Electrical Instruments and Measurements Introduction to Electrical Instruments and Measurements Piyadanai Pachanapan, 303251 Electrical Instrument & Measurement, NU
บทนำของการวัดและเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า นิยาม การวัด เครื่องวัดไฟฟ้า วัตถุประสงค์ การวัด เครื่องวัดไฟฟ้า ชนิดของเครื่องวัดไฟฟ้า ชนิดและวิธีการวัด
การวัดคืออะไร ??? ขั้นตอนพื้นฐาน เพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้และควบคุมระบบ การกำหนดตัวเลขให้กับคุณสมบัติของวัตถุหรือเหตุการณ์ เช่น การวัดความยาวของวัตถุ การวัดความต้านทานไฟฟ้า การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน โดยที่มาตรฐานจะเป็นตัวแทนของหน่วยของการวัดที่ใช้ และค่าตัวเลขที่ได้จากการวัดจะเป็นการแสดงอัตราส่วนของวัตถุที่วัดกับมาตรฐาน
นิยามของการวัด Measurement is the process of Empirical, Objective, Assignment of numbers to properties of objects or events of the real world in such a way as to describe them
Empirical การวัดต้องเป็นผลจากการสังเกตหรือการทดลอง ไม่ใช่จากทฤษฎีหรือความคิด Objection ตัวเลขที่กำหนดแก่คุณสมบัติโดยการวัด จะต้องเป็นอิสระต่อผู้สังเกต (Observer)
Assignment of number to properties บรรยายถึงคุณสมบัติของวัตถุหรือเหตุการณ์ ไม่ใช่ บรรยายถึงตัววัตถุหรือเหตุการณ์ ตัวเลขที่กำหนด คือ ตัวเลขที่แสดงการปรากฏของคุณสมบัติของวัตถุหนึ่ง และ กำหนดอีกตัวเลขหนึ่ง (ด้วยกระบวนการวัดเดียวกัน) ให้แก่คุณสมบัติอย่างเดียวกันของอีกวัตถุหนึ่ง
“การวัดเป็นกระบวนการของการเปรียบเทียบระหว่างการปรากฏของคุณสมบัติ กับอีกการปรากฏหนึ่งของคุณสมบัติเดียวกัน”
รูปแบบของการวัดในทางปฏิบัติ การเปรียบเทียบกับมาตรฐาน มาตรฐานเป็นตัวแทนทางกายภาพของหน่วย (Unit) ของการวัดที่ใช้ ค่าตัวเลข (Measure) ที่ให้แก่ค่าที่วัด จะแสดงอัตราส่วนของขนาดของคุณสมบัติต่อขนาดมาตรฐานซึ่งถือว่าเป็นหนึ่ง ** มาตรฐานต้องเป็นที่ยอมรับโดยผู้คนในวงการเดียวกัน
วัตถุประสงค์ของการวัด การวัดเพื่อให้ได้มาซึ่งความรู้ การวัดเพื่อใช้ในการควบคุม
การวัดทางไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เป็นรูปแบบการวัดที่นิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีข้อได้เปรียบหลายด้าน เช่น ความไว กำลังสูญเสียน้อย ความเร็ว ความไว้ใจได้ ความหลากหลายในการวัด การวัดที่ไม่ใช่ไฟฟ้า เช่น ตาชั่ง (เข็ม), ไม้บรรทัด
การวัดทางไฟฟ้าโดยทั่วไปแล้ว มี 2 ความหมาย คือ การวัดปริมาณทางไฟฟ้า คือ การวัดกระแส แรงดัน หรือ ความต้านทาน เป็นต้น 2. การวัดปริมาณต่างๆ โดยการใช้สัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อ เช่น วัด น้ำหนัก
ชนิดของเครื่องวัดไฟฟ้า ระบบอนาลอก (analog) เครื่องวัดจะแสดงแบบเข็มชี้ ระบบดิจิตอล (digital) เครื่องวัดจะแสดงค่าออกมาเป็นตัวเลข
ชนิดและวิธีการวัด การวัดโดยตรงกับการวัดโดยอ้อม การวัดโดยตรง เป็นการวัดที่นำเอาอุปกรณ์วัดปริมาณ ซึ่งเราต้องการรู้ค่า ไปอ่านค่าโดยตรง การวัดโดยอ้อม เป็นการวัดปริมาณซึ่งเห็นได้ชัดว่ามีความสัมพันธ์กับปริมาณที่ต้องการรู้ค่า จากนั้นจึงนำเอาปริมาณที่วัดได้ มาทำการคำนวณหาปริมาณที่เราต้องการรู้ค่าอีกทีหนึ่ง เช่น รู้ V, I หาค่า R จาก V / I
2. การวัดแบบเบี่ยงเบนกับการวัดแบบสมดุล 2. การวัดแบบเบี่ยงเบนกับการวัดแบบสมดุล การวัดแบบเบี่ยงเบน (Electromechanic Instruments, Indicating Instrument) เป็นวิธีซึ่งปริมาณที่วัด ถูกนำไปเคลื่อนที่เข็มชี้ของมาตรวัด ทำให้เข็มชี้เบี่ยงเบน การวัดแบบสมดุล (Null Type Instrument) เป็นวิธีการวัดซึ่งใช้มาตรฐานที่ปรับค่าได้ เพื่อทำให้เกิดสมดุลกับปริมาณที่ต้องการรู้ค่า จากนั้นจึงอ่านค่าที่เราต้องการวัดจากปริมาณมาตรฐานอีกทอดหนึ่ง
Indicating Measurement
Null Type Instrument