ 3 ต.ค. 56 RID : คาดการณ์ ณ วันที่ 2 ต.ค. 56 JICA : คาดการณ์ ณ วันที่ 1 ต.ค. 56