งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

งานนำเสนอกำลังจะดาวน์โหลด โปรดรอ

ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


งานนำเสนอเรื่อง: "ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ...."— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ....
นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย

2 ประเด็นในการนำเสนอ ที่มาและความจำเป็นในการออก พระราชบัญญัติฯ
ขอบเขตของร่างพระราชบัญญัติฯ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

3 ที่มาและความจำเป็นของร่างพระราชบัญญัติฯ
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Right of the Child) เป็นข้อผูกมัดทางกฎหมายระหว่างประเทศ สาระสำคัญ คือ สิทธิเด็กที่จะได้รับมาตรฐานสูงสุดด้านสาธารณสุข นมแม่คือสิทธิของเด็ก มาตรา 24จ. ระบุหน้าที่รัฐ ที่ต้องรับประกันให้ทุกส่วนของสังคม ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับ สุขภาพและโภชนาการของเด็ก ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่จัดทำขึ้นโดยคณะกรรมาธิการด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ โดยได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ มีสาระสำคัญครอบคลุม ๔ เรื่อง ได้แก่ (๑) การห้ามเลือกปฏิบัติต่อเด็ก และการให้ความสำคัญแก่เด็กทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน (๒) การกระทำหรือดำเนินการทั้งหลายต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นอันดับแรก (๓) สิทธิในการมีชีวิต การอยู่รอดและการพัฒนาทางด้านจิตใจ อารมณ์และสังคม และ (๔) สิทธิในการแสดงความคิดเห็นของเด็ก และการให้ความสำคัญกับความคิดเหล่านั้น อนุสัญญาฉบับนี้ เกี่ยวข้องกับร่างพรบ. เนื่องจาก กล่าวถึงสิทธิของเด็กที่จะได้รับมาตรฐานสาธารณสุขสูงที่สุดเท่าที่จะหาได้ ซึ่งนมแม่ถือเป็นมาตรฐานสูงสุดด้านโภชนาการสำหรับทารกและเด็กเล็ก ดังนั้น นมแม่ถือเป็นสิทธิของเด็กอย่างหนึ่ง โดยในข้อ 24 จ.ได้ระบุถึงหน้าที่ของรัฐที่จะต้องประกันให้ทุกส่วนของสังคม โดยเฉพาะบิดามารดาและเด็ก ได้รับข้อมูลข่าวสาร ในเรื่องโภชนาการและสุขภาพ ซึ่งรวมถึงเรื่องประโยชน์ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น การออกกฎหมายที่จะช่วยให้แม่และครอบครัวได้รับข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสม และไม่โอ้อวดเกินจริง เพื่อช่วยให้การตัดสินใจเลือกอาหารอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง ปราศจากอิทธิพลของการส่งเสริมการตลาดของฝั่งธุรกิจ จึงเป็นส่วนหนึ่งของหน้าที่รัฐ

4 ที่มาและความจำเป็นของร่างพระราชบัญญัติฯ
คำแนะนำขององค์การอนามัยโลก -แผนยุทธศาสตร์โลกด้านอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก ปี 2545- (Global Strategy for Infant and Young Child Feeding IYCF 2002) เด็กทุกคนควรกินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน หลังจากนั้นกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับอาหารตามวัย จนถึงอย่างน้อย 2 ปีหรือนานกว่านั้น องค์การอนามัยโลกและองค์การยูนิเซฟได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์โลกเรื่องอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กขึ้นและได้มีคำแนะนำว่า เด็กทุกคนควรกินนมแม่อย่างเดียวถึง 6 เดือน หรือเรียกว่า Exclusive breastfeeding และที่สำคัญควรกินนมแม่ต่อเนื่องควบคู่กับการกินอาหารตามวัยไปจนถึงอายุ 2 ปีเป็นอย่างน้อย เนื่องจากมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์และผลงานวิจัยยืนยันแล้วว่า นมแม่มีประโยชน์ทั้งต่อแม่และลูก ยิ่งกินนานยิ่งดี ทั้งที่จากเดิมเคยแนะนำให้กินนมแม่อย่างเดียวแค่ 4 เดือน

5 ที่มาและความจำเป็นของร่างพระราชบัญญัติฯ
สมัชชาอนามัยโลก World Health Assembly ปี 2524 : มาตรฐานสากลขั้นต่ำสำหรับควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กให้เหมาะสมเรียกว่า “The International Code of Marketing of Breast-Milk Substitutes” ปี 2559 : แนวทางการยุติการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ไม่เหมาะสม “Guidance on ending the inappropriate promotion of food for infant and young children” ระบุการควบคุมผลิตภัณฑ์ถึง 3 ปี 2524 มีการรับรอง Code เป็นมาตรการสากลขั้นต่ำสำหรับควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก สาระสำคัญของ International Code คือ คุมเฉพาะการส่งเสริมการตลาดนะครับ ไม่คุมการขาย ประเทศไทยรับรอง Code ในที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลกปีนั้น แล้วนำมาออกเป็นแนวทางขอความร่วมมือตั้งแต่ 2527 จากนั้น 2551 ออกเป็นประกาศกระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่มีบทลงโทษ 2553 WHA 63th มีมติให้ผลักดัน Code เป็นกฎหมายเพื่อให้มีผลบังคับใช้ 2553 ในปีเดียวกัน สมัชชาสุขภาพแห่งชาติมีมติเสนอ ครม. ให้มีการควบคุมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก 2554 ครม. เห็นชอบตามมติ สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ และมอบให้กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข พัฒนาร่างกฎหมายเสนอ 2559 WHA 69th ที่ประชุมมีการรับรอง guidance ซึ่ง มีระบุว่า ควบคุมการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์ของทารกและเด็กเล็กถึง 3 ปี

6 ที่มาและความจำเป็นของร่างพระราชบัญญัติฯ
การวิจัยพบว่า แม่ไทยรับรู้การส่งเสริมการตลาดผ่าน การโฆษณาทางสื่อ ต่างๆ มากที่สุด การส่งเสริมการตลาด มีผลต่อการรับรู้ ทัศนคติและการตัดสินใจเลี้ยงลูก ด้วยนมผสมของแม่ไทย (สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2558) ในประเทศไทย มีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ ขัดกับ international code ในทุกด้าน ( Breastfeeding and BMS code communication project , 2557) การโฆษณาสื่อ ความหมายว่า - นมผสมดีเทียบเท่านม แม่โดยเติม DHA แอลฟาแลค ตาบูมิน - คุณประโยชน์นมผสม ผ่านภาพเด็ก เป็นนักบินอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ จากการวิจัย การเปิดรับการสื่อสารการตลาดนมผงกับการเลี้ยงลูกด้วยนมผงของหญิงไทย.สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ, 2558) สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2558 พบว่า แม่ไทย ได้รับข้อมูลจากการส่งเสริมการตลาดผ่าน 1) การโฆษณาในสื่อต่างๆ มากที่สุด โดยเฉพาะสื่อโทรทัศน์ 2) การตลาดทางตรง และ 3) การใช้พนักงานขาย - และพบว่า การส่งเสริมการตลาดของบริษัท นมผสม ส่งผลกระทบต่อ การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยนมผงของแม่ไทย (หมายความว่า แม่ที่ได้รับข้อมูลการส่งเสริมการตลาดผ่านโทรทัศน์ทุกวันหรือบ่อยๆ มีโอกาสที่จะมีทัศนคติเชิงบวกกับสื่อในการส่งเสริมการตลาดเหล่านั้นสูงถึง 3 เท่า เทียบกับคนไม่เคยได้ดู และแม่ที่มีทัศนคติเชิงบวกหรือชื่นชอบการส่งเสริมการตลาดของนมผสม มีโอกาสเลี้ยงลูกด้วยนมผสมมากกว่าคนที่มีทัศนคติไม่ชื่อชอบ ถึง 2.3 เท่า) 2. จากการศึกษาของ ดร.บวรสรรค์ เจียดำรง พบว่า ในประเทศไทย มีการส่งเสริมการตลาดอาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ขัดกับ international code ในทุกด้าน ทั้งโฆษณา แจกตัวอย่าง ที่ผ่านมา ภาคธุรกิจได้ทุ่มทุนมหาศาลสำหรับการส่งเสริมการตลาด ที่เห็นได้ชัดทีสุดคือ การโฆษณาทางสื่อเช่น โทรทัศน์ เพื่อให้เกิดการรับรู้ และโน้มน้าวให้เชื่อ บางคนอาจบอกว่าการโฆษณาของบริษัท เป็นการให้ข้อมูลผลิตภัณฑ์แก่แม่ แต่หากท่านลองพิจารณาดู โฆษณาเหล่านี้ไม่มีข้อมูลที่จำเป็นด้านสุขภาพ หรือสิ่งที่แม่พึงระวังในการชงนมให้ลูกกิน แม้แต่น้อย วิธีการที่เห็นได้บ่อย คือ การโฆษณาเรื่องสารอาหารในนมผสม เพื่อจะสื่อให้เห็นว่า นมผสมนั้นดีเทียบเท่านมแม่ (สาร DHA, แอลฟาแลคตาบูมิน) นอกจากนี้ ยังมีวิธีการสื่อสารที่โน้มน้าวใจแม่และครอบครัวว่านมผสมนั้นมีคุณประโยชน์ต่อความฉลาดของลูก โดยการใช้สื่อเด็กเป็นนักบินอวกาศ นักวิทยาศาสตร์ เป็นต้น

7 ประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
ประโยชน์ต่อลูก - สารอาหารมากกว่า 200 ชนิด - ลดโอกาสป่วย (โรคติดเชื้อ ภูมิแพ้ และโรคอ้วน) - เพิ่มค่าเฉลี่ย IQ ระดับการศึกษา และรายได้โดยเฉลี่ย ประโยชน์ต่อแม่ - ลดการตายของแม่จากการเสียเลือดหลังคลอด - ลดความเสี่ยงมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม (ยิ่งให้นมนานยิ่งดี) - ประหยัดค่าใช้จ่ายนมผง ( ประมาณ 25% ของรายได้ต่อเดือน หรือ 4000 บาท) เมื่อพูดถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ โดยย่อ จะพบว่า ประโยชน์ต่อลูก - ด้านโภชนาการ นมแม่เป็นอาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็ก มีสารอาหารที่สร้างตามธรรมชาติในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับเด็ก ทั้งสารภูมิคุ้มกัน และโปรตี่นมากกว่า 200 ชนิด - และลดโอกาสการป่วยด้วยโรคติดเชื้อ ภูมิแพ้ และโรคอ้วนในเด็ก เพิ่มค่าเฉลี่ย IQ และความสำเร็จในชีวิตในวัยผู้ใหญ่ (งานวิจัยของ Brazil ที่ติดตามผู้ร่วมวิจัยไปนานกว่า 30 ปียืนยันเรื่องนี้ได้) ประโยชน์ต่อแม่และครอบครัว - ช่วยลดการเสียเลือดหลังคลอด และลดการตายของแม่ - ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม ถ้าแม่ให้นมลูกได้นานถึง 2 ปี (มะเร็งอันดับต้นของหญิงไทย) - ช่วยลดน้ำหนักของแม่หลังคลอดได้เร็ว - ประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับซื้อนมผงประมาณ25% ของรายได้ต่อเดือน หรือประมาณ 4000 บาทต่อเดือน ประโยชน์ต่อสังคม งานวิจัยที่ Alive and Thrive ร่วมกับ unicef ทำการศึกษาในปี 2015 เรื่องความสูญเสียจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ที่ไม่เหมาะสม ของประเทศในอาเซียนรวมประเทศไทยพบว่า หากเด็กทุกคนได้รับนมแม่อย่างเหมาะสมตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก จะช่วยให้ไทย - ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของประเทศกว่า 7,650,000 USD ซึ่งถูกใช้ไปเพื่อรักษาเด็กป่วยด้วยโรคท้องเสียและปอดอักเสบ - นอกจากนี้ประเทศน่าจะมีรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้นมากกว่า 190 ล้าน USD เนื่องจากเด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเหมาะสมมีศักยภาพในการเรียนรู้ มี IQ ที่สูงกว่า ซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จในการศึกษาและการประกอบอาชีพ ประโยชน์ต่อสังคม (งานวิจัยของ AT & UNICEF 2015 ) - ประหยัดค่าใช้จ่ายประมาณ 21 ล้านบาทจากการลดโอกาส เด็กป่วย (ปอดบวม ท้องร่วง) - รายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น 5760 ล้านบาท จากศักยภาพที่ สูงขึ้นของเด็ก

8 อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของไทยต่ำสุดในเอเชีย
ข้อมูลของไทยเป็น ข้อมูลจาก MICS (การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีไทย 2012 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ) Reference: UNICEF ChildInfo, 2012 11/5/2016

9 ประเทศที่มีกฎหมายตามมาตรฐานสากล
จากรายงานปี 2559 ขององค์การอนามัยโลก Brazil, South Africa, India, Philippines, Vietnam, Indonesia, Burma, Cambodia

10 เหตุผลและอุปสรรคของแม่ไทย
1. แม่ต้องกลับไปทำงาน 2. แม่คิดว่านมแม่ไม่เพียงพอ 3. แม่เชื่อว่านมแม่ไม่มีคุณค่าพอ การตัดสินใจของแม่ อิทธิพลการส่งเสริมการตลาด การติดต่อกับแม่โดยตรง Slide นี้จะสื่อว่า ข้อมูลจากการสำรวจและวิจัยพบว่า เหตุผลสำคัญซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในประเทศไทย คือ 1. แม่ต้องกลับไปทำงานก่อน 6 เดือน 2. แม่คิดว่าน้ำนมตัวเองไม่พอ ทำให้ต้องเสริมนมผสมและสุดท้ายกลายเป็นใช้นมผสม 3. แม่เข้าใจผิดว่าน้ำนมตัวเองไม่มีคุณค่า หรือนมผสมดีเทียบเท่าหรือดีกว่านมแม่ ซึ่งตอนนี้สิ่งที่รัฐบาลพยามทำคือ การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในแม่ทำงาน โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานที่หน่วยงานรัฐพยามส่งเสริมให้ลาคลอดให้ครบตามสิทธิคือ 3 เดือน และส่งเสริมให้สถานประกอบการจัดมุมนมแม่พร้อมกับให้เวลาเบรกแก่พนักงาน การให้ความรู้ คำแนะนำและการช่วยแก้ปัญหาโดยบุคลากรสาธารณสุข ตั้งแต่เริ่มมาฝากครรภ์ จนกระทั่งหลังคลอด เพื่อให้แม่มีความรู้ที่ถูกต้อง และมีความมั่นใจว่าตนจะมี่น้ำนมเพียงพอเลี้ยงลูกได้ รวมทั้งนมแม่เป็นนมที่มีคุณค่ามากที่สุดสำหรับเด็ก ทั้งในช่วง 6 เดือนแรกและหลังจากนั้น อย่างไรก็ตาม เรื่องของความเชื่อว่านมแม่มีคุณค่าไม่พอ ส่วนหนึ่งได้รับอิทธิพลมาจากการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก ทำให้แม่เกิดความเข้าใจผิดคิดว่า นมผงดีกว่าหรือดีเทียบเท่านมแม่ ซึ่งในส่วนนี้รัฐบาลจำเป็นต้องควบคุมการส่งเสริมการตลาดดังกล่าว ตามมาตรฐานสากล ซึ่งก็คือ BMS Code ขององค์การอนามัยโลก แต่ที่ผ่านมายังไม่สามารถดำเนินการได้ ขาดกฎหมายควบคุม

11 มาตรการที่รัฐจำเป็นต้องดำเนินการ
Protect การปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ กฎหมายควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก กฎหมายลาคลอด (ปัจจุบันแม่มีสิทธิลา 3 เดือน พ่อข้าราชการมีสิทธิ 15 วัน) การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ บุคลากรทางการแพทย์ให้ความรู้คำแนะนำแก่แม่/ครอบครัว (มิสนมแม่) ตำบลนมแม่ (1000+ แห่ง) อสม.และปราชญ์นมแม่ในชุมชน สื่อสาธารณะ และกระแสสังคมที่เอื้อต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Promote การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลกประกอบไปด้วย ๓ ด้าน ได้แก่ การปกป้อง ( Protection) การส่งเสริม (Promotion) และสนับสนุน (Support) ซึ่งแต่ละด้านประกอบไปด้วยแนวทางหรือกิจกรรมที่มีส่วนช่วยให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่แม่ได้ การปกป้อง มีมาตรการที่สำคัญคือ การออกกฎหมาย 2. การส่งเสริม คือ ส่งเสริมให้แม่รับรู้เข้าใจและเชื่อมั่นว่าจะสามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้ 3. ส่วนการสนับสนุนคือ การช่วยเหลือให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ได้อย่างที่ตั้งใจ ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานสำคัญ เนื่องจากบุคลากรสาธารณสุข จะเป็นด่านแรกที่ช่วยให้ความรู้ คำแนะนำ ให้แม่มีความรู้ความเข้าใจถึงความสำคัญ ประโยชน์ของนมแม่ และวิธีบีบเก็บนมไว้ เพื่อเตรียมพร้อมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตั้งแต่หลังคลอด จนกระทั่งกลับไปทำงานแล้ว ขณะนี้มีการ MOU บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในสถานประกอบกิจการ ระหว่าง 7 หน่วยงาน เพื่อส่งเสริมให้สถานประกอบกิจ การมีสวัสดิการมุมนมแม่ และมีนโยบายที่อนุญาตให้พนักงานหญิงมีเวลาพักเพื่อบีบเก็บน้ำนมได้ อันเป็นสวัสดิการสำคัญที่จะช่วยให้แม่สามารถเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างต่อเนื่อง กรมอนามัย, 2) กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน, 3) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, 4) สภาการพยาบาล, 5) องค์การยูนิเซฟ ประเทศไทย, 6) สสส. 7) มูลนิธิศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย การสนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ มุมนมแม่ เวลาพักบีบเก็บนมในสถานประกอบการ ถุงเก็บนมสำหรับแม่ทำงาน บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ในสถานประกอบกิจการ (MOU 7 หน่วยงาน) ระบบบริการสุขภาพที่สนับสนุนการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ Support

12 ขอบเขตของร่างพระราชบัญญัติฯ
ประกอบด้วย 4 หมวด 47 มาตรา ควบคุมการส่งเสริมการตลาด (ไม่ควบคุมการขาย) ห้ามการโฆษณา การส่งเสริมการขาย การแจกตัวอย่าง การให้ สิ่งของ ห้ามการติดต่อกับหญิงตั้งครรภ์ แม่ของทารกและเด็กเล็กทั้ง ทางตรงและทางอ้อม การให้ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นจริง มีหลักฐานทางวิชาการ กำหนดให้บริษัทให้ข้อมูลกับบุคลากรสาธารณสุข ผลิตภัณฑ์ = อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก *** คณะกรรมการควบคุมการส่งเสริมการตลาดฯ จากทุกภาค ส่วน

13 ขอบเขตของร่างพระราชบัญญัติฯ
มาตรการห้ามการโฆษณาของไทย สอดคล้องกับ International Code กฎหมายของ 65 ประเทศ ห้ามการโฆษณา Prohibition of advertising or other forms of promotion of such products to the general public is fundamental to the protection of optimal infant and young child feeding. It is therefore important that legal measures contain explicit comprehensive provisions that cover all products included in the scope of the Code. Since the Code was adopted as a minimum measure, countries can include additional products that undermine breastfeeding under the scope of their national measures จากการตอบข้อคำถามของ 113 ประเทศ มีทั้งหมด 65 ประเทศ (58%) ที่ในกฎหมายมีข้อกำหนดเรื่องการห้ามโฆษณา

14 ผลที่คาดหวัง แม่ไทยมีความรู้และความเชื่อมั่นที่ถูกต้องในการเลือกอาหารให้ลูก ค่านิยมของสังคมไทยที่ส่งเสริม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเหมาะสม เด็กไทยจะได้กินนมแม่มากขึ้น ส่งผลให้เด็ก มีพัฒนาการสมวัย มี IQ EQ และ EF ดี Slide นี้คือ ผลของการมีกฎหมาย กราฟนี้ วิเคราะห์โดยเทียบข้อมูล อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ของประเทศที่นำ code ไปออกเป็นมาตรการต่างๆ (ข้อมูล code status ของประเทศต่างๆ ล่าสุดตามรายงานของ WHO/UNICEF and IFBAN 2016) จากกราฟสรุปได้ว่ายิ่งมีกฎหมายก็ยิ่งทำให้ EBF rate สูงขึ้น แต่ต้องมีกฎหมายแบบ full หรือไม่ก็ many provision เพราะการเป็น few provision ไม่ได้มีผลกับ EBF rate ดังนั้นหากจะเป็นกฎหมายก็ต้องเป็นกฎหมายที่เข้มข้น และต้องมีการบังคับใช้อย่างจริงจัง นอกจากการออกกฎหมาย code ต้องมีมาตรการอื่นร่วมด้วย ซึ่งจะช่วยให้การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สำเร็จมากขึ้น มีประเทศบางกลุ่ม ที่ไม่มีกฎหมายแต่มีมาตรการทางสังคมอื่นๆอย่างดี โดยเฉพาะมาตรการลาคลอด ทำให้อัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่สูงขึ้นได้เช่นกัน


ดาวน์โหลด ppt ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาด อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก พ.ศ....

งานนำเสนอที่คล้ายกัน


Ads by Google