ประกาศกระทรวงสาธารณสุข หลักเกณฑ์ว่าด้วยการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
องค์การอนามัยโลกได้แนะนำให้ทารกกินนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือน และกินควบคู่กับอาหารเสริมตามวัยจนอายุ ๒ ปีหรือมากกว่า มติที่ประชุมสมัชชาสาธารณสุขโลก ได้ใช้ International Code of Margeting of Breastmilk Substitutes เป็นพันธะสัญญาให้ประเทศสมาชิกทุกประเทศปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ประเทศไทยจึงจัดให้มีประกาศกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยหลักเกณฑ์ดังกล่าวในปี ๒๕๕๑ เพื่อสนองพระราชดำริและโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว
จุดมุ่งหมาย ปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการกินนมแม่ ถ้าจำเป็น ก็ต้องได้รับอาหารทดแทนที่ ถูกต้อง เหมาะสม และได้รับข้อมูลที่เพียงพอ และมีการควบคุมการตลาดและการจำหน่ายที่เหมาะสม
ขอบเขต อาหารทดแทนนมแม่ได้แก่ - นมดัดแปลงสำหรับทารก อาหารทารก - นมดัดแปลงและอาหารสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก - อาหารตามวัยสำหรับทารกและเด็กเล็ก - อาหารอื่นสำหรับทารกและเด็กเล็ก ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องได้แก่ - ภาชนะบรรจุขวดนม หัวนมยาง หัวนมหลอกและอุปกรณ์ที่ใช้กับวัสดุดังกล่าวและผลิตภัณฑ์อื่นๆที่สื่อถึงการเลี้ยงทารก
นิยาม ทารก หมายความว่า เด็กแรกเกิด - ครบ๑๒ เดือน ทารก หมายความว่า เด็กแรกเกิด - ครบ๑๒ เดือน เด็กเล็ก หมายความว่ามากกว่า ๑๒ เดือน – ๒ ปี อาหารทดแทนนมแม่ หมายความว่า อาหารที่ทำให้เข้าใจว่าทดแทนนมแม่ได้ทั้งหมดหรือบางส่วน นมดัดแปลงสำหรับทารก หมายความว่า นมที่ดัดแปลงสำหรับใช้เลี้ยงทารก
การให้ข้อมูลข่าวสารและการให้ความรู้ เป็นหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขโดยกรมอนามัย ต้องเป็นข้อมูลที่ชัดเจน ต้องระบุถึงอันตราย ผู้ผลิต ผู้นำเข้า และผู้จำหน่ายสามารถให้ข้อมูลข่าวสารเมื่อได้รับการร้องขอเท่านั้น
แม่และประชาชน ห้ามโฆษณาและส่งเสริมการขายทุกรูปแบบแก่ประชาชน ห้ามผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้จำหน่ายแจกจ่ายแก่มารดาและผู้ที่เกี่ยวข้อง ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อมารดาและผู้เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและอ้อมเพื่อส่งเสริมการขาย
ระบบบริการสุขภาพ สถานบริการทางการแพทย์ต้องไม่ส่งเสริมการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว สถานบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขต้องไม่ตั้งหรือแสดงผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เช่นภาพโปสเตอร์ บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขต้องไม่เป้นตัวแทนการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การบริจาค การขายในราคาถูกให้เป็นดุลยพินิจของสถานพยาบาล
บุคคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข บุคคลากรทางการแพทย์ต้องปกป้อง ส่งเสริม และสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ห้ามผู้ผลิต ฯให้ค่าตอบแทนสิ่งของแก่บุคคลากรทางสาธารณสุข
พนักงานของผู้ผลิต ผ้นำเข้า และผู้จำหน่าย การให้ค่าตอบแทนพนักงาน ต้องไม่นำยอดการจำหน่ายผลิตภัณฑ์นี้มาพิจารณา ห้ามพนักงานให้ข้อมูลแก่มารดา
ฉลาก ต้องสื่อข้อมูลที่จำเป็น ต้องได้รับอนุญาตจาก อย.
คุณภาพ ต้องมีคุณภาพสูง
การนำสู่ปฏิบัติและกำกับติดตาม กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบในการดำเนินงาน ผู้ผลิตฯ รับผิดชอบในการกำกับ ติดตามให้เป็นไปตามที่ประกาศไว้ องค์กรสาธารณประโยชน์ กลุ่มวิชาชีพ สถาบันและผู้เกี่ยวข้องรับผิดชอบในการเฝ้าระวังและแจ้งข้อมูลให้กับกระทรวงสาธารณสุขต่อกิจกรรมที่ผู้ผลิตฯปฏิบัติ
สรุปประกาศกระทรวงสาธารณสุข 1) ห้ามโฆษณาประชาสัมพันธ์อาหารทารกและเด็กเล็ก 2) ห้ามแจกตัวอย่างสินค้าและของขวัญฟรีแก่แม่ทั้งทางตรงและทางอ้อม
สรุป 3) ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัว 3) ห้ามพนักงานการตลาดติดต่อหญิงตั้งครรภ์ แม่ และครอบครัว 4) ห้ามใช้สถานบริการสาธารณสุขเป็นที่โฆษณาประชาสัมพันธ์ ห้ามบริจาคสินค้าฟรี หรือจำหน่ายราคาถูก
สรุป 5) ห้ามให้ของขวัญหรือตัวอย่างสินค้าแก่บุคลากรสาธารณสุข 5) ห้ามให้ของขวัญหรือตัวอย่างสินค้าแก่บุคลากรสาธารณสุข 6) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการอาหารทารก ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอนามัย
สรุป 7) ข้อมูลที่ให้แก่บุคลากรสาธารณสุขต้องมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และเป็นจริง และ 8) ฉลาก ต้องไม่แสดงรูปภาพของทารกหรือข้อความชักจูงให้ใช้สินค้า
ขอบคุณค่ะ ที่ตั้งใจฟัง