สิทธิในข้อมูลข่าวสาร เครื่องมือสำคัญของประชาชนในปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม
รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 56 หลักการ ประชาชนมีสิทธิรับทราบและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารในครอบครองของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น ข้อยกเว้นไม่เปิดเผย กระทบ 1. ความมั่นคงของรัฐ 2. ความปลอดภัยของประชาชน 3. ส่วนได้เสียของบุคคลอื่น/ข้อมูลส่วนบุคคล กฎหมายที่เกี่ยวข้อง > พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540
แนวคิดหลักเรื่องการใช้สิทธิ ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 รัฐรู้อะไร ประชาชนรู้อย่างนั้น หน่วยงานของรัฐ เปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น ประชาชน สิทธิที่จะรู้ และรู้ที่จะใช้สิทธิ
หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐและสิทธิของประชาชน ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 หน้าที่ของหน่วยงานของรัฐ - ส่งข้อมูลลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา - จัดไว้ประชาชนเข้าตรวจดู - จัดหาไว้ให้ประชาชนเป็นการเฉพาะราย - แนะนำแหล่งที่เก็บข้อมูล - อาจมีคำสั่งมิให้เปิดเผยข้อมูล สิทธิของประชาชน - ขอคำปรึกษา - ตรวจดูข้อมูล - ขอข้อมูลข่าวสารอื่นใดของราชการ - ได้รู้ถึงข้อมูลส่วนบุคคลของตน - ร้องเรียน - อุทธรณ์
ประเภทของข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลข่าวสารที่ต้องเปิดเผยเป็นการทั่วไป (มาตรา 7, 8, 9, 10, 11, 26) ข้อมูลข่าวสาร ส่วนบุคคล (มาตรา 4, 21, 23, 24) ข้อมูลข่าวสาร ที่ไม่ต้องเปิดเผย (มาตรา 14, 15) - ลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา - หน่วยงานจัดไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู - เอกสารประวัติศาสตร์ - ข้อมูลข่าวสารของราชการที่เปิดเผยไม่ได้ได้แก่ ข้อมูลที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่สถาบันพระมหากษัตริย์ - ข้อมูลที่หน่วยงานของรัฐอาจมีคำสั่งมีให้เปิดเผย เช่น ข้อมูลที่ให้เกิดความเสียหายต่อความั่นคงของประเทศเป็นอันตรายต่อชีวิต/ความปลอดภัยของบุคคล
1. บุคคลสามารถยื่นคำขอตรวจดูข่าวสารส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเอง “ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลข่าวสารเฉพาะตัวบุคคล เช่น การศึกษา ฐานะทางการเงิน ประวัติสุขภาพ ประวัติอาชญากรรม 1. บุคคลสามารถยื่นคำขอตรวจดูข่าวสารส่วนบุคคลเกี่ยวกับตนเอง 2. ถ้าเห็นว่าข้อมูลของตนไม่ถูกต้อง ยื่นคำขอต่อหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลให้แก้ไข/ ลบ ข้อมูลข่าวสารนั้นได้ (มาตรา 25)
ปัญหาที่เกิดจากการใช้สิทธิ เพื่อเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ 1. ไม่จัดพิมพ์ข้อมูลข่าวสารฯ 2. ไม่จัดข้อมูลข่าวสารฯ ให้ตรวจดู 3. ไม่จัดหาข้อมูลข่าวสารฯ ให้ตามที่ขอ 4. อ้างว่าไม่มีข้อมูลข่าวสารฯ 5. ปฏิบัติงานล่าช้า 6. ผู้ขอไม่ได้รับความสะดวกโดยไม่มีเหตุอันสมควร 7. ฝ่าฝืน ไม่ปฏิบัติตามพรบ.ข้อมูลข่าวสารฯ ร้องเรียน อุทธรณ์ 8. มีคำสั่งไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ 9. มีคำสั่งไม่ฟังคำคัดค้านการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารฯ 10. มีคำสั่งไม่เปลี่ยนแปลง แก้ไข หรือลบข้อมูลข่าวสารฯ
วิธีการเขียนคำขอข้อมูล 1. ชื่อ – ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์, วันที่ยื่นคำขอ, รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ร้องขอ 2. รายละเอียดข้อมูลที่ขอ ชื่อ รายละเอียดข้อมูล วิธีการที่ต้องการ ตรวจดู/สำเนา/รับรอง+สำเนาถูกต้อง เหตุผลที่ขอ (กฎหมายไม่บังคับให้ต้องระบุเหตุผล) 3. ลงชื่อ
วิธีการเขียนหนังสือคำอุทธรณ์ 1. ชื่อ – ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์, วันที่ยื่นคำขอ, รายละเอียดเกี่ยวกับผู้อุทธรณ์ 2. รายละเอียดเกี่ยวกับหน่วยงานและการกระทำที่เป็นเหตุยื่นคำอุทธรณ์ ชื่อหน่วยงาน ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหน่วยงานและการกระทำ หรือคำสั่งที่เป็นมูลเหตุให้ท่านยื่นคำอุทธรณ์ โดยระบุให้ชัดเจน รายละเอียดเกี่ยวกับข้อมูลที่เป็นเหตุให้ท่านอุทธรณ์ ควรระบุให้ชัดเจนและเข้าใจได้ว่าข้อมูลที่ท่านขอดู หรือข้อมูลที่ท่านคัดค้านในฐานะผู้มีส่วนได้เสีย หรือข้อมูลที่ท่านต้องการให้แก้ไขหรือลบ เป็นข้อมูลเรื่องอะไร โดยควรระบุให้ชัดเจนที่สุดเท่าที่จะทำได้ และควรระบุชื่อและประเภท หมายเลขและวันที่ที่กำหนดในเอกสารไว้ด้วย 3. เอกสารประกอบ (ถ้ามี) เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร
วิธีการเขียนหนังสือร้องเรียน 1. ชื่อ – ที่อยู่ สถานที่ติดต่อ เบอร์โทรศัพท์, วันที่ยื่นคำขอ, รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ร้องเรียน 2. รายละเอียดหน่วยงานและการปฎิบัติที่ไม่เป็นไปตามกฎหมาย ชื่อหน่วยงาน ข้อเท็จจริงหรือพฤติการณ์ที่เป็นการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย 3. เอกสารประกอบ (ถ้ามี) เช่น คำร้องขอข้อมูลข่าวสาร หรือหนังสือแจ้งการปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสาร
- กรณียื่นคำขอแล้วหน่วยงานไม่เปิดเผย (มาตรา 18) อุทธรณ์ภายใน 15 วัน ต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร - คณะกรรมการวินิจฉัยข้อมูลข่าวสารฯ ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 60 วัน - หากไม่พอใจผลการพิจารณา หรือไม่ทราบผลภายใน 60 วัน สามารถใช้สิทธิฟ้องต่อศาลปกครอง
ข้อควรปฏิบัติในการยื่นคำร้องต่อหน่วยงานรัฐ เพื่อประโยชน์ในการติดตามเรื่อง ควรดำเนินการดังนี้ ก) ควรสำเนาคำร้อง พยานหลักฐาน ไว้ 1 ชุด ให้เจ้าหน้าที่รับรองว่า ได้ยื่นต้นฉบับไว้แล้ว เพื่อเป็นหลักฐานว่าได้มีการร้องทุกข์และยื่น พยานหลักฐานไว้ต่อหน่วยงานรัฐ ข) ควรสอบถามเจ้าหน้าที่ถึงระยะเวลาในการดำเนินการผู้รับผิดชอบ เบอร์โทรศัพท์ที่จะติดต่อสอบถามความคืบหน้าได้ ค) ควรหมั่นตรวจตราจดหมายที่ส่งมาที่บ้านหรือที่อยู่ที่ให้ไว้กับ เจ้าหน้าที่ว่า เจ้าหน้าที่แจ้งให้เราผู้ร้องดำเนินการเพิ่มเติมหรือไม่ อย่างไร และหากมีข้อสงสัยให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่เพื่อสอบถาม โดยเร็ว
กรณีศึกษา การขอข้อมูลข่าวสารในประเด็นสิ่งแวดล้อมของกลุ่มอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมหนองแซง ข้อเท็จจริง จังหวัดสระบุรีเริ่มจัดทำร่างผังเมืองรวมจังหวัดสระบุรีในปี 2546 การจัดทำร่างผังเมืองฯ ได้ผ่านขั้นตอนที่สำคัญ เช่น การสำรวจสภาพ พื้นที่ การรับฟังความคิดเห็นประชาชน และผ่านความเห็นชอบใน หลักการจาก ครม. ในปี 2550 ตามร่างผังเมืองอำเภอหนองแซงถูกกำหนดให้เป็นเขตอนุรักษ์ชนบทและ เกษตรกรรมที่สงวนไว้เพื่อการเกษตรและที่อยู่อาศัย ห้ามสร้างโรงงาน ทุกจำพวก
ข้อเท็จจริง (ต่อ) ประชาชนในพื้นที่ในนามเครือข่ายอนุรักษ์วิถีเกษตรกรรมเห็นว่าร่างผังเมือง ที่ จัดทำขึ้นสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และวิถีชีวิตของชุมชน และเห็นว่าหากมีการ ประกาศใช้ผังเมืองจะทำให้ไม่มีโรงงานขนาดใหญ่ในพื้นที่ของตน แต่ระหว่างที่ร่างผังเมืองยังไม่ประกาศใช้ก็มีการอนุญาตให้มีการสร้างโรงงาน ขนาดใหญ่ในพื้นที่เรื่อยมา และกำลังมีการขออนุญาตก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงาน ความร้อนขนาดใหญ่อันดับสองของประเทศในพื้นที่ดังกล่าว VS
การใช้สิทธิในข้อมูลข่าวสารเพื่อการรณรงค์ 1.ช่วงก่อนที่ EIA จะผ่านความเห็นชอบ - เครือข่ายฯ ได้ทำหนังสือขอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบ สิ่งแวดล้อมโครงการโรงไฟฟ้าหนองแซงไปยังสำนักงานนโยบาย และแผนพลังงานแห่งชาติ 25 และ 26 มิ.ย. 2552 - เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการ ข้อมูลมลพิษ ปริมาณน้ำที่ใช้ ปริมาณน้ำที่ปล่อย และมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม นำไปใช้ในการทำความเข้าใจกับชุมชน และ ตรวจสอบว่าถูกต้องตามความเป็นจริงหรือไม่
1.ช่วงก่อนที่ EIA จะผ่านความเห็นชอบ (ต่อ) 3 ส.ค. 2552 เครือข่ายอุทธรณ์คำสั่งไม่เปิดเผย 20 ต.ค. 2552 คณะกรรมการมีคำวินิจฉัยว่าเมื่อมีการเปิดเผยอี ไอเอที่ห้องสมุด สผ.แล้ว ผู้อุทธรณ์จึงมีสิทธิขอดูได้แล้ว จึงมีมติยุติเรื่อง
2. ช่วงที่มีการทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระหว่างบริษัทฯกับ กฟผ. ปี 2551 มีข่าวทางหนังสือพิมพ์ว่าบริษัทฯกับ กฟผ.ได้เข้าทำ สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากัน 10 พ.ย. 2551 เครือข่ายฯ ได้ทำหนังสือขอข้อมูลข่าวสารสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าระหว่างกฟผ.กับบริษัทฯเอกชน เพื่อจะได้ทราบถึงรายละเอียดในการทำสัญญาว่าเอื้อประโยชน์ต่อ เอกชนเกินสมควรหรือไม่ หรือสร้างภาระให้กับชุมชนเกินสมควรหรือไม่ 23 เม.ย. 2552 กฟผ.มีความเห็นให้เปิดเผยข้อมูลต่อเครือข่ายฯ ยกเว้น ๒ รายงานคือค่าความพร้อมจ่ายและค่าพลังงานไฟฟ้า
6 พ. ค. 2552 บริษัทฯ อุทธรณ์คำสั่ง กฟผ 6 พ.ค. 2552 บริษัทฯ อุทธรณ์คำสั่ง กฟผ.ต่อคณะกรรมการฯ ให้ เพิกถอนคำสั่งของ กฟผ.ที่ให้เปิดเผยสัญญา 11 พ.ย. 2552 คณะกรรมการฯ มีมติให้เปิดเผยทั้งหมดพร้อม สำเนาที่มีคำรับรองถูกต้อง เว้นแต่ค่าพร้อมจ่ายและค่าพลังงานไฟฟ้าที่ ให้เปิดให้ตรวจดูแต่ไม่ให้สำเนาหรือคัดลอกข้อมูลดังกล่าว 4 ธ.ค. 2552 บริษัทฯ ฟ้องคดีต่อศาลปกครองและขอให้ศาลทุเลา การบังคับตามคำสั่งของ คณะกรรมการฯและกฟผ. 28 ธ.ค. 2552 ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่ง เครือข่ายฯ จึงไม่สามารถตรวจดูสัญญาได้ ตุลาคม ๒๕๕๗ ศาลมีคำพิพากษายกฟ้องบริษัทฯและให้เปิดเผย สัญญา
3. ช่วงที่มีการออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทฯ มิ.ย. 2553 เครือข่ายฯ ทราบว่า กกพ.ได้ออกใบอนุญาตให้แก่บริษัทฯ 29 มิ.ย. 2553 เครือข่ายฯขอข้อมูลเกี่ยวกับการอนุมัติอนุญาต โรงไฟฟ้าหนองแซงไปยังกรมโรงงานจำนวน 5 รายการ เพื่อให้รู้ว่าการออกใบอนุญาตดังกล่าวอาศัยเหตุผลและข้อเท็จจริงใดรองรับ มีเงื่อนไขแนบท้ายใบอนุญาตอย่างไร และใช้เป็นฐานในการฟ้องคดี 25 ส.ค. 2553 กรมโรงงานมีหนังสือถึงเครือข่ายฯ ให้เปิดเผย 2 รายการและปฏิเสธที่จะเปิดเผย 3 รายการ 20 ก.ย. 2553 เครือข่ายได้อุทธรณ์คำสั่งไม่ให้เปิดเผยไปยังคณะ กรรมการฯ 16 ก.พ. 2554 คณะกรรมการฯมีมติให้กรมโรงงานเปิดเผยเอกสาร ทั้งหมดแก่เครือข่ายพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
4. ช่วงที่เริ่มมีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าในพื้นที่ กรณีที่ 1 งบประมาณในการรักษาความปลอดภัย หลังได้รับใบอนุญาตบริษัทฯ ก็เริ่มเข้าดำเนินการในพื้นที่และต้องเผชิญ กับการประท้วงจากคนในพื้นที่ ช่วงดังกล่าวนี้เองบริษัทฯได้ขอความร่วมมือจากอำเภอให้ส่งเจ้าหน้าที่ ตำรวจมารักษาความปลอดภัยจำนวนมาก ชาวบ้านมีข้อสงสัยว่าเหตุใดอำเภอจึงส่งเจ้าหน้าที่จำนวนมากมารักษา ความปลอดภัยให้บริษัทฯนี้ได้
14 ม.ค. และ 2 ก.พ. 2554 เครือข่ายฯ จึงมีการขอข้อมูล เกี่ยวกับคำสั่งและงบประมาณที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยดังกล่าว ต่ออำเภอหนองแซง 3 ก.พ. 2554 อำเภอปฏิเสธการเปิดเผยโดยอ้างว่าเป็นข้อมูล เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยเข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 15(2) 7 ก.พ. 2554 เครือข่ายอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการฯ 27 เม.ย. 2554 สั่งให้อำเภอเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวพร้อมทั้ง สำเนาที่มีคำรับรองความถูกต้อง
กรณีที่ 2 ก่อสร้างไม่เป็นไปตาม EIA 3 พ.ค. 2554 เครือข่ายมีหนังสือถึง อบต.เพื่อขอข้อมูลเกี่ยวกับการขุด ดินถมดิน 2 รายการ เพื่อตรวจสอบว่าการดำเนินการดังกล่าวเป็นไปตามที่ระบุไว้ใน EIA หรือไม่ 19 พ.ค. 2554 อบต.ปฏิเสธการเปิดเผยโดยอ้างว่าเป็นข้อมูลที่ผู้ให้มา ไม่ประสงค์ที่จะให้เปิดเผย เป็นข้อมูลส่วนบุคคล 31 พ.ค. 2554 เครือข่ายอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการ 7 ก.ย. 2554 คณะกรรมการมีมติให้เปิดเผยเว้นแต่ สำเนาทะเบียน บ้าน บัตรประชาชนและหนังสือเดินทาง 22 ก.ย. 2554 บริษัทฯฟ้องคดีต่อศาลปกครอง 26 ก.ย. 2554 ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งคณะกรรมการฯ
ตัวอย่างนักข่าวที่ใช้สิทธิในข้อมูลข่าวสาร คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ อดีตนักข่าวอาวุโสในเครือมติชน (ปัจจุบันเป็น กรรมการปฏิรูปกฎหมาย) เป็นนักข่าวที่ใช้สิทธิในข้อมูลข่าวสารอย่าง สม่ำเสมอ นับตั้งแต่ปี 2543 ซึ่งเป็นปีแรกจนถึงปี 2550 มีคำวินิจฉัยของ ตนเองรวม 10 เรื่อง นี่ไม่รวมกรณีที่ขอแล้วหน่วยงานรัฐจัดให้ตามที่ขอ ข้อมูลส่วนใหญ่ที่ขอเป็นเรื่องการซื้อขายหุ้นของนักการเมือง การเสียภาษี การใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดิน ฯลฯ ส่วนใหญ่แล้วคณะกรรมการมีมติให้เปิดเผย นี่ย่อมแสดงให้เห็นว่านักข่าวอาวุโสท่านนี้เห็นว่าสิทธิในข้อมูลข่าวสารเป็น เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงข้อมูลที่เข้าถึงได้ยาก
แบบฝึกหัด นักศึกษาและชาวบ้านในชุมชนของนักศึกษาทราบข่าวจากหนังสือพิมพ์ธุรกิจ ว่ากรมโรงงานได้ออกใบอนุญาตให้บริษัทเอกชนสร้างและประกอบกิจการ โรงไฟฟ้าที่ใช้พลังงานจากขยะในพื้นที่ตำบลที่นักศึกษาอาศัยอยู่ ชาวบ้านรู้สึก กังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจึงมาปรึกษานักศึกษาว่าควรทำอย่างไรดี นักศึกษาจึงเสนอให้ชาวบ้านทำหนังสือข้อมูลเกี่ยวกับโรงไฟฟ้าดังกล่าวไปที่ กรมโรงงานซึ่งได้แก่ ๑.โรงไฟฟ้าจะตั้งอยู่ที่ใด ๒.โรงไฟฟ้ามีกำลังการผลิต เท่าไหร่ ๓.ใช้ขยะประเภทใดเป็นเชื้อเพลิง ๔. ใช้น้ำจากที่ใด ๕.ผลกระทบที่ สำคัญคืออะไรและมีมาตรการลดและบรรเทาผลกระทบอย่างไร กรมโรงงาน ปฏิเสธการให้ข้อมูลโดยให้เหตุผลว่าได้สอบถามบริษัทแล้วบริษัทฯไม่ประสงค์ ให้เปิดเผยเพราะเป็นข้อมูลความลับทางธุรกิจ เช่นนี้ให้ท่านร่างหนังสืออุทธรณ์ คำสั่งนี้เพื่อยื่นอุทธรณ์คำสั่งฉบับนี้
ติดตามแนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารด้านต่างๆ ได้ที่ http://www.oic.go.th/content/result.htm